Dienstag, 4. September 2007

บทที่ 15: น้ำพึ่งเรือ-เสือพึ่งป่า (15. In the King’s Image: The Perfect General Prem)

บทที่ 15: น้ำพึ่งเรือ-เสือพึ่งป่า
(หน้า 276-298, แฮนด์เลย์ 2006)

Copyright 2006
Reproduced with the permission of the author
For inquiries mail TKNSThai@gmail.com or call 206-350-2059

ผลพวงจากการทำรัฐประหารของพลเอกเกรียงศักดิ์ในปี พ.ศ. 2520 ให้บทเรียน K ว่า เขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในครั้งนั้นมากเกินไป สถานการณ์ทางการเมืองหลังยุครัฐบาลธานินท์ ทำให้K ตระหนักว่า การมีตัวแทนจากภาคประชาชนเข้า ไปเป็นรัฐบาลยังไม่เพียงพอที่ จะตอบสนองความต้องการของตน หาก K จำเป็นต้องมีทหารที่เป็นมือเป็นเท้าให้ตนเข้าไปเป็นผู้นำรัฐบาล นายทหารผู้นั้นจะต้องมีอำนาจ และสามารถทำทุกอย่าง เพื่อตอบสนองความต้องการของ K โดยไม่คิดถึงตัวเอง ในขณะเดียวกัน ก็สามารถควบคุมกองทัพไปได้พร้อมๆ กัน บุคคลที่ดูเหมือนจะเพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติดังกล่าวในสายตาของ K ก็คือ พลเอกเปรม ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ รัฐบาลนายเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ สิ่งเดียวที่ K ต้องทำต่อจากนั้นก็คือหาโอกาสเหมาะๆผลักดันเปรม ให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำคนต่อไป



ตามสัญญาที่ให้ไว้ หลังการทำรัฐประหาร รัฐบาลองพลเอกเกรียงศักดิ์ ทำการปรับปรุงรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2521 โดยระบอบการปกครอง ของไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกอบด้วยระบบสองสภา ได้แก่ 1) วุฒิสมาชิกสภา จำนวน 225 คน จากการแต่งตั้งของ นายกรัฐมนตรี (ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งโดย K อีกต่อไป) และ 2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 310 คน พร้อมกันนี้ กลุ่มขุนนาง และนายทหารสามารถเป็นวุฒิสมาชิกสภาได้ ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรี ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา (นั่นคือไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง—ผู้แปล) ด้วยวิธีการนี้ ทำให้พลเอกเกรียงศักดิ์ สามารถกำหนดบุคคลภายในคณะรัฐมนตรีได้ ซึ่งสมาชิกรัฐมนตรีส่วนใหญ่เป็นที่พอใจของ K และทำให้พลเอกเกรียงศักดิ์ กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมีพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง



ก่อนการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ มีวุฒิสมาชิกสภาเกือบ 200คนในมือ มาจากกลุ่มนายทหาร และตำรวจ ที่พร้อมสนับสนุน ตนในการสืบทอดอำนาจ ถึงกระนั้นก็ตาม รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากในวัง ทั้งยังมีค ู่แข่งที่น่าเกรงกลัวอย่างหม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน (พรรคกิจสังคม) ขณะเดียวกัน รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ยังประสพความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของประเทศในขณะนั้น (ตัวอย่างเช่นปัญหาน้ำมันแพง, เศรษฐกิจตกต่ำ, และภัยอันอาจเกิดจาก การเข้ารุกรานเขมรของเวียดนาม) สถานการณ์เหล่านี้นำไปส ู่การฉวยโอกาสของ K ผลักดันพลเอกเปรม ขึ้นมาแทนพลเอกเกรียงศักดิ์ และเป็นตัวแทนของราชวงศ์ในการเล่นการเมือง (ผู้แปลขอไม่แปลประวัติอาชีพทหาร ของพลเอกเปรมในย่อหน้าที่ 1-2 ของ หน้า 277 เนื่องจากคนไทยส่วนมาก ทราบกันดีอยู่แล้วว่านายทหารผู้นี้ได้รับการแต่งตั้งอย่างก้าวกระโดดข้ามหัวนายทหารที่อาวุโสกว่า ขึ้นมาถึงจุดสูงสุดทางการทหารได้อย่างไร ทั้งนี้มี K ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังนั่นเอง)



ในสถานการณ์ย่ำแย่ของรัฐบาลเกรียงศักดิ์ โอกาสของเปรมและในวังก็มาถึงในต้นเ ดือนมกราคม 2523 โดยเปรมยกเลิกแผนการตามเสด็จ Q and P2 ไปอเมริกา อย่างกระทันหันพร้อมกับวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาน้ำมันขึ้นราคาในรัฐบาลเกรียงศักดิ์อย่างหนักหน่วง และไม่ใช่ความบังเอิญ ที่พลตรีสุตสาย หัสดิน หัวหน้ากลุ่มกระทิงแดงได้ใช้การ ประท้วงต่อต้านคอมมิวนิสต์ โจมตีรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ในเวลาใกล้เคียง (วันที่ 24 มกราคม) ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว คึกฤทธิ์เองก็มองเห็นโอกาสที่ตนจะขึ้นมาผู้นำคนต่อไป ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ คึกฤทธิ์และ พรรรคกิจสังคม ได้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ขณะเดียวกัน กลุ่มยังเติร์กที่เคยสนันสนุน เกรียงศักดิ์ขึ้นสู่อำนาจ ได้หันมาสนับสนุน เปรมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ทั้งที่เปรมไม่ใช่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง



ย้อนกลับไปกล่าวถึงภาวะความตึงเครียดทางการเมืองในปีพ.ศ.2519 ในวังต้องการให้มีการเปลี่ยนผ่านอำนาจ ทางการเมืองอย่างแยบยลผ่าน การทำรัฐประหารอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ทางวังตระหนักดีว่า ถ้าพลเอกเกรียงศักดิ์ชิงยุบสภาเสียก่อนเพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ก็จะมีความเสี่ยงที่ว่าผู้นำรัฐบาลคนต่อไปอาจไม่ได้มาจากกลุ่มนายทหาร หรือแม้แต่คึกฤทธิ์เอง เหตุผลดังกล่าวนำไปสู่การเข้าพบ K ที่เชียงใหม่ ของเกรียงศักดิ์และเปรม ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์เกรียงศักดิ์ได้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันถัดไปหลังจากการเข้าเฝ้า K โดยไม่ยอมยุบสภา การกดดันของ K ในเรื่องนี้ สร้างความคับข้องใจแ ก่คึกฤทธิ์ ซึ่งก็ถูกบังคับจาก K เช่นกันโดย K ขอให้คึกฤทธิ์ เรียกประชุมสภานิติบัญญัติ เพื่อลงมติเห็นชอบให้ K แต่งตั้งเปรมเป็นนายกคนต่อไป การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถ้าดูเพียงผิวเผิน จะเข้าใจว่า ทุกอย่างดำ เนินไปตามหลักประชาธิปไตย แต่จริงๆแล้ว มันก็คือการท รัฐประหารโดยเจ้านั่นเอง และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ เปรมได้กล่าว คำปฎิญาณตนในการเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 3 มีนาคม ว่า พรรคร่วมรัฐบาลภายใต้การนำ ของตน เป็น“รัฐบาลของ K” คำปฎิญาณ ของเปรมถือเป็นจริงเป็นจังมาก และก็ทำให้เขาสามารถอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้นานที่สุด ถึง 8 ปี ภายใต้การปกป้องอย่างใกล้ชิดของ K



ด้วยระบบน้ำพึ่งเรือ-เสือพึ่งป่า ครอบครัวของ K มีผู้นำรัฐบาลที่มีอำนาจและพร้อมจะรับใช้ราชวงค์อย่างถวายหัว เช่นเปรม เปรียบเทียบกับ นายทหารคนก่อนๆ เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ซึ่งถึงจะจงรักภักดีต่อ K เช่นกัน แต่สฤษดิ์ทุจริตและมักมากในกามารมณ์, จอมพลถนอมและ จอมพลประภาส ทำตัวไม่มีประโยชน์ (ต่อ K และครอบครัว) และได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกา, สัญญา ธรรมศักดิ์ และหม่อมราชวงค์ คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่อนแอและให้ความสำคัญกับรูปแบบประชาธิปไตยตลอดจนเสียงจากมวลชนมากเกินไป ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นคน ไม่หยืดหยุ่น และไม่สามารถควบคุมกองทัพ ในขณะที่ เกรียงศักดิ์ทำตัวเป็นอิสระมากเกินไป (ไม่ค่อยรับใช้K และครอบครัว เท่าที่ควรจะทำ -ผู้แปล)



เปรมต่างจากคนอื่นตรงที่เป็นคนเข้มแข็ง, เชี่ยวชาญหลายเรื่อง, และไม่เคยแสดงออกถึงความยากร่ำอยากรวยหรือชมชอบในอำนาจให้ K เห็น เปรมเข้าใจดีว่า K ไม่สนใจกับการบริหารประเทศไปวันๆ แต่ K ต้องการใครสักคนที่สามารถตอบสนองสิ่งที่ K สอนเชิงสั่งให้ทำ (issued instructions) หรือ ออกความคิดเห็นให้ทำ ทั้ง K และ เปรม มีความเชื่อเหมือนกันในวิธีแห่งการจัดลำดับทางสังคมแบบไทยๆ และคุณค่า ของการจัดลำดับทางสังคมและสาธารณะ โดยการทำให้เห็น และบังคับใช้ให้เป็นตัวอย่างก่อน และถ้าจำเป็นก็ต้อง ใช้การบังคับ ให้ทำตาม โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎหมาย หลักความคิดเหล่านี้ได้ ปรากฎอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ของเปรม (2523-2531) ซึ่งถือเป็นช่วงแห่งความรุ่งโรจน์ของราชวงค์ที่ได้รับการยกย่อง ย่างสูงส่ง และการให้ความ สำคัญต่อกองทัพ ตลอดจนภาคธุรกิจ ที่สนับสนุนเปรม ในช่วง 8 ปีนี้ Kเข้าแทรกแทรกบทบาท ทางการเมืองของเปรมอย่างไร้ยางอาย (unabashed) ในทำนองเดียวกัน เปรมก็ไม่มีความละอายที่จะร้องขอความช่วยเหลือจากในวัง จนเป็นที่รู้กันว่า “เมื่อใดที่เปรมช้ำชอกเขา ก็จะเข้าวังเพื่อ รับการรักษาเยียวยา และปลอบประโลมให้ลุก ขึ้นมาใหม่”จากการที่เปรมมีทุกวันนี้ได้เพราะในวังส่งเสริม จึงเรื่องที่เข้าใจได้ ว่าทำไมเขาทำ ทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของ K และครอบครัวของ K



ยิ่งไปกว่านั้น K และเปรมได้พยายามจะทำความคิด “รัฐบาลของ K” ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยการก่อตั้งระบบ วัง-กองทัพ (a palace-army hierarchy) ขึ้น ภายใต้ความคิดนี้ คนของ Kจะเป็นผู้ดำรงระบบให้คงอยู่โดยการส่งเสริมกลุ่มมืออาชีพที่มีเชื้อสายเจ้า (royal professionals) เข้าไปดำรง ตำแหน่งสำคัญๆในเหล่าทัพ อย่างไรก็ดี ความคิดนี้นำไปสู่การแข่งขันอย่างทุจริตของบุคคลในกองทัพ เพื่อทำให้ตน หรือพรรคพวก ของตนได้เป็นที่โปรดปรานของในวัง ผลก็คือความสามัคคีในเหล่าทัพแตกออกเป็นเสี่ยงๆ และการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเกิดมากขึ้น ส่งผลให ้เสถียรภาพทางการเมืองของเปรม สั่นคลอน และเพิ่มความรุนแรงตามกาลเวลา สิ่งเหล่านี้หาได้รอดพ้นสายตาจากในวัง หลังจากการ ต่อสู้และความขัดแย้งภายในกองทัพเกิดขึ้นหลายครั้งเข้าม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ ซึ่งเป็นเลขาคณะองคมนตรีของ K ได้ออกมาแสดง ความคิดเห็นว่ามีเพียง K เ ท่านั้นที่จะสามารถเป็นผู้นำของประเทศ ภายใต้คำถามที่ว่า “คุณคิดหรือว่า ยังมีคนที่เป็นที่นิยม (ของประชาชน) มากที่สุดและสามารถเป็นผู้นำของชาติ ที่จะพาประเทศก้าวผ่านความยากลำบากและการทุจริตไปได้? ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่น ที่จะหาคนเช่นนั้นได้ คงจะมีสถาบันกษัตริย์เท่านั้น และ K ของเราสามารถทำได้



การขึ้นมามีอำนาจในช่วงแรกๆของเปรมยังไม่เป็นขี้ปากของชาวบ้านนักในช่วงการรุกรานเขมรของเวียดนาม และการคุกคามของ พรรคคอมมิวนิสต์ ต่อความมั่นคงของประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนของ K เปรมได้ใช้ความเปราะ บางของสถานการณ์ดังกล่าว เข้าควบคุมกำลังทหาร ด้วยกรอบการทำงานการใช้นโยบายการเมืองนำการทหารเพื่อต่อต้านการกบฎ และปราบคอมมิวนิสต์(ภายใต้คำสั่งที่ 66/2523 และ 65/2525) ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยด้วย



สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ การวางกำลังและอิทธิพลของทหารในรัฐบาลและสังคมไทย โดยมุ่งใช้อำนาจทางทหารในการสร้างระบอบการเมือง ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง(ฟังดูขัดแย้งกันเองอย่างไรชอบกล-ผู้แปล) สร้างสังคมที่เป็นธรรม และขจัดการทุจริต เพื่อตอบสนอง ความต้องการของ K มันเป็นภาระอันหนักหน่วงของเปรมที่ต้องเผชิญทั้งแรงต้านจากสังคมพลเรือน และจากระบบทุนนิยมแบบผูกขาด ที่สร้างความไม่พอใจให้กับคนในสังคมถือเป็นอีกหนึ่งการทำรัฐประหารเงียบของปีพ.ศ.2523 มีการออกกฎหมาย สนับสนุนรัฐธรรมนูญและ รัฐสภาแห่งระบอบประชาธิปไตยโดยมี K เป็นประมุข อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรอบการทำงานดังกล่าว ทั้งรัฐธรรมนูญและรัฐสภาถูกกดเอาไว้ ใต้การบริหารอำนาจและการจัดการของ Kและเปรมผ่านทางกองทัพ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ กองทัพได้รับอำนาจอย่างชอบธรรม ให้อยู่เหนือระบอบรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ โดยเป็นรองอยู่สถาบันเดียว คือ “ราชบัลลังก์”



ถึงกระนั้น เปรมก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะทำอะไรดีกับอำนาจที่เขาได้มานอกเหนือไปจากการดำเนินบทบาทภายใต้ระบบวัง-กองทัพ ที่ตนและ K ร่วมกันวางไว้ เปรมใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วง4 ปีแรกสำหรับปกป้องตำแหน่งเขา โดยเขาต้องพึ่ง K มาก สิ่งที่เห็นได้ชัดในช่วง 2-3 เดือนหลังจากเปรมขึ้นเป็นผู้นำในปี 2523 ก็คือ เขาได้ใช้ทั้งขนบธรรมเนียม, ประเพณี, และกฤหมาย ในการเพิ่มอำนาจให้กับตัวเอง เพื่อความมั่นคงในอำนาจของตน นอกเหนือจากดำรงตำแหน่งนายกเปรมยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ่งเหล่านี้ (ดำรงตำแหน่งสูงๆ และสำคัญมากกว่าหนึ่งในเวลาเดียวกัน) ไม่ใช่เรื่องปกติและกระทำได้ง่ายๆ ภายหลังเผด็จการถนอม-ประภาสในช่วงพ.ศ.2517-2518 ที่เปรมทำได้ก็เพราะได้รับไฟเขียวจาก K กระ นั้น เปรมไม่สามารถหลีกพ้นคำครหาจากสาธารณะในเรื่องการควบอำนาจ และเป็นที่รู้กันว่า เปรมจะลาออกจากตำแหน่งในกองทัพ เมื่อเขาอายุครบ 60 ปีในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน



อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม กองกำลังทหารของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอกซึ่งกำลังเป็นที่โปรดปรานของ Q ขณะนั้น ได้ยื่นร้องทุกข์ต่อ K ให้เลื่อนการเกษียณอายุของเปรมไปอีกปีหนึ่ง ทั้งนี้พลเอกอาทิตย์ซึ่งคิดว่าตัวเอง จะเป็นทายาทผู้สืบทอดอำนาจ ผู้บัญชาการทหารบกต่อจากเปรม ต้องการให้เปรมอยู่ในตำแหน่งต่อสักพัu3585 กเพื่อสกัดนายทหารคู่แข่งและมีอายุราชการอาวุโสกว่าพลเอกอาทิตย์ นั่นคือ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา การต่ออายุ ราชการทหารของเปรมในครั้งนั้น ได้รับการวิพากวิจารณ์อย่างขว้างขวาง แม้แต่สมาชิกในคณะรัฐบาลของเปรมเองโดยเปรียบเทียบว่าเหมือนกับการกระทำในสมัยจอมพลประภาพที่นำไปสู่การกบฏใน ปีพ.ศ. 2516อย่างไรก็ตาม เปรมได้เข้าเฝ้า K ในวันที่ 1 กันยายน หลังจากนั้นเขาได้ประกาศว่า K ได้สนับสนุนการต่ออายุราชการทหารของเขา คณะรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้เปรมแสดงหลักฐานดังกล่าว ต่อมาพวกเขาถูกเรียกตัวให้เข้าเฝ้าในวันที่ 1 กันยายน ไม่มีการรายงานว่า K กล่าวอะไรกับคณะรัฐมนตรีที่เข้าเฝ้า แต่หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้การรับรองการต่ออายุผู้บัญชาการกองทัพของเปรม



มีนักการเมืองรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งที่ยังไม่เงียบ อาทิ ชวน หลีกภัย ได้ออกมากล่าวว่า การต่ออายุตำแหน่งข้าราชการ ของเปรมเป็นการกระทำ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และกลุ่มยังเติร์กบางส่วนได้ออกมาคัดค้านเช่นกัน ขณะที่ส่วนใหญ่ของกลุ่มยังเติร์กให้การสนับสนุนอาทิตย์ การคัดค้านที่ดูเหมือนจะมีนัยยะต่อสังคมมากที่สุด ก็คือการออกมาเคลื่อนไหวประท้วงของนักเรียน กลุ่มเล็กๆแต่นักเรียนกลุ่มนี้ ต้องหยุดประท้วงไปในที่สุด เพราะถูกข่มขู่จากกลุ่มกระทิงแดงที่พลตรีสุตสายหัสดิน เป็นหัวหน้าและได ้ออกมาประกาศก้องว่า “ประชาชนควรจะรู้ว่า ฉันเป็นคนที่อันตราย”



ในวันที่ 5 ธันวาคม 2523 K ได้กล่าวสนับสนุนเปรมในวันคล้ายวันเกิดของเขา และส่งสารถึงกลุ่มที่รักประธิปไตยว่า “กลุ่มคนที่ฉลาดที่ยืมทฤษฎีมาจากต่างประเทศ ฉันใช้คำว่า “ยืม”เพราะว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ของเรา นักวิชาการยืมเทคโนโลยีมา และพยายายามจะใช้มันเพื่อสร้างความเจริญแ ก่ประเทศไทยเพียงเพื่อที่พวกเขาจะได้รับคำชื่นชม (จากเจ้าของเทคโนโลยี-ผู้แปล) ต่อการนำเทคโนโลยีและทฤษฎีที่ไม่เป็นไทยมาใช้” คำพูดในวันนั้นของ K แสดงให้สังคมรับรู้อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างเปรมและในวัง



ภายใตก้ารบริหารประเทศและการปราบปรามผ ู้ก่อการอันเป็นคอมมิวนิสต์ของเปรมการนำคำสั่งที่ 66/2523 มาใช้ สามารถเร่งการล้มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยให้เร็วขึ้น กลุ่มนักศึกษา และผู้ที่เข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์u3652 ได้ออกจากป่ามามอบตัวต่อทางราชการเป็นจำนวนมาก ในปีพ.ศ.2524 พรรคคอมมิวนิสต์ที่ต่อต่านยังคงเหลืออยู่บ้าง ในพื้นที่ส่วนใต้สุดของไทย, รอบๆ เขาค้อ, และภาคเหนือตอนล่าง ในเดือน มกราคม 2524 K ได้วางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริเวณเขาค้อ ในครั้งนั้น พลเอกพิจิตร กุลละวาณิชย์ได้เป็นผู้ช่วยเปรมเข้าปราบปราม พรรคคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ป่าเขาค้อ ทั้งทางบกและทางอากาศ เป็นเวลาถึง 5 เดือนเต็มเพื่อเข้ายึดพื้นที่สีชมพู (บริเวณรอบเขาค้อ) คืนจนสำเร็จ นำไปสู่การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในครั้งนั้นรัฐบาลเสียกำลังคน 1,300 นายในการต่อสู้ และพื้นที่ป่าเขาค้อถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพ



ขณะเดียวกัน สถานภาพทางการเมืองของเปรมในกรุงเทพก็ไม่สู้ราบรื่นนัก ในภาวะบ้านเมืองตกต่ำ พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ได้เติบโตพร้อมกับมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนต่อผู้สนันสนุนพรรคด้วยการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกต่อต้านจากสาธารณะ ในช่วงต้นปีพ.ศ.2524 มีกระแสว่าเปรมมีแผนการจะต่ออายุการเป็นผู้บัญชาการทหารบกของเขา ออกไปอีก ส่งผลในให้นักการเมืองจำนวนมากที่หวังว่าจะได้เปรียบในเกมการเมือง ครั้งต่อไปลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเปรม กระทั่งคึกฤทธิ์เองก็เตรียมแผนที่จะนำพรรคการเมืองของเขาเข้ามาเป็นผู้นำรัฐบาล



หากดูเหมือนว่าเปรมไม่มีทีท่าว่าจะลงจากตำแหน่งง่ายๆ เปรมได้เตรียมจัดตั้งรัฐบาลผสมทีมใหม่ขึ้นมา โดยมีกลุ่มทหารขวาจัดเป็นแกนนำ กลุ่มคนที่เป็นหัวหอก ได้แก่ พลตรีสุตสาย หัสดินและ พลเอกประจวบ สุนทรางกูล ซึ่งมีความหวาดกลัวว่าจะมีการหวนกลับมา อีกครั้งของกลุ่มขวาจัด อย่างที่คาดไว้ K ได้ให้การอนุมัติบัญชีรายชื่อคณะรัฐบาลที่เปรม จัดตั้ง ในคืนวันที่ 31 มีนาคม2524 ได้มีความพยายามของกลุ่มทหารต่างฝ่ายกระทำรัฐประหาร แต่ทำไม่สำเร็จ และกลายเป็นรัฐประหารโกหกในวันรุ่งขึ้นไป (April Fools’ Day coup) ความล้มเหลวในความพยายามจะทำรัฐประหารครั้งนั้น เน้นให้เห็นความสำพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่าง K และเปรมในช่วงเวลาดังกล่าว



กลุ่มยังเติร์ก (จปร.7) เป็นผู้นำในการทำรัฐประหารในช่วง 31 มีค.-1 เมย.2514 กลุ่มทหารเหล่านี้เป็นหทารมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ผ่านสมรภูมิการรบในลาวและเวียดนามมาแล้ว และเคยให้การสนับสนุนเปรมในช่วงปีพ.ศ. 2523 ในกลุ่มยังเติร์กที่มีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับเปรมได้แก่ มนูญ รูปขจร และจำลอง ศรีเมือง จะเห็นได้ว่า หลังจากเปรมขึ้นสู่อำนาจในปี 2523จำลองได้เป็นเลขาธิการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระนั้นก็ตาม นายทหารกลุ่มยังเติร์กไม่ได้ ชื่นชอบการอุปถัมถ์ทางการเมือง ของราชวงศ์ (นี่คือจุดต่างจากเปรม)



รายละเอียดของรัฐประหารโกหกในวันที่ 1 เมษายน ถูกทำให้คลุมเคลือโดยในวังและผู้มีส่วนร่วม เพื่อปกป้องชื่อเสียงของ Q และเปรม และนี่ก็ไม่ใช่การทำรัฐประหารต่อต้านเปรม แต่เป็นรัฐประหารต่อต้านการ กระทำของเปรมที่อาศัยอำนาจ ทางการทหารของเขาปกป้องตัวเอง ให้รอดพ้นจากกลุ่มผู้ต้านในรัฐสภา กลุ่มยังเติร์กไม่มีความสุขต่อการสนับสนุนนักการเมืองและข้าราชการทุจริต ตลอดจนการชื่นชมพลเอกอา ทิตย์ กำลังเอก อย่างออกนอกหน้าของในวัง มีหลายคราที่มนูญและ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เข้าพบเปรม และขอร้องให้เปรมล้มเลิกระบบรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ และปกครองประเทศตามแบบฉบับของจอมพลสฤษดิ์ในปีพ.ศ. 2501 ดูเหมือนว่าในครั้งแรก เปรมจะเห็นด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่



กลุ่มผู้นำรัฐประหาร (ในคืนที่ 31 มีนาคม 2524)ได้เคลื่อนกำลังเพื่อเข้าควบคุมกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม Q ได้เข้าแทรกแซงและเรียกตัวเปรม เข้าเฝ้าที่วังจิตรลดา ทั้งนี้ก็เพราะ Q ต้องการปกป้องพลเอกอาทิตย์ โดย Q ได้โทรศัพท ์ถกเถียงกับผู้นำรัฐประหารเป็นเวลานาน และเรียกร้องให้กลุ่มผู้นำรัฐประหารเข้ามาเฝ้าในวังเพื่อจะได้พูดคุยกันเมื่อได้รับการปฎิเสธจากกลุ่มผู้นำรัฐประหาร Q ได้หันมาเกลี้ยกล่อมให้เปรม และ K ยกเลิกการสนันสนุนการทำรัฐประหารดังกล่าว กลุ่มผู้นำรัฐประหารได้เดินหน้าต่อไป และประกาศการเข้ายึดครองอำนาจ ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 เมษายน 2524 ในขณะเดียวกัน เปรมได้อพยพครอบครัวราชวงค์ทั้งหมดโดยเคร ื่องบิน(เฮลิคอปเตอร์) ไปยังฐานทัพบกภาคที่ 2 ที่โคราช ที่อาทิตย์เป็นผู้บัญชาการทหารอยู่ บนชั้นที่สองของที่พักส่วนตัวของเปรม Q, อาทิตย์ และ เปรม ได้เปิดศึก ุถุ่มเถียงกันขึ้นโดยประเด็นสำคัญว่าใครกันแน่ที่เสวยสุขจากความชมชอบของราชวงศ์และทำเพื่อ K อย่างแท้จริง ในตอนบ่ายของวันเดียวกัน เปรมได้ออกอากาศว่า ครอบครัวของราu3594 ชวงศ์อยู่กับเขา และการกระทำของกลุ่มรัฐประหาร เป็นปฎิปักษ์ต่อประเทศชาติและราชบัลลังก์ เปรมได้ตราหน้ากลุ่มผู้ทำรัฐประหาร ว่าเป็นพวกน่าละอายและเหยียดหยามว่า ไม่กล้าแม้แต่จะเข้าเฝ้า K ในที่สุด Q (ไม่ใช่ K) เป็นผู้ออกมาเรียกร้องให้มีความสมัครสมัคคี พร้อมกับตำหนิผู้วางแผนก่อการรัฐประหาร รัฐบาลของพระเจ้าแผ่นดินภายใต้การนำของนายกเปรม คำพูดของ Q ถูกถ่ายทอดซ้ำเป็นระยะๆ ในอีก 36 ชม. ถัดมาหลักฐานที่แสดงจุดยืนของราชบัลลังก์ ในเวลาต่อมาอีกอย่างก็คือ ในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ P3 นั้น รูปของ P3ไ ด้ปรากฎบนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายฉบับพร้อมกับคำบรรยายใต้รูปว่า P3 ได้อยู่กับเปรมที่ฐานทัพภาคที่ 2



ในขณะที่ K ยังเงียบอยู่ ผู้นำรัฐประหารกล่าวหาเปรมว่าลักพาตัวครอบครัวราชวงศ์ และแถลงการณ์ว่า เปรมใช้ราชวงศ์ เป็นเกราะกำบังและดึงเอา K มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง และอธิบายว่าคณะรัฐประหารไม่ได้ปฎิเสธการเข้าเฝ้า K แต่เป็นเปรมเองที่ไม่ยอม ให้พวกเขาเข้าเฝ้า K“คณะปฎิวัติมีความปรารถนา ที่จะส่งตัวแทนเข้าเฝ้า K และ Q….เราต้องการอธิบายความจริงต่อ Kและประชาชน”



อย่างไรก็ดี เปรมถือไพ่เหนือกว่า เขาประกาศว่า “กองทัพเกือบทั้งหมดเข้าข้างตน และ Kก็อยู่กับพวกเรา หากในความเป็นจริง เปรมใช้เวลาถึง 2 วันในการล็อบบี้ผู้บังคับบัญชาการทหารภาคต่างๆ ให้มาอยู่ข้างเปรม ท้ายสุดได้มีการใช้กำลัง บังคับให้มนูญและพรรคพวก เข้ามอบตัวต่อพลเอกอาทิตย์ ในตอนเช้าวันของวันที่ 3 เมษายน พร้อมกับภาวะการเป็นผู้นำของเปรมก็รอดพ้นจากการถูกปล้นอีกครั้ง โดยแทบจะไม่มีการใช้ความรุนแรง



ความคลุมเครือในการวางตัวของ K ต่อรัฐประหารโกหกเดือนเมษา เป็นเทคนิคป้องกันไม่ให้ชื่อเสียงของ Kเสียหาย หรือถ้าจะเสียหาย ก็ให้น้อยที่สุด แต่หลังจากนั้น การที่ K ยังติดอยู่กับเปรม ก็เป็นตัวอธิบายได้ดีว่า K ยังคงสนับสนุนเปรม ให้คงอำนาจอยู่ในรัฐบาล กระนั้นก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง มีการนิรโทษกรรม ต่อผู้ทำรัฐประหารทั้งหมดอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีความเข้าใจ ผิดท่ามกลางลูกๆ ของ K เกี่ยวกับความปลอดภัย ดังจะเห็นได้จากมีการวาง ระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด กว่าปรกติในการปรากฎตัวในที่สาธารณะของครอบครัวราชวงศ์ในu3594 ช่วงอา ทิตย์แรกๆ หลังการรัฐประหารในปีถัดมา ทั้งเปรมและอา ทิตย์ลอดพ้นจากการถูกลอบสังหารหลายครั้งหลายครา โดยผู้ต้องสงสัยเป็นคนในกองทัพนั่นเอง เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ Kตระหนักว่า การยุ่งเกี่ยวทางการเมืองและการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายในกองทัพเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ ซึ่งก็ตรงกับที่ได้รับรายงาน เป็นการส่วนตัวจากเจ้าหน้าที่ที่ทำงานให้กับในวัง



กระนั้น K ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะดำเ นินการต่อปัญหาดังกล่าวอย่างไร อย่างไรก็ตามเปรมตัดสินใจไม่ต่ออายุราชการทหารของเขาในปีหน้า แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาว่าเขาอาจจะสูญอำนาจในตำแหน่งนายก เพราะ K รับรองให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอย่างน้อยอีกหนึ่งปี หลังจากความล้มเหลวในการทำรัฐประหารของกลุ่มยังเติร์กเมื่อ 1 เมษายน ที่ผ่านมา พลเอกอาทิตย์ก็ได้รับการเลื่อนขั้น ขึ้นอย่างรวดเร็วให้มีอำนาจเป็นรองแค่เปรมเท่านั้น และได้เป็นผู้บังคับบัญชาการทหารบกสาน ต่ออำนาจผู้นำทางการทหารต่อจากเปรม ในปีพ.ศ.2525 หลังจากที่เปรมลงจา กตำแหน่งในปีนั้น



ในเจ็ดปีแห่งความสับสนวุ่นว่ายถัดมา สถานภาพและบทบาททางการทหารและรัฐสภาของเปรมยังคงได้รับการปกป้องภายใต้ร่มเงาของ K ทั้งสองคนยังพบปะกันอย่างมิได้ขาด และ Kยังได้ส่งสัญญาณให้สาธารณะชนรับรู้อย่างสม่ำเสมอว่าเขายังสนับสนุนเปรม ที่โดดเด ่นที่สุดจะเห็นจากการสนับสนุนเปรมผ่านเชิงสัญลักษ์ณทางศาสนาพุทธ ดังที่ปรากฎในเดือนกรกฎาคม 2525ที่ K ป่วยหนักด้วยโรค mycoplasmic infection และปอดบวม และในวังหวาดวิตกว่า K อาจจะตายK กล่าวถึงการป่วยของเขาในเวลาต่อมาว่า เขาได้ก้าวผ่านแดนสนธยา หลังจากนอนป่วยบนเตียงอยู่สามอาทิตย์ K ลุกขึ้นไปเดินเล่นเป็นการส่วนตัวในสวนจิตรลดาโดยมี P3 และเปรมเดินตามอยู่ข้างหลัง จากภาพที่ปรากฎสะท้อนให้เห็นตำแหน่งของเปรมดุจดังเจ้าฟ้าชายอาวุโสของราชวงศ์จักรี ระหว่างทางของการเดินเล่น K ได้ขอให้หญิงในวังที่เฝ้าสระเด็ดดอกบัวในสระให้ หญิงดังกล่าวเด็ดดอกบัวส่งผ่านเปรมซึ่งคุกเข่า และยื่นดอกบัวส่งต่อให้ K อีกทอดหนึ่ง K รับดอกบัวไปจ้องมองก่อนส่งคืนอย่างนุ่มนวลให้เปรม



แน่นอนว่า ภาพดังกล่าวตกเป็นข่าวทางทีวีและตามหน้าหนังสือพิมพ์ และการสนับสนุนเปรมของ K ผ่านทางสัญลักษณ์ทางu3624 ศาสนาก็เป็นที่รับรู้ของประชาชนอย่างง่ายดาย นั่นคือ ดอกบัวในทางศาสนาพุทธ เปรียบเสมือนความบริสุทธิ์และการตรัสรู้ ดอกไม้ชนิดนี้ปรกติใช้สำหรับบูชาพระส่วนหญิงในวังผู้ซึ่งเด็ดดอกบัวยื่นให้เปรม ตระหนักว่า เปรมเป็นบุคคลที่ทรงเกียรติพอ ที่จะส่งต่อดอกบัวให้กับ K ท่าทีการถือดอกบัวของ K ตลอดจนการจ้องมองอย่างพินิจของเขา เปรียบเสมือนการแสดงตนคล้าย ดังพระพุทธเจ้าที่เต็มไปด้วยกรุณาคุณ และการที่ K ส่งดอกบัวต่อให้เปรม ก็เป็นการยืนยันถึงบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ของเปรม เช่นเดียวกัน



ในที่สุด K ก็หายป่วย และเปรมยังครองอำนาจในการผู้นำอย่างเข้มแข็ง ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วประเทศ ผู้บังคับบัญชาทหาร (พลเอกอาทิตย์) ยังมีความสุขกับการได้รับอนุญาตให้เข้าออกในตำหนัก โดยรอบตัว Q เต็มไปด้วยนายทหารและตำรวจชั้นนายพล ตลอดจนเหล่าภรรยาที่เข้าเฝ้ารับใช้อย่างไม่ขาดสาย แขกที่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยงในวังบ่อยที่สุดคือบรรดานายทหารชั้นผู้ใหญ่ โดยเหล่านายพลจะผลัดเปลี่ยนกันเต้นรำกับ Q และร้องเพลง ขณะที่K เป่าแซกโซโฟน อย่างไรก็ตาม นักการเมืองและนักธุรกิจแทบ จะไม่เคยได้รับเชิญไปงานดังกล่าว



ท่ามกลางความรื่นเริงในวัง รัฐบาลภายใต้การนำของเปรมได้ตอบโต้เสียงติฉินและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ว่าเป็นการกระทำของพวกศัตรู ของชาติและคอมมิวนิสต์ มีกลุ่มนักเรียนทำการประท้วงปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปลายปี 2525 แต่ถูกกลุ่มกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้าน ข่มขู่บังคับให้หยุดชุมนุม ทั้งนี้ กลุ่มลูกเสือชาวบ้านถูกกล่าวหาว่า มีส่วนพัวพันในการฆาตกรรมนักเรียนซึ่งเป็นผู้นำการประท้วงต่อต้านการขึ้นค่ารถเมล์ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



ในยุคของเปรม รัฐบาลตกอยู่ใต้อำนาจของสถาบันทหารอย่างถาวรภายใต้การนำของ Kดังจะเห็นได้จากส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ 2521 ที่ให้ทหารมีอำนาจครอบงำวุฒิสภาชิกสภาและอนุญาตให้นายทหารสามารถรับตำแหน่งทางการเมือง โดยไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อสิ้นสุดในเดือนเมษายน 2526 หลังจากที่อำนาจของรัฐสภาถูกทำให ้ลดลงและข้าราชการพลเรือน-ทหารถูกห้ามใม่ให้เข้ารับตำแหน่งทางการเมือง ในขณะเดียวกัน พรรคการเมือง พรรคเล็กพรรคน้อยถูกผลักดันให้มีการรวมตัวเป็นพรรคใหญ่ พรรคเดียว เพื่อแก้u3611 ปัญหารัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพและการ ปฎิบัติหน้าที่ไม่ค่อยได้ผล ในทางปฏิบัติ การเมืองแบบพรรคเล็กพรรค์น้อยเป็นผลดีต่อเปรม ผู้ซึ่งคอยยุให้พรรคการเมืองตีกันเอง โดยมีในวังสนับสนุนการกระทำดังกล่าว ในเดือนมกราคม 2526 เปรมได้ทำให้โครงสร้างเฉพาะกาลกลาย เป็นสิ่งถาวรผ่านทางการแปรญัตติรัฐธรรมนูญ ครั้งหนึ่ง เปรมเจอการต่อต้านอย่างหนักโดยไม่คาดหมายจากรัฐสภา และแม้กระทั่งจากกลุ่มนายพลหทารหัวก้าวหน้า ผู้ช่วยของเปรมขณะนั้น พลเอกพิจิตรกุลละวานิชย์ แนะนำเปรมว่า อาจจะมีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก ถ้ากองทัพไม่มีที่ไม่มีทางในรัฐบาล



ด้วยการสนับสนุนเปรม K ได้ประกาศให้มีการประชุมสมัยพิเศษขึ้นเพื่อการแปรญัตติรัฐธรรมนูญ การแปรญัติติผ่านไปอย่างง่ายดายในวาระที่ 1 และวาระที่ 2 อาศัยความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากทั้งสองสภา แต่ในวาระที่ 3 ที่จัดขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม 2526 นั้น 2 ใน 3ของการออกเสียงเสนอให้การแปรญัตติตกไป



อย่างไรก็ตาม เปรมมีอีกแผนหนึ่งซึ่งต้องการความเหมาะเจาะในเรื่องของช่วงเวลาที่จะทำให้สังคมเห็นว่า K ให้การสนับสนุนตนอย่างชัดเจน ช่วงเปลี่ยนรัฐบาลยุติในวันที่ 21 เมษายนโดยเปรมให้ขอร้องให้ K ยุบสภาในวันที่ 19 มีนาคม (At Prems’ request the king dissolved parliament on March 19, p.284, Hanley 2006) และกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 18เมษายน หมายความว่า รัฐบาลใหม่ต้องก่อตั้งภายใต้กฎหมายเดิม มีอายุได้นาน 4 ปี และอำนาจของทหารในทางการเมืองยังดำรงอยู่ต่อไป



ในช่วงการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์และพรรคกิจสังคมได้ใช้สองประเด็นเป็นตัวชูโรงในการหาเสียงกับประชาชน นั่นคือ ระหว่างประชาธิปไตย และเผด็จการทางทหาร ประชาชนจะเลือกฝ่ายไหน และประเด็นแอบแฝงก็คือ K สนับสนุนเปรม อย่างไรก็ดี ต้องขอบคุณคะแนนเสียงจากชนบท เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุด ผู้ชนะการเลือกตั้งโดยครองเก้าอี้ในสภามากที่สุดคือพรรคชาติไทยของประมาณ อดิเรกสาร และชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งมีภาพพจน์ของการทุจริตและมีความเชื่อมโยงกับฝ่ายขวาที่ใช้ความรุนแรงในปีพ.ศ.2519 ขณะที่ภาพพจน์ของประมาณเป็นปัญหาต่อการเป็นผู้นำประเทศ เปรมที่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้ใช้ประโชยน์จากความหวาด กลัวภาพลักษณ์ของประมาณ(ของสังคม-ผู้แปล) กดดันพรรคการเมืองใหญ่ๆ ฝ่าu3618 ยตรงข้ามประมาณให้สนับสนุนตน และผลักดันพรรคชาติไทยไปเป็นฝ่ายค้าน



เปรมแสดงให้นักการเมืองเห็นว่าเขาจะไม่เคยลืมนักการเมืองที่ให้การสนับสนุนเขา แทนที่จะจัดสรร ตำแหน่งตามลำดับและความเหมาะสม เปรมกลับเลือกคนนอกที่แสดงความ จงรักภักดีต่อเปรมมาเป็นรัฐมนตรี แล้วเปรมก็เดินหน้าสร้างความชอบธรรมในการสร้างระบบ วัง-กองทัพต่อไปภายใต้สโลแกนที่ว่า “กองทัพจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องประเทศ, เสรีภาพของชาติ,และ ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”.



K แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเขาสนับสนุนเปรมในการเคลื่อนไหวในแต่ละเรื่อง ในวันคล้ายวันเกิด (5 ธันวาคม) ปีพ.ศ.2526 จากเวลา 45 นา ทีที่ K ออกมาพูด มีหลายส่วนในคำพูดของ Kที่แสดงให้เห็นว่า K ต่อต้านนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่ข้าราชการที่เป็นพลเรือน ในทางกลับกัน ในคำกล่าวทั้งหมดไม่มีส่วนใหนคัดค้านเปรมและการเป็นผู้นำทางการทหาร Kตำหนิเจ้าหน้าที่และนักการเมืองในการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างงี่เง่า ปล่อยให้พื้นที่กรุงเทพส่วนใหญ่จมน้ำอยู่หลายสัปดาห์ K แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลุ่มนักการเมืองและข้าราชการพลเรือนเหล่านี้ไร้ความสามารถ ต่างจากกลุ่มนายทหาร



ในการกลับมาอยู่ในตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง เปรมยังคงปกป้องและส่งเสริมสถาบันกษัตริย์อย่างต่อเนื่อง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ ปกปิดจุดด่างพร้อยต่างๆ ของครอบครัว K ซึ่งนับเป็นงานที่ยากสาหัส ทันทีที่เปรมเข้ารับตำแหน่งในปี พ.ศ. 2523 เขาได้รื้อฟื้นโครงการก่อสร้างอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 ที่รัฐสภา ซึ่งริเริ่มให้ก่อสร้างในสมัยธานินท์ กรัยวิเชียรในปีพ.ศ.2519ทั้งนี้เพื่อให้เป็น สัญลักษณ์ว่าราชบังลังก์สนันสนุนความเป็นประชาธิปไตย มีการเฉลิมฉลองอนุสาวรีย์ ในวันรัฐธรรมนูญของปีพ.ศ.2523 และมีโครงการจะเปลี่ยนชื่อวันนั้นเป็นวันประชาธิปกตามชื่อรัชกาลที่ 7 อย่างไรก็ดี ความคิดดังกล่าวล้มเลิกไป ในช่วงเวลาเดียวกัน โครงการอนุสาวรีย์ของกลุ่มบุคคล (ใ นปี 2475-ผู้แปล) ที่ทำการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ถูกรัฐบาลคัดชื่อออกไปจากบัญชีรายการมรดกแห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยับยั้งไม่ให้อนุสาวรีย์นี้u3606 ถูกสร้างขึ้น



นั่นคือ รัฐบาลเปรมต้องการลบล้างความทรงจำของคนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลาผ่านไปกว่า 50 ปี จึงมีผู้คนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ยังคงจำเรื่องราวความจริงของวันที่ 24 มิถ ุนายนได้ นอกจากนี้ เปรมยังต้องรับภาระในการจัดการเรื่อง ของอดีตผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2 ท่าน ได้แก่ ปรีดี พนมยงค์ และพระพิมลธรรม ในขณะที่เปรมครองอำนาจ ปรีดีอาศัยอยู่ที่กรุงปรารีส และมีอายุ 80 ปี หลังจากที่ลี้ภัยจากประเทศไทยไปเมื่อ 30กว่าปีที่แล้ว ครอบครัวและมิตรสหายของ ปรีดีได้ยื่นฎีกาต่อ K ให้อนุญาตปรีดีกลับมาไทยโดยร้องขอความปรานีและการอภัยจาก K แต่ในวังกลัวว่า ปรีดียังคงเป็นอันตรายทาง การเมือง(อันจะกระทบถึงความมั่นคงต่อรัฐบาลทหารของ K-ผู้แปล) นอกจากนี้ ปรีดียังเป็นวีระบุรุษของนักศึกษาในทศวรรษ 2500 อีกทั้งลูกศิษย์ลูกหาของปรีดีมากมายได้เป็นครูบาอาจารย์ และเป็นใหญ่เป็นโตในระบอบราชการปัจจุบัน



เปรมได้แก้ปัญหาดังกล่าวให้กับ K ด้วยการสร้างข่าวว่า ปรีดีสามารถกลับไทย และในวังไม่ได้ติดใจว่าปรีดีปลงพระชนน์รัชกาลที่ 8 อย่างไรก็ดี การอนุญาตอย่างเป็นทางการไม่เคยเกิดขึ้นแต่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้ง K) ไม่ถูก(สังคม)ตำหนิว่าไม่มีความเป็นธรรมต่อปรีดี ปรีดีเสียชีวิตในกรุงปารีสในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 การตายของปรีดีได้เผยให้เ ห็นความอาฆาตแค้นของในวังต่อปรีดี หลังจากที่ปรีดีเสียชีวิต ร่างของเขาถูกส่งกลับมายังบ้านเกิดในประเทศไทยเพื่อทำพิธีปนญา นกิจศพ ในวังปฎิเสธการเป็น เจ้าภาพในพิธีเพลิงศพปรีดี ผิดกับปกติที่ทางวังจะส่งตัวแทนมาเป็นเจ้าภาพในพิธีงานศพของผู้นำรัฐบาลคนก่อนๆ ทุกครั้ง ยกเว้นงานเพลิงศพของจอมพลพิบูลย์สงคราม



บทบาทของผู้นำอีกคนที่สร้างความปวดหัวให้กับเปรม คือ พระพิมลธรรม หลังจากได้รับการขับออกจากการเป็น สมณเพศและถูกจำคุกโดยข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงของสฤษดิ์ ในต้นทศวรรษ 1960 พระพิมลธรรมยังคงมีบทบาทในทศวรรษ 1970 ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2523เจ้าอาวาสวัดมหาธรรมถึงแก่อาสัญกรรม และพระลูกวัดได้โหวตให้พระพิมลธรรมเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส อย่างไรก็ตาม ทางวังและราชา คณะสงฆ์ (มหาเถระสมาคม) ไม่รับรองการแต่งตั้งให้พระรูปใดขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาสวัดที่สำคัญที่สุดขu3629 องประเทศ หลังจากนั้น 9 เดือน เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณะและการข่มขู่จะทำการประท้วงของพระ ได้ผลักดันให้มหาเถรสมาคม จำต้องยอมให้พระพิมลธรรมเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุรูปต่อไป



เรื่องยังไม่จบเพียงเท่านั้น ในระบบของมหาเถระสมาคม ตำแหน่งสูงสุด คือ สมเด็จซึ่งจะมอบให้กับพระชั้นสูง ที่มีอาวุโสสูงสุดทั้งด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ ตำแหน่งสมเด็จนี้ มี 6ตำแหน่ง และสมเด็จหนึ่งในหกตำแหน่งนี้จะได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสังฆราช อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของมหาเถระสมาคม ตำแหน่งรองสมเด็จ มี 12 ตำแหน่ง โดย K จะเป็นผู้พระราชทานตำแหน่งใหักับสมณะเจ้าทั้งหมดนี้ ภายใต้คำแนะนำจากสภามหาเถระสมาคม และกรมการศาสนาในวันที่ 5 ธันวาคม



พระพิมลธรรมอยู่ในอันดับรองสมเด็จในทศวรรษ 1950 ต่อมา สฤษด ิ์ได้ถอดตำแหน่งของพระพิมลธรรมออกไป แต่ได้รับตำแหน่งคืนในปีพ.ศ. 2518 พระพิมลธรรมมีคุณสมบัติครบถ้วนต่อการรับตำแหน่งสมเด็จในสภามหาเถระสมาคม แต่ถูกในวังขัดขวางจนไม่ได้รับตำแหน่ง ต่อมาหนึ่งในหกสมเด็จพระเถระ สวรรคตในปีพ.ศ. 2526 มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้มอบตำแหน่งสมเด็จให้แก่พระพิมลธรรม ซึ่งจริงๆ แล้ว พระพิมลธรรมมีคุณสมบัติมากกว่าพระรูปอื่นๆ และท ่านเป็นรองสมเด็จที่อาวุโสกว่าพระอีกสองรูป ที่เข้ารับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไปก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว สภาคณะสงฆ์ภาคอิสาน (Isan sangha council) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการสนับสนุนพระพิมลธรรมขึ้นสู่ตำแหน่งสมเด็จพระเถระ



เปรมและในวังมีปฏิกริยาตอบสนองต่อเสียงเรียงร้องดังกล่าวด้วยการรื้อฟื้นข้อกล่าวหาว่าพระพิมลธรรม เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ, สถาบันกษัตริย์, และสถาบันสงฆ์ แท้จริงแล้วเปรมและในวังกังวลใจว่าพระพิมลธรรมจะได้รับเลือกขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช หากท่านได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในหกสมเด็จพระเถระ เนื่องจากสมเด็จพระเถระที่ด้อยอาวุโสกว่าถูกตระเตรียมไว้แล้ว (โดยเปรมและทางในวัง) เพื่อให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อไป นั่นคือพระญาณสังวร ซึ่งเป็นพระที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณของ K



กรณีของพระพิมลธรรมก็เหมือนกับที่เกิดขึ้นต่อการกลับมาของปรีดี มีประเด็นที่ถ ุกหยิบยกมากล่าวถึงในเครือข่ายลับระหว่างวัง, สภาสงฆ์, และรัฐบาล และอุบัติเหตุถูกนำมาใช้เป็นอุบายกีดกันการแต่งตั้งพระพิมลธรรมเป็นสมเด็จ เริ่มจากทางสภาสงฆ์ สืบเนื่องจากการที่หัวหน้า คณะสงฆ์ภาคอีสาน ได้เสนอชื่อพระพมนธรรมเข้าชิงตำแหน่งในวันที่ 20 พฤศจิกายน ก่อนจะถึงวันคล้ายวันเกิดของ K แปดวัน หลังจากการเสนอชื่อ สมเด็จพระสังฆราชได้ขอให้กรมการศาสนาเสนอการแต่งตั้งสมเด็จพระเถระในตำแหน่งที่ว่างลงเข้าสู่สภาสงฆ ์เป็นท ี่แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นและได้รับการอธิบายภายหลังว่า เนื่องจากจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชที่บรรจุคำร้องดังกล่าวหายไป นี่เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อ เพราะเรื่องสำ คัญแบบนี้ไม่ควรจะสูญหาย เปรียบเสมือนเป็นการทำคำสั่ง (ที่จะแต ่งตั้งสมเด็จพระเถระ) ของ K หายไปเลยทีเดียว แน่นอนว่าเหตุการณทั้งหมดนี้ Kมีส่วนรู้ร่วมเห็น และโดยไม่ต้องสงสัย พระพิมลธรรมไม่ได้รับแต่งตั้ง เป็นสมเด็จพระเถระหนึ่งในหกในวันที่ 5 ธันวาคมของปีนั้น



ในกลางปีพ.ศ. 2527 สมเด็จพระเถระอีกองค์หนึ่งสรรคต ทำให้มีตำแหน่งสมเด็จว่างลงสองตำแหน่ง (รวมหนึ่งตำแหน่งที่ว่าง อยู่ก่อนหน้านี้เพราะ พระพิมลธรรมไม่ได้รับการแต่งตั้ง)และเป็นอีกครั้งที่วันเกิดของ K ผ่านไปโดยไม่ได้มีการแต่งตั้ง พระรูปใดขึ้นเป็นสมเด็จพระเถระทั้งที่การแต่งตั้งพระอันดับสูงทั้งสิบตำแหน่งถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่สำ คัญของ K ในการสร้างความเป็นสิริมงคล ให้กับตัวเองแต่กลับละเลย จึงเป็นเรื่องชัดเจนว่า การที่ K งดเว้นการแต่งตั้งสมเด็จพระเถระ ในสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากเขาไม่ต้องการแต่งตั้งพระพิมลธรรมขึ้นเป็นหนึ่งในสมเด็จพระเถระ ในขณะนั้น พระพิมลธรรมอายุ 83 ปีแล้ว และในวังหวังง่ายๆ ว่า พระพิมลธรรมจะตายในเร็ววันนี้เหมือนกับปรีดี ปีพ.ศ.2528 จึงผ่านไปอีกปีโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ในมหาเถระสมาคม ในขณะที่ พระอันดับสูง 17 รูป จากสภาสงฆ์อิสานได้ขู่ว่าจะคืนยศและตำแหน่งใหักับสภาสงฆ์ การกระทำดังกล่าวเป็นการหมิ่นและ สร้างความอับอายครั้งมโหฬารให้กับสภาสงฆ์ ในที่สุด K จำต้องแต่งตั้งพระพิมลธรรมเป็นหนึ่ง ในสมเด็จพระเถระใน วันคล้ายวันเกิดของเขาต่อมาตำแหน่งสมเด็จที่ว่างอีกตำแหน่งตกเป็นของพระอนุรักษ์นิยมอีกรูปหนึ่ง ในความเป็นจริง พระพิมลธu3619 รรม แก่เกินไปที่จะก่อปัญหาใดๆ ให้กับในวัง และท่านสวรรคตใน 2-3 ปีต่อมา และ พระญาณสังวร ก็ไร้คู่แข่งในการขึ้น เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อไป



หลังจากเปรมได้จัดการเก็บพยานรู้เห็นอดีตอันน่าเกลียด (ของ K และราชวงศ์) จนหมดเกลี้ยงเขาก็ไม่ต้องใช้ความสามารถ มากมายอะไรนักในการรณรงค์ส่งเสริม K และวัฒนธรรมเจ้า เริ่มจากการกระทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดี เปรมเข้าเฝ้าขอคำปรึกษาจาก K อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งในตำหนัก โดยการหมอบกราบ คลานเข่า และการพูดจาแบบสำรวมเจียมเนื้อเจียมตัว ในขณะที่ผู้นำรุ่น ก่อนเปรมสวมชุด ข้าราชการทหารและชุดสากลแบบตะวันตก เปรมกลับสวมใส่ผ้าใหมชุดพระราชทาน ซึ่งเป็นแฟชั่นสมัยรัชกาลที่ 5 แต่คนไทยส่วนหนึ่งกลับเข้าใจว่าชุดพระราชทานออกแบบในยุคของ K ปัจจุบัน หลังจากนั้น การแต่งกายของเปรมก็เป็นแม่แบบของพวก ขุนนาง,นักการเมือง, และนักธุรกิจ ที่เข้าเฝ้า K และ Q นอกจากนี้ พวกเขายังได้รับเอาชุดพระราชทานเป็นส่วนหนึ่ง ของเครื่องแบบแต่งในที่ทำงาน ในสังคมชั้นสูง และกลุ่มผู้ทะเยอทะยานอยาก ทั้งหลายได้แข่งขันกันบริจาคเงินในกับราชวงศ์ และเข้าร่วมงานต่างๆของเจ้า พวกเขาต่างแสวงหาที่จะมีส่วนร่วมในสังคมชั้นสูง โดยได้รับการดูแลจากเปรม และมีศูนย์กลางส่วนหนึ่งที่โรงแรง ดุสิตธานีโรงแรมนี้กลายเป็นสถานทีจัดงานเพื่อการกุศลของราชวงศ์ ทั้งยังมีภัตตาคารที่เป็นที่ชื่นชอบของQ, เปรม, และกลุ่มผู้หญิงชาววัง ด้วยเหตุนี้ โรงแรมดุสิตจึงกลายเป็นสถานที่สำหรับนักธุรกิจ,นักการเมือง, นายพล,และเหล่าภรรยามาชุมนุมและทำธุรกิจไปด้วยปริยาย



เปรมให้การรับรองครอบครัวราชวงศ์ในเกือบทุกสถานที่เท่าที่จะเป็นไปได้ เขาตอบสนองข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ของราชวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก Q ในการรณรงค์ส่งเสริมความชื่นชมราชวงศ์ของ ทหารและข้าราชการพลเรือน และการในคำแนะนำเกี่ยวกับการกระทำสัญญาต่างๆ ของรัฐบาล ในขณะ เดียวกัน เปรมได้ใช้เ งินหลวงในการก่อสร้างวังต่างๆ ให้กับครอบครัวราชวงศ์ รวมถึงพระราชตำหนักของแม่ของ K บนยอดดอยเต่า จ. เชียงรายที่ย้ายจาก สวิตเซอร์แลนด์มาอยู่ในประเทศ ไทยอย่างถาวรในปลายทศวรรษที่ 1980 นอกจากนี้เปรมได้คัดรายชื่อสถานประกอบการของรัฐ อาทิเช่น สายการบินไทย, องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย, เพื่อให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้โฆษณาและ เฉลิมฉลองราชบังลังก์ ด้วยความช่วยเหลือจากภาคธุรกิจ ทุกๆวันหยุด และแม้กระทั่งวันหยุดที่เคร่งครัดทางศาสนา ก็กลายเป็นวันรณรงค์ส่งเสริมราชวงศ์ไปด้วย กิจกรรมของครอบครัวมหิดลถูกถ ่ายทอดอย่างถี่ยิบ ทางทีวีและวิทยุ วันเกิดของ K และ Q ได้รับการรณรงค์ส่งเสริมให้เป็น วันพ่อและวันแม่แห่งชาติ ตามลำดับ



สถาบันกษัตริย์ม ่งความสนใจต่อการเฉลิมการครบรอบสองร้อยปีกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ.2525 ขณะที่ชุมชนดั้งเดิมและประชาชน ในกรุงเทพส่วนใหญ่ให้ความสนในเรื่องนี้เพียงเล็กน้อยสีสรรของงานนี้คือ การนำเอาพระราชพิธีแห่เรือสุพรรณหงส์มาจัด ซึ่งแต่เดิมจะจัดขึ้นเฉพาะในเทศการกฐินพระราชทานที่วัด อรุณ แต่ในปัจจุบันได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสถาบันกษัตริย์และโฆษณานักท่องเที่ยว ในงานเฉลิมฉลอง กรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี มาพร้อมกับสิ่งมหัศจรรย์ที่บ่งชี้ความโชติช่วงชัชวาลย์ของราชวงศ์จักรี ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ ผู้ช่วยของ K กล่าวว่าในวันครบรอบสองร้อยปีกรุงรัตนโกสินทร์ในวันที่ 5 เมษายน เวลา 11:00 น. พระอาทิตย์ได้สาดแสงส่องทะลุ ผ่านเมฆ มีรัศมีทรงกลด ซึ่งตรงกับที่พระทำนายไว้ และสิ่งเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นทุกๆรอบสองร้อยปีก่อนหน้านี้



ผู้สื่อข่าวต่างประเทศก็เกาะติดราชวงศ์เช่นกัน นิตยสารเอเชียวีค เขียนข่าวว่า ราชวงศ์จักรีได้สร้างคนรุ่นต่อไป ของสถาบันที่มีคุณลักษณะ ยอดเยี่ยม คือ K ปัจจุบัน ที่นำประเทศไทยให้ก้าวลุล่วงวิกฤตการณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (การเปลี่ยนระบอบการปกครอง จากระบอบ สมบูรณายาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย) นิตยสารดังกล่าวหยิบยกวิกฤตการณ์ในปีพ.ศ. 2516 และ 2524มาอ้างถึง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเหตุการณ์นี้ไม่ไช่วิกฤตการณ์การ ร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่เหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตการณ ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่แท้จริงท ี่เกิดขึ้นในเดือนตุลาปีพ.ศ. 2519 กลับไม่ได้เอ่ยถึงนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิคเสนอบทความยาว เหยียดโดยไม่ยอม กล่าวถึงการทำรัฐประหารของทหาร และกล่าวว่า K และสถาบันพุทธศาสนาเป็นผู้ก่อสร้างชาติ ในบทสัมภาษณ์ K กล่าวว่า“การพัฒนาของประเทศไทยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ มองหาสิ่งที่ดีของอดีต ขนบธรรมเนียมประเพณีได้เปลี่ยนแปลงตามเวลา นี่เป็นบทเรียน ที่เราใช้ประเพณีอันเก่าแก่และปรับปรุง ให้สามารถใช้ได้ในปัจจุบันและในอนาคต”.



อย่างประชดประชัน, อาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญกับประเพณีอันเก่าแก่ในอดีตของ K,นิตยสารจีโอกราฟฟิคในฉบับเดียวกัน ได้ตี พิมพ์เรื่องปกเกี่ยวกับ ผลกระทบของวิวัฒนาการของชิ้นส่วนซิลิคนต่อชีวิตของประชาชน



ความตายและการเจ็บป่วยบางครั้งก็กลายเป็นสิ่งรณรงค์ส่งเสริมราชบังลังก์ได้เช่นเดียวกันการเจ็บป่วยของ K ในปีพ.ศ. 2525 รัฐบาลและทหารได้ส่งเสริมให้สาธารณะชนแสดงความจงรักภักดี นำทีมโดยกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กรมการศาสนาได้จัดพิธีทางศาสนา การนั่งสมาธิเป็นกลุ่มเพื่อK บางกลุ่มนำทีมโดยสมเด็จพระสังฆราช ความปรารถนาดีเป็นห่วงเป็นใยส่งมาจากทุกมุมโลกถูกตีพิมพ์ เผยแพร่ เพื่อชี้ให้ประชาชนเห็นว่า K เป็นธรรมราชาที่ได้รับการเคารพจากสากลโลก



เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี(มเหสีของของรัชกาลที่ 7) สิ้นพระชนม์ในเดือนพฤษภาคม2527 เปรมได้ขยายเวลาไว้ทุกข์จาก 100 วันไปเป็น 11 เดือนทั่วประเทศ รัฐบาลจ่ายเงินไปหลายล้านเหรียญสหรัฐ ในการจัดพิธีเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีนเดือนเมษายน 2528พระเมรุที่เผาศพสูง 29 เมตร และตลอดความยาว 3 กิโลเมตรจากวังถึงพระเมรุตกแต่งด้วยราชรถสีแดงและสีทองเพื่อบรรทุก ที่บรรจุพระศพซึ่งตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดา มีขบวนทหารเป็นพันตามด้วยวงโยทวาธิตมาในชุดแต่งกาย ราชวงศ์จักรี ตอนต้น ภาพที่ปรากฎจากการถ่ายทอดสดทางทีวีตระกูลมหิดลนำราชวงศ์จักรีเป็นร้อยร่วม ในขบวนพิธี ในระหว่างนั้นมีการยิงปืนใหญ่ 300 นัดขึ้นฟ้า



การบำเพ็นตนในเป็นประโยชน์ต่อราชวงศ์ของเปรมก่อให้เกิดการขยายตัวอย่างมโหฬารของการพัฒนาโครงการหลวง สิ่งเหล่านี้ได ้กลายเป็นตัวบ่งชี้ K โดยผ่านการช่วยเหลือของเปรมผลงานจากโครงการ ต่างๆ ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้กลายเป็นสิ่งที่ประชาชน ใช้ในการให้คำจำกัดความ K ของเขา (นั่นคือเป็นพระราชาที่ทำงานหนักเพื่อประชาชน-ผู้แปล)ใ นปีพ.ศ. 2523 K ได้ก่อตั้ง 200-300 โครงการเพื่อการกุศล รวมถึงมูลนิธิชัยพัฒนา โครงการเหล่านี้มีความสำคัญต่อภาพพจน์ของ K มีการเผยแผ่ภาพถ่ายทางทีวี อย่างดีที่แสดงให้เห็นว่า Kทำงานหนักตรากตำ เดินบุกๆป่าฝ่าเขา มีกล้u3629 องแคนนอนคล้องคอ ถือแผนทีและสมุดโน้ตในมือ ขณะซักถามชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปริมาณ น้ำท่า, น้ำฝน, และการทำเกษตรกรรมผู้ช่วยของ K กล่าวให้ฟังอย่างมหัศจรรย์ใจ ว่าทำไมเพียงแค่ K ดูแผนที่ ก็สามารถเข้าใจสภาพภูมิประเทศและศักยภาพของแหล่งน้ำได้ทันที เหมือนกับการที่รัชกาลที่ 4 สามารถทำนายการเกิดสุริยคลาส ซึ่งอัฉริยะเท่านั้นถึงจะทำได้



อย่างไรก็ตาม K ยังคงผิดหวังที่รัฐบาลไม่ใช้ความสำเร็จของเขาในระดับชาติ ในปี พ.ศ. 2524มีการเสวนาเกี่ยวกับการเกษตรกรรม ในภาคเหนือของไทย K วิจารณ์ว่า กลุ่มข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญการ พัฒนาประเทศไม่ สนใจสิ่งที่เรียบง่ายและเป็นทางออก ที่ไม่แพงต่อปัญหาของชาวนา ที่เขาได้ริเริ่ม วิธีการของข้าราชการไม่มีประโยชน์ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ชัดเจนและไม่ถูกต้อง ที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเพราะข้าราชการไม่เคยฟังเสียงชาวไร่ชาวนา โดย K กล่าวว่าชาวบ้านพวกนี้ฉลาดกว่าที่ทุกคนคิด



ด้วยการใช้โครงการของตัวเองเป็นแม่แบบ K ได้สอนให้สาธารณะชนรู้ว่าการทำงานของข้าราชการไร้ผล ตัวอย่างเช่น เขาอธิบายว่า โครงการน้ำหมู่บ้านเล็กๆใช้เวลาเพียง 2-3 วัน และเงินไม่กี่พันบาทก็จัดการได้ ขณะที่โครงการของรัฐบาลต้องใช้เวลานานเป็นปีๆ และแพงกว่าสิบเท่าK ไม่พอใจมากที่ทุกวันเขาได้รับจดหมายร้องทุกข์จากชาวบ้านที่ขาดแคลนน้ำและถนนหนทาง Kต้องการทั้งกำลังคนและเ งินจำนวนมากกว่าที่ได้รับจากการบริจาคเพื่อจะช่วยเหลือคนเหล่านี้



เปรมได้ตอบสนองความต้องการของ K โดยออกคำสั่งให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการของ Kอย่างเต็มที่ทั้งด้านกำลังคนและกำลังเงิน อะไรก็ตามที่เป็นความต้องการของ K ต้องจัดความสำคัญให้เป็นอันดับต้นเหนือโครงการเร่งด่วนอื่นๆ มีการก่อตั้งโครงการพระราชดำ ริขึ้นมา โดยมีเปรมเป็นประธาน ในพ.ศ. 2524 โครงการพระราชดำริได้ทำโครงการพัฒนาคณะกรรมการภายในสำนักงานการวางแผน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ K เปรียบเสมือนหัวหน้าการพัฒนาและสร้างความพึงพอใจให้แก่ K



โครงการหลวงหลายโครงการอยู่ภายใต้การดูแลของสุเมธ ตันติเวชกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และความมั่นคงแห่งชาติ และเป็นที่ปรึกษาของ K ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1960 สุเมธทำงานเกี่ยวกับการวางแผนกรมกอง ของข้าราชการเพื่อความพร้อมในการผจญกับ ปัญหาภัยธรรมชาติและสงคราม เขาใช้เวลาส่วนหนึ่งในเวียดนามเพื่อศึกษาเครือข่ายที่เข้มแข็งที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่าง ความไม่พอใจของชนบทและการก่อการร้าย อันส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม งานของสุเมขจัดเป็นส่วนหนึ่งของ คณะกรรมการโครงการพระราชดำริ (Royal ProjectDevelopment Board:RPDB) เพื่อรับใช้ K และครอบครัวราชวงศ์ สุเมธอธิบายในภายหลังถึงหลักการทำงานว่า เป็นการใช้ตัวอย่างของการเข้าแทรกแซงขององค์กรเมื่อระบบราชการเป็นอุปสรรคต่อ ความพยายาม ของในวังที่จะให้ชาวไร่-ชาวนาเข้าใช้ประโยชน์ในท ี่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐ



เมื่อ RPDB เข้าที่เข้าทาง การใช้จ่ายของโครงการหลวงก็เพิ่มข ึ้นมากมาย โดยเงินสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากภาครัฐ โครงการส่วนใหญ่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิเช่น การวิจัยด้านพืชพันธ์,โครงการผันน้ำต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่, การฝึกอบรมหมอ, การบริการด้านการแพทย์เปรมใช้งบประมาณในการก่อตั้ง หกศูนย์กลางของโครงการหลวงขึ้นในประเทศ ในแต่ละที่กินพื้นที่หลายพันเ อเคอร์ (1 เอเคอร์ = 4046.86 ตารางเมตร) ซึ่งส่วนมากจะอยู่ใกล้วังของ K ในแต่ภูมิภาคในแต่ละที่จะมีพนักงานของศูนย์ทำการทดลอง พันธุ์พืชและสัตว์เพื่อการเกษตรกรรมและการปศุสัตว์งานที่ทำจะมีลักษณะแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากการทำวิจัยในกระทรวงต่างๆ และในมหาวิทยาลัย



K มีความคิดใหม่ๆ หลายเรื่อง เช่น การผลิตก๊าสชีวภาพ, การทำน้ำผลไม้, การเพาะเห็ด,และการหมักผักตบชวา ทำเป็นปุ๋ยและ การสวนสมุนไพร และไร่หวาย สำหรับโครงการผันและกักเก็บน้ำขนาดเล็ก K ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ที่ควบคุมดูแลการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนทั่วประเทศ ภาพข้าราชการระดับสูงจากทั้งในโครงการราชดำริและจากการไฟฟ้าฯ ข้างกาย Kจึงปรากฎให้ประชาชนเห็นอยู่บ่อยๆ



กองทัพได้กลายเป็นกำลังสำคัญของ K ในโครงการหลวง กองทัพได้ใช้เงินกว่าล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อก่อสร้างศ ูนย์กลางการพัฒนา โครงการหลวงบนเนื้อที่ 21,448,358 ตารางเมตร ใกล้ตำหนักภูพาน และใช้จ่ายเ งินอีกหนึ่งล้านเหรียญเพื่อก่อสร้าง วังขนาดเล็กและศูนย์โครงการฯใกล้เขาค้อ เขาค้อนี่เองที่ K ใช้เป็นแบบจำลองu3649 แนวความคิดของเขา เพื่อกระตุ้นการพัฒนา เศษฐกิจส่งผ่านไปยังพลเอกพิจิตร กุลละวาณิชย์ ผู้ซึ่งผ่านสงครามรบที่เขาค้อ(ระหว่างรัฐบาลไทยและพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย)และรู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี กองทัพได้พัฒนาทรัพยากรน้ำ,แนะนำพันธุ์พืชแก่ชาวบ้าน, และช่วยเหลือชาวไร่-ชาวนา ภายใต้โครงการหลวง การแนะนำให้ชาวบ้านปลูกผัก-ผลไม้เมืองหนาวที่ทำเงิน เช่น แอสแพรากัส (asparagus) และแคนเบอรี่ประสบ ความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากนั้น งบประมาณของทหารเพื่อโครงการหลวงก็เพิ่มขึ้นและพลเอกพิจิตร ได้ขยายโครงการดังกล่าวเข้าไปสูชายแดนไทย-เขมร



ด้วยข่าวโครงการหลวงที่กระจายออกไป ในวังได้รับหนังสือร้องขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านในชนบทเพิ่มขึ้น พนักงานของ K ได้เข้า ไ ปช่วยเหลือเป็นรายๆ ไป และไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือจากในวังโดยตรง (เช่นการช่วยเหลือผู้ป่วย) หรือผ่านไปทางกระทรวง ที่เกี่ยวข้องคำร้องทุกข์ของชาวบ้านต่อ K ได้กลายเป็นขับเน้นให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะและความสามารถของ K ในการช่วยเหลือประชาชน ในขณะที่ความเป็นจริงก็คือ ยิ่งมีงานของ K ที่ได้สั่งมาทางเปรมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเปรมมากขึ้นเท ่านั้น และในขณะที่เดียวกัน ประชาชนก็ยิ่งมองข้ามรัฐบาล โดยยกย่องแต่ K ของเขาเท่านั้นที่เป็นผู้ช่วยเหลือเหลือชาวบ้านให้พ้นทุกข์



การเติบโตอย่างทวีคูณของโครงการหลวง ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงว่าโครงการบางส่วนอาจจะดำเนินผิดพลาดและสร้างความอับอายให้แก่ K ได้ ดังนั้นจึงมีการจัดระบบหมวดหมู่โครงการเพื่อป้องกันความผิดพลาดของราชบังลังก์ โดยโครงการที่ริ่เริ่มและติดตามผลโดยตรงโดย K และ Qถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่สูงสุด รองลงมาเป็นโครงการพระราชดำ ริ ภายใต้การดูแลของรัฐบาล,หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง, และกลุ่มประชาชน การจัดระบบแบบนี้ ส่งผลให้ราชลังก์ได้จะได้รับแต่การยกย่องชมเชยในความสำเร็จของโครงการส่วนหนึ่ง ในขณะที่ความล้มเหลว ของโครงการอื่นๆ รัฐบาล หรือผู้รับผิดชอบอื่น ก็รับไป (ตรงกับคำกล่าวที่ว่า ..K can do no wrong..นั่นคือรับแต่ชอบ แต่ไม่รับผิด)



มีสองโครงการที่เป็นตัวแทนมุมมองของ K เกี่ยวกับวัฒนธรรม, เศรษฐศาสตร์, และการพัฒนาจากแนวคิดในแบบจำลอง “วัดพัฒนาหลวง” (royal development temples” เป็นการใช้วัดเป็นศูนย์กลางของประเพณีชุมชน โดยมีพระเป็นผู้ปลูกฝังความดีงาม, ความร่วมมือ, การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, และความขยันหมั่นเพียร สิ่งเหล่านี่อาจจะเป็นหลักของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การสร้างผลผลิตเ พื่อการค้าในตลาดใหญ่โต (ระบบทุนนิยม) K เชื่อว่า ชาวบ้านน่าจะมีความสุข ถ้าเขามีพออยู่ พอกินไปปีหนึ่งๆ



(วัดที่เป็นแม่แบบได้แก่ วัดธุดงค์ คศาธานถาวรนิมิตร จ.นครนายก ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ก่อตั้งโครงการหลวงในปีพ.ศ. 2528 วัดมีพื้นที่ 566,560.4 ตารางเมตร และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยเพื่อกิจกรรมทางศาสนา ด้วยคำแนะนำจากในวังทางวัดได้เปลี่ยนพื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นอ่างเก็บน้ำและเพื่อการเกษตรกรรมเพาะปลูกพืชผักหลายชนิด เพื่อการทดลอง, การขยายพันธุ์, และเ ป็นอาหารของหมู่บ้าน โดยพระในวัดเป็นผู้จัดการในผลผลิตส่วนเกินที่เหลือจากหมู่บ้าน



โครงการต้นแบบที่สองของ K คือ วัดชุมชนใหม่ในจ.ชลบุรี พื้นที่วัดโดยแรกเริ่มเดิมทีนั้นได้บริจาคให้กับ พระญาณ สังวร (พระที่ปรึกษาทาง จิตวิญญาณของ K) ในปี พ.ศ. 2519 และตั้งชื่อตามว่า วัด ญานสังวราราม วรมหาวิหาร พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัด (จากทั้งหมด 4,046,860ตารางเมตร) มอบให้ K ใช้ทำประโยชน์ เมื่อ K ไปเยี่ยมวัดในพ.ศ. 2525 เขาตัดสินใจเปลี่ยนพื้นที่เหล่านั้น เป็นแบบ จำลองสหกรณ์ และศูนย์กลางของการปฎิบัติธรรม



สถานที่ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในพื้นที่รกร้าง กันดาร มีชาวบ้านจำนวนน้อยอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง K ได้ใช้เงินหลายสิบล้านบาทในการ พัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงดิน เพื่อให้สามารถใช้เพาะปลูกได้ผล และเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางเกษตรชุมชน ในที่สุดชุมชน, โรงพยาบาล, และโรงเรียนก็เกิดขึ้น ภายใต้การดูแลแนะนำของพระ โครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนส่วนใหญ่ จากการบริจาคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากนักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุด ของประเทศ (the kingdom’s richestbusinessmen), ข้าราชการ, และ กลุ่มนายทหาร ที่ได้รับการรบเร้าเชิญชวน (prod) จากเปรมตึกใหญ่ๆ หลายหลังถูกสร้างขึ้น และเปลี่ยนโฉมจากชุมชน เป็นอนุสรณ์สถานของราชวงศ์จักร ีและรัชกาลที่ 9 ในปัจจุบัน ตึกและอนุสาวรีย์ถูกสร้างมากขึ้นเพื่ออุทิศใหักับรัชกาลที่ 7, K, และพ่อ-แม่ของ K



เปรมไม่เพียงแต่ส่งเสริมในวังเท่านั้น เขายังปกป้องด้วย เปรมควบคุมคำวิพากวิจารณ์ผ่านการเลือกใช้ประโยชน์ ของกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ (lèse-majesté law) ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพียง K, Q, รัชทายาทที่จะครองบังลังก์ต่อไป, และผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ไม่สามารถูกละเมิดได้ภายใต้กฎหมาย อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐบาลธานินทร์และเปรม กฎหมายถูกประยุกต์ ใช้ในการปกป้อง เสถียรภาพของราชบังลังก์ ราชวงศ์จักรี, และสถานภาพกษัตริย์ของไทยทุกรัชสมัย ตัวอย่างเช่น การกระทำการใดๆ อันเป็นการ ลบหลู่รัชกาลที่สอง (ซึ่งเสด็จสวรรคตไปแล้ว) ก็เข้าข่ายข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทพระบรมเดชานุภาพ



สำหรับสื่อ เป็นที่ชัดเจนว่าเปรมห้ามไม่ให้มีการนำเรื่องราวของราชวงศ์ แม้กระทั่งเรื่องที่สมาชิก ในครอบครัวราชวงศ์เป็นผู้ กล่าวเองในที่สาธารณะ มาตีพิมพิ์ และวิพากวิจารณ์ หนังสือพิมพ์ไหนก็ตามที่ตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับในวัง ไม่ว่าจะเป็นในทางที่ดีหรือไม่ หรืออะไรก็ตามที่อาจจะสร้างความ หมายแฝงในเชิงลบต่อในวัง จะได้รับการเตือนทางโทรศัพท์จาก สำนักงานตำรวจหรือจากสำนักงาน ความมั่นคงแห่งชาติ ตัวอย่างเช่น ขณะอยู่ในสหรัฐอเมริกาในปลายปี 2524 Q ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่ออเมริกา ในการนั้น Q ได้ตำหนิ P2 แม้ในวังจะไม่มีการบ่นการรายงานข่าวของสื่ออเมริกัน แต่เมื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (ในไทย) รายงาน ความคิดเห็นของ Q กลับถูกตำหนิอย่างรุนแรง พร้อมกับคำขู่จะปิดหนังสือพิมพ์นั้นๆ สำหรับใครก็ตามที่ถูกจับฐานตีพิมพ์เรื่องราวที่สำคัญต่อ ราชบัลลังก์ จะถูกลงโทษอย่างหนัก ผู้คนเบื้องหลังที่รู้เรื่องราวและวิพากวิจารณ์ การกระทำหลายๆ อย่าง ของ Q ปีพ.ศ. 2524 ได ้ถูกตามล่าตัวและถูกจับขังคุกคนละ 8 ปี



ความพยายาม (ปกป้องในวัง)ของเปรมไม่ได้หยุดลงแค่ชายแดนไทย ไม่นานนักหลังจากที่เปรมขึ้นมาเป็นนายก รัฐบาลของเขา ได้ห้ามการนำเสนอ ภาพปกหน้าของ นิวส์วีค ที่ลงภาพเปรมในตำแหน่งที่สูงกว่า K ในปีพ.ศ. 2525 เอเซียน วอลสตรีท เจอนัล ก็ถูกห้ามเกี่ยวกับบทความคิดเห็นหัวข้อ ระบบกษัตริย์ของไทยสามารถอยู่รอดในศตวรรษ์นี้หรือไม่? (Can Thailand’sMonarchy Survive This Century?) เขียนโดยอดีตเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติในประเทศไทย โดยแสดงความคิดเห็นว่า แท้จริงแล้ว ราชบังลังก์ไม่ได้เป็นที่นิยมอย่างที่เห็นกันๆ และการแทรกแซงทางการเม ืองของราชบังลังก์เป็นการก่อภัยใหักับตัวเอง (…the throne wasn’t aspopular as it appeared, and that its political interventions were self-endangering).



ถึงแม้เปรมจะรณรงค์ส่งเสริม(ราชบัลลังก์)อย่างเต็มที่ ทั้ง K และ Q ก็ไม่เคยละทิ้งกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นหน้าที่ของราชวงศ์ ในศษวรรษ 1980 K ไปชนบท 4-6 เดือนต่อปี โดยถ้าไม่ไปกับQ ก็ไปกับ P3 ที่เปรียบเสมือนเลขาประจำตัว Q ทำโครงการที่สนับสนุนโดยรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงพัฒนางานฝีมือเพื่อหารายได้เพิ่มให้แก่ครอบครัว



ที่ผ่านมา K และครอบครัวไม่เคยผิดพลาดในการทำงานพิธีเก่าแก่ทางศาสนา จากมหาวิทยาลัยจำนวน 20 แห่งในประเทศ (ในขณะนี้-2005) ราชวงศ์จะไปมอบปริญญาให้กับผู้จบการศึกษาทุกปี ปัจจุบัน K มีปัญหาเรื่องแขนและไหล่ แต่ก็ยังไป จนกระทั่งเพื่อนเก่าแก่ที่เป็นหมอ (ประเวส วะสี) ได้กล่าวถึงเรื่องอาการไม่ดีของ K ในเรื่องนี้ให้สาธารณะชนรู้ K จึงวางมือปล่อยให้ลูกๆ ทำไป สัญลักษณ์ทางประเพณีก็เป็นอีกเรื่องที่ (K) ไม่ลืม ในเดือนมกราคม 2527 Kได้ไปเปิดศาลก่อตั้งใหม่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยขึ้นนั่งที่บังลังก์เพื่อเตือนประชาชนว่าเขาคือต้นแบบ ของความยุติธรรม



หนึ่งในผู้ช่วย K คือ วสิษฐ เดชกุญชร ได้ยกย่องสรรเสริญการบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณชนของK โดยเล่าให้ผู้เข้าเฝ้า ในปีพ.ศ. 2525 ฟังว่า ทุกคืน K และ Q จะหอบเอกสารมากมายเข้าไปทำต่อในห้องนอน และบ่อยครั้งที่ใช้เวลาทั้งคืนเพื่ออ ่าน(เอกสารเหล่านั้น) และตัดสินใจ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลว่าทำไม K และ Q ตื่นเอาตอนบ่ายของแต่ละวัน ทันทีที่ตื่น เวลาของ K และ Q จะหมดไปกับงานพิธีต่างๆ ในตารางที่อัดแน่น และยังออกกำลังกายด้วย Q ทำกายบริหาร ส่วน K(เมื่ออายุ 55 ปี) วิ่งจอกกิ้ง 5วัน/อา ทิตย์ โดยวิ่งวันละ 2 กิโลเมตร ใช้เวลา 12 นาที วันศุกร์และวันอาทิตย์ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย K จะเล่นดนตรีแจ๊ส วสิษฐ กล่าวว่า ดนตรีคือสันทนาการอย่างเดียวของ K ที่เล่นด้วยความชื่นชอบ ฉันฟังเหมือนต้องมนต์สะกด และก็ช็อกในเวลาต่อมาเพื่อพบว่า K เล่นแจ๊สโดยไม่หยุดพักจากเวลา 3 ทุ่มจนถึงรุ่งเช้าถึงหยุด K ไม่เคยลุกจากที่นั่งมันทำให้ฉันเริ่มเข้าใจ ดนตรีก็เหมือนทุกอย่างที่ K ทำ คือ เขาจะทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ อันแน่วแน่ ความจดจ่อ(อยู่กับสิ่งที่ทำ) ส่งผลในระยะยาว สร้างความเชี่ยวชาญ และสร้างภูมิคุ้มกันK จากอารมณ์และความคิดเห็นที่u3629 อาจรบกวนความสงบและการตัดสินใจที่ถูกต้อง



สิ่งที่โด่ดเด่นสุดเกี่ยวกับการส่งเสริม (ภาพลักษณ์ของ K) ก็คือการตีความหมายเช ิงประเพณีของระบบกษัตริย์ ขณะที่ส่วนใหญ่ละเลยบท สรุปของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่พยายามจะค้นหาว่าอะไรเป็นเหตุเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ กับระบบประชาธิปไตยแบบเจ้า และนำไปสู่เหตุการณ์6 ตุลาคม 2519 จากการบอกเล่าของ ไมเคิล คอนเนอร์ กลุ่มนักวิชาการชั้นสูงและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ในปลายทศวรรตที่ 1970 ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทย แตกแยกอย่างรุนแรงในครั้งนั้น กลุ่มนี้สรุปว่า โ ครงสร้างของ “ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์” และ “ประชาธิปไทยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ล้มเหลวที่จะสร้างความเป็นเอกภาพให้กับชาติเพราะว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะชาวไร่-ชาวนา ถ้าหยิบยกวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นทางการออกไป (ความต้องการของ) ประชาชนดูจะสอดคล้อง กับนโยบายและหลักการ ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทสไทยมากกว่า นักวิชาการสรุป ในตอนหนึ่งว่า รัฐบาลต้องขยายความรู้สึกการ มีส่วนร่วมในชาติของประชาชน โดยการขยายขอบเขตของ การเมืองสาธารณะและการ วิพากวิจารณ์ทางสังคม ประชาชนที่ยากจน (ชาวไร่-ชาวนา) ต้องถูกทำให้ตระหนักว่า พวกเขาคือปัจจัยสำคัญ ในการสร้างความเป็นชาติ



แต่ในสองมือของเปรมและผู้นำรุ่นต่อมาของที่ปรึกษาในวัง กลับใช้การรณรงค์ส่งเสริมราชวงศ์ในทางปฎิบัติ ในเรื่องเฉพาะกิจบางเรื่องๆ อาทิเช่น นโยบายทางเศรษฐกิจและการบริหารงานบางอย่างมีการเปิดเผยให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์ แต่ก็ยังจำกัดอยู่ในแวดวงของ ผู้มีการศึกษาเท่านั้น และยังเป็นอยู่ภายใต้ปัจจัยที่เข้มงวดตามสูตร ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ (ที่มิอาจละเมิดได้) และเ น ื่องจาก K ให้ความชอบธรรมทางกฎหมายแก่เปรม การวิพากษ์วิจารณ์ภาวะการเป็นผู้นำของเปรมจึงมิอาจกระทำได้เต็มที่



ข้อสรุปของกลุ่มความมั่นคงเกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งความเป็นชาต ิและบรรดาหลักเกณฑ์ต่างๆถูกแจกจ่ายไป ตามสำนักงานเสริมสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนอย่างดีอย่างไรก็ตาม ทั้งๆ ที่ใช้วิธีแบบก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหา สิ่งที่คณะกรรมการดำเนินการ ส่งเสริมกลับยึดติด กับหลักเกณฑ์เก่าๆ ในทางปฏิบัติ วัฒนธรรมแห่งความเป็นชาติยังคง เป็นแค่บางสิ่งที่มาจากผู้นำและถ่ายทอดผ่านทางสื่อ ไปยังประชาชน มันยังคงเน้นเป้าหมายที่ การอนุรักษ์สถาบันชาติ ตามภายใต้คำจำกัดความ “ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์” สำนักงานเสริมสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ ตีพิมพ์หนังสือออกมา เช่น ราชวงศ์จักรี และประชาชนชาวไทย ในปี พ.ศ. 2527 โดยมุ่งเน้นการ นำเสนอ ภาพลักษณ์ของ K เป็น กษัตริย์ชาวนาและ กษัตริย์นักพัฒนาเพื่อเชื่อมโยง K กับพ่อขุนรามคำแหงและผู้นำเศรษฐกิจรุ่นใหม่ คณะกรรมการได้สนับสนุน การจัดการประชุม ทางวิชาการ เช่น การจัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญร่วมสมัยของไตรภูมิพระร่วง นักประวัติศาสตร์ ท่านหนึ่งได้เขียนไว้ว่า กลุ่มผู้นักอนุรักษ์ที่เข้าร่วมงานประชุมวิชาการอย่าง เป็นทางการเหล่านี้ ย้ำเน้นถึงการ นำเอาคำสั่งสอนจรรยาในตำรานี้มาใช้กับชีวิตร่วมสมัย รัฐบาล และความมั่นคงแห่งชาติ



ในสิ่งเหล่านี้ ประชาชนยังคงไม่ได้รับการเหลียวแล และไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมอย่างเป็นทางการในการ ก่อร่างสร้างวัฒนธรรมดังกล่าว การเกี่ยวข้องของประชาชนกับรัฐส่วนใหญ่ผ่านทางการทำงานของพวกเขา ในการสร้างสังคม ส่วนประชาธิปไตยยังถูก จำกัดความและถูกกักให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของความมั่นคงแห่งชาติ เท่าที่ตีความโดยกลุ่มคนจากที่ใช้ความมั่นคงแห่งชาติเป็นเครื่องมือ โดยคนกลุ่มนี้มีอยู่ทั่วไปใน ช่วงศตวรรษที่ 1980 ที่คอมมิวนิสต์ในเว ิยดนามและจีนยังคงเป็นภัยคุกคามประเทศไทย พวกเขา (คณะทำงานเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ) ยังคงให้ความสำคัญเพียงเล็กน้อยต่อระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เช่น รัฐธรรมนูญ, รัฐสภา, และการออกกฎหมายที่รับของชาติตะวันตกเข้ามา ในทางตรงกันข้าม สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ได้ตอกย้ำให ้พ่อขุนรามคำแหงเปรียบเสมือน สถาบันที่เป็นสัญญาแห่งประชาธิปไตยระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชน “ประชาชนไม่ใช่รัฐบาล หนึ่งในคณะกรรมการจากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ อธิบายว่า “การนำความคิดเห็นของประชาชน มาเป็นเครื่องมือใช้ในการจัดทำนโยบาย จึงเป็นเสมือนการให้ประชาชน เป็นรัฐบาล ซึ่งมีแนวโนมนำไปสู่วิกฤติการทางการเมือง”.



ในทางคู่ขนาน การดำเนินความสัมพันธ์ต่างประเทศของนายทหารคนสนิทและเลขาคณะองค์มนตรี ของ K (ทองน้อย ทองใหญ่) เริ่มขึ้นในตอนต้นทศวรรษ ที่ 1980 ทองน้อยจัดทำปาฐกถา อันยาวเหยียดเพื่อแสดงอำนาจของ K บนพื้นฐานผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ และอารมณ์ในหน้าบทความที่เป็นส่วนพูดคุยในหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ปีพ.ศ. 2526โดยใช้นามปากกาว่า “Concensus”



ทองน้อย อธิบายคำว่า Concensus ว่าหมายถึงความเห็นชอบจากปัญชาชนว่าเป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาแห่งชาติเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ประเทศเดียวในโลกที่ดำรงไ ว้ซึ่งศาสนาพุทธที่ยังไม่ตาย (ได้รับความนิยมสูงสุด) ในทางพุทธศาสนา Concensus จึงหมายถึงคุณงามความดีทางจิตวิญญาณ



ทองน้อยกล่าวว่า ในทางประวัติศาสตร์ กษัตริย์ไทยถูกควบคุมโดยConcensus ผู้คนรวมเป็นหนึ่งเดียวเบื้องหลังผู้ออกกฎ ผู้ซึ่งปกป้องพวกเขาจากการคุกคาม (เช่นการปกครองแบบตะวันตก) และเป็นตัวแทนผลประโยชน์ทั่วไปของพวกเขา ทองน้อย เขียนเกี่ยวกับในประเทศไทยสมัยใหม่ไว้ว่า “โดยธรรมชาติของนักการเมืองแล้ว เลวทราม และบ้าอำนาจเกินไปที่จะปกป้อง ผลประโยชน์สาธารณะ สื่อมวลชนก็เชื่อถือไม่ได้ เป็นได้เพียงอีกสาขาหนึ่งของความบันเทิงเท่านั้น มีเพียง K เท่านั้นที่มีความ รู้ทางประวัติศาสตร์ และประสบการณ์, สัพพัญญู,และเป็นผู้ไม่เห็นแก่ตัว ที่รวมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติทองน้อยกล่าวว่า ประชาชนชาวไทยเข้าใจเรื่องเหล่านี้ เมื่อ K ป่วย ทุกคนตกอย ่ในความแตกตื่น ต่างจากเมื่อรัฐบาลล้ม ไม่มีใครสนใจ เพราะว่ารัฐบาลเป็นแค่ความบันเทิง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นระบบการคิดของ K เองเป็นอย่างดี ในการให้สัมภาษณ์ในปีพ.ศ. 2525 K เปิดเผยความเชื่อที่ว่าเขาอาจเป็นผู้ที่มีความพร้อมดีกว่าในการเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรี ”นี่เป็นระบบที่บางครั้งต้อง อาศัยประสบการณ์ของกษัตริย์อันสามารถเป็นประโยชน์......ประธานาธิบดีของรัฐสภาจะมาและมีการปรึกษาหารือ แต่ K อาจจะเป็นผู้ที่มีอำนาจมากกว่า เพราะประชาชนเชื่อมั่นในตัว K(Handley, 2006; c.f. Leader, April–June 1982)



ภายใต้นามปากกา Concensus ทองน้อยสร้างปรัชญาว่าด้วยความจริงในธรรมชาติแบบก้าวกระโดดขึ้นมา เขาประกาศว่า รัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะความเป็นหนึ่งเดียวในตัว Kคือส ่งที่เทียบเท่ากับประชาธิปไตย ทองน้อยกล่าวว่า ประชาธิu3611 ปไตยที่ขึ้นชื่อ ในเกรทบริเทน(เกาะอังกฤษ) ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญที่แท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น เขาเถียงว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญไทย ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง, อำนาจของชนชั้นสูงตลอดจนพวกทหาร เมื่อกล่าวถึงอดีตนายกรัฐมนตรีสองคนที่อยู่ในคณะองค์มนตรี และมีภาพลักษณ์ที่ต่างออกไป อันได้แก่ สัญญา ธรรมศักดิ์ และธานินทร์ กรัยวิเชียร ทองน้อยให้คำจำความประชาธิปไตย (ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีสองคนนี้)ว่า เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการทำให ้สิทธิ์ในความเป็นคนของประชากรควรจะได้รับการค ้มครองอย่าง สมบูรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้แต่มีเพียง K เท่านั้นที่สามารถทำเรื่องแบบนี้ได้ หากทองน้อยยังคงยอมรับว่า แนวคิดของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าคนไทยทุกคนต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในกรณีนี้ ส ่งที่ควรบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญมีเพียง 3 ประเด็นเท่านั้น คือ



1. ประเทศไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้



2. ประเทศไทยคือการปกครองระบอบราชาธิปไตย ด้วยสถาบันกษัตริย์จากราชวงศ์จักรี



3. ประเทศไทยน่าจะมีความเป็นประชาธิปไตยที่ผ่านมาเท่าที่จะเป็นไปได้ทองน้อยมีความขัดแย้งกับ K ในการใช้อำนาจผ่านทหารในการเมือง (ของ K)



ทองน้อยต่อต้านทหาร โดยมองว่าเป็นพวกแสวงหาอำนาจและพยายามผูกขาดรัฐบาล ทำให้ประเทศชาติยากจนลง ขาดการพัฒนา และการทุจริต แต่กระนั้น ทองน้อยก็กล่าวว่าความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ทางวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานสำหรับอำนาจทางทหาร นั่นคือ คนไทยให้คุณค่าทหาร ประชาชนต้องการให้ทหารรักษาเสถียรภาพ(ของชาติ) ทองน้อยยกตัวอย่างว่า ดังจะเห็นได้จากรัฐประหาร ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เขาอ้างถึงคำกล่าวของ K ว่า ประชาชนต้องมองที่ความตั้งใจ ของทหารที่เขาเรียกว่าเป็นประชาธิปไตย นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ประชาชนและทหารได้ก้าวไปพร้อมๆ กันและในทิศทางเดียวกัน



อย่างไรก็ตาม ความพยายามเพื่อส่งเสริมราชบังลังก์ในยุคของเปรมล้มเหลว ที่จะปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของ คนที่กล้าตั้งคำถามส่วนหนึ่ง เกี่ยวกับทิศทาง ของผู้ที่กำลังใช้อำนาจที่มีอยู่นักการเมืองที่ความ ใฝ่ฝันของเขาถูกสะกัดกั้น จากกลุ่มพันธมิตรระหว่าง ในวังและเปรม นักวิชาการหัวก้าวหน้า และ อดีตนักกิจกรรu3617 มนักศึกษา ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ตั้งคำถามเหล่านี้ด้วย คนส่วนมากในกลุ่มเหล่า นี้ทำงานในสื่อสิ่งพิมพ์ในทศวรรษที่ 1980 ที่รัฐบาลและทหารไม่ได้ควบคุม (โดยตรง)ต่างกับทีวีและวิทยุ มีอุตสาหกรรมนิตยสารขนาดเล็กๆ เกิดขึ้น และวิเคราะห์อำนาจและการเมืองแบบเงินตราของรัฐบาลเปรม แทนที่จะกล่าวถึงความ สัมพันธ์ระหว่างเปรมและ K โดยตรง



นิตยสารจำนวนมาก และปัญญาชนไทยแนะนำเกี่ยวกับราชบัลลังก์และประชาธิปไตยและเป็นคอลัมน์ที่ต้องห้ามใน เอเชี่ยน วอลท์สตรีท เจอนัล ในตอนปลายปี 2524 ผู้เขียน (Michael Schmicker) ตั้งคำถามอย่างรวนๆ ว่า ระบอบกษัตริย์จะอยู่รอดในอีก 20 ปีข้างหน้าหรือไม่ ท่ามกลางการเผชิญหน้าท้าทายจากหลายฝ่าย ไมเคิล เขียนว่า นอกจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แล้ว สิ่งที่น่าวิตกเป็นอันดับสองก็คือกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาและอาจารย์ในระบอบมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเอง คนกลุ่มนี้ถูกบังคับอย่างงี่เง่าให้เลือกระหว่างจิตสำนึกของพวกเขาและK โดยที่พวกเจ้าที่ได้รับคำแนะนำแบบผิดๆ (จากที่ปรึกษา หรือคณะองค์มนตรี-ผู้แปล) ไม่สามารถจะแยกแยะได้ระหว่างเสียง ร้องอันบริสุทธิ์ที่ขอการเปลี่ยน แปลงทางสังคมและจากกลุ่ม ที่ต้องการทำลายราชบังลังก์ ซึ่งครอบครัวราชวงศ์แสดงอย่างชัดเจนถึงการที่จะรักษาไว้ซึ่งสถานภาพ (กษัตริย์)ของพวกเขา



ไมเคิลได้ชี้ถึงอันตรายอันดับที่สาม นั่นก็คือ ความแตกแยกของกองทัพ ดังที่เกิดให้ในเหตุการณ์รัฐประหารโกหกเดือนเมษายน (April Fools’ coup) ที่ให้ผลลัพธ์ที่เลวร้ายต่อทุกฝ่าย “การทำรัฐประหารครั้งนั้นล้มเหลวไปพร้อมๆ กับเครดิตของสถาบันกษัตริย์ที่วางตัวไม่เป็น กลางระหว่างกลุ่มทหารแย่งชิงอำนาจกันภายสามเหล่าทัพ ครอบครัวราชวงศ์จึงอยู่ในภาวะอันตรายจาก อีกฝ่ายหนึ่งและต้อง ยอมรับความเสี่ยงนั้น จากการเลือกอีกยืนข้างอีกฝ่ายหนึ่ง สิ่งที่ท้าท้ายภาวะการอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์อย่างสุดท้ายคือความไม่เป็นที่นิยม (ของประชาชน) ในตัวรัชทายาท(P2) หลังจาก 9 ปีในการเตรียมการต่างๆ เพื่อให้ P2 ขึ้นสืบต่อบังลังก์ P2 ยังประสบความยากลำบากที่จะ กระทำตนให้อยู่ในมาตรฐานท ี่สังคม คาดหวังในฐานะกษัตริย์องค์ต่อไป P2 ไม่ฉลาด,ขาดความเมตตา และไม่รู้วิธีการทำตัวให้เป็นที ่รักของประชาชน เท่าที่ปรากฎ P2 มีความสุขจากการได้รับการสนับสนุนภายในแวดวงทหารเท่านั้น ภาพพจน์ของ P2 เหมือนกับ ดอน จวน ที่ทำลายเชื่อเสียงตัวเองและก่อให้เกิดการวิพากวิจารณ์(จากสาธารณะ) เพื่อความสนุกสนานเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์



อย่างที่คาดหมาย รัฐบาลขัดเคืองใจต่อการเสนอบทความของไมเคิลและกล่าวหาว่าสื่อต่างประเทศมีมุมมองที่บิดเบือน แต่กระนั้น ส.ศิวลักษณ์ ได้เขียนบทความในนิตยสาร “ลอกคราบสังคมไทย”ในปีพ.ศ. 2525 ว่า สถาบันกษัตริย์กำลังเดินผิดทาง และ K มี ความเข้าใจอย่างผิดๆต่อ (สภาวะของ) ประเทศไทย รัฐบาลของเปรมละเลยเสียงวิจารณ์นั้น จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2527ส.ศิวลักษณ์ ถึงได้ถูกจับในข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กลุ่มนักสิทธิ มนุษยชนภายในและระหว่างประเทศ ได้ขอให้มีการนิรโทษกรรม ส.ศิวลักษณ์ ตลอดจน กลุ่มนักวิชาการ ทั้งไทยและ ต่างประเทศได้ทำการประนาม การจับกุมส. ศิวลักษณ์อย่างรุนแรง ขณะที่ K ถูกลากเข้าไปในการต่อสู้สาธารณะ ในวังได้เข้ายุติเรื่องราวอย่างเงียบๆ ด้วยการปล่อยตัวส. ศิวลักษณ์ (Note, p.467: อย่างไรก็ตาม ในวังไม่ได้เสียใจในการกระทำดังกล่าว หลายสัปดาห์ต่อมา ในวังไปเที่ยวออสเตรเลียและมีประชุมลับๆ กับนักวิชาการที่นั่น ในครั้งนั้น ในวังยืนยันว่าส.ศิวลักษณ์ และคนจำนวนหนึ่งต้องถูกจับเพราะว่าคนพวกนี้ตั้งตัวเป็นภัยต่อสังคม)



การท้าทายอีกเรื่องหนึ่งก็คือการหมุมเว ียนบทวิจารณ์นโยบายการเข้าแทรกแซงของ Kท่ามกลางนักวิชาการในปีพ.ศ. 2526 ในรูปแบบ ของตำรา ความหนา 69 หน้า เขียนเป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับประเพณีทางการเมืองราชวงศ์จักรี เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง ว่าตำราดังกล่าวเป็น ผลงานของม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัฒน์ หลานชายของรัชกาลที่ 7 และในทางปฎิบัติ เขาเป็นจัดอยู่ในกลุ่มรัชทายาท ขึ้นสืบต่อราชบังลังก์ ในหน้าสุดท้ายของตำรา ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวอย่าง ตรงไปตรงมาถึงอันตรายของการสนับสนุนทางการเมืองอย่างเปิดเผยของรัชการที่ 9 โดยอ้างถึงการต่อสู้ระหว่างในวัง ราชการแบบ อนุรักษ์นิยม และการขัดขวางการปฎิรูปสถาบัน อันนำไปการยกเลิกระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี พ.ศ. 2475 ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวเตือนว่า ระบบกษัตริย์ครั้งหนึ่งเคยเป็นความหวังของหลายๆคนในวันที่ทหารเรืองอำนาจ ปัจจุบันอยู่ในอันตราย รับรู้ได้ถึงความแตกแยก, ล้าหลัง, และขวาจัดความขัดแย้งอยู่ในจุดที่ว่าการแสดงอำนาจเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร้ระเบียบในวัง อาจจะต้องมี ส่วนร่วมในการ เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยตัวเองในท้ายสุด ....สถาบันกษัตริย์กำลังพยายามที่จะทำ ตัวเป็นทั้งสัญลักษณ์ ของความเป็นเอกภาพ ในชาติและผู้ แสดงหาอำนาจ ....เหลือไว้เพียงอดีตของ ปฎิบัตินิยมและการผ่อนปรนที่เป็นเครื่องหมายของราชวงศ์ จักรี



เนื่องจากความเรียงข้างต้นไม่มีการลงชื่อ(ผู้เขียน) และแจกจ่ายส่วนใหญ่ในหมู่ปัญญาชน,นักหนังสือพิมพ์, และนักการทูต และไม่ม ีการรายงานต่อ สาธารณะ ทำให้ในวังสามารถนิ่งเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่สิ่งที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์เตือนนั้น พิสูจน์ให้เห็นว่า คำทำนายของเขาเป็นความจริงในอนาคตอันใกล้

บทที่1: ธรรมราชาจากอเมริกา (A Dhammaraja from America)

"เหตุการณ์ที่ทำให้กษัตริย์ซาร์แห่งรัสเซียต้องสละราชบัลลังก์ก็เป็นเพราะตัวท่านเอง ท่านปฏิเสธไม่ยอมรับฟังหรือปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มหัวก้าวหน้าตามเวลาอันควร ซึ่งเป็นพวกที่มีปากเสียงโวยวายมากขึ้นทุกวัน ไม่มีใครต่อต้านพวกหัวก้าวหน้าได้ และก็น่าที่จะถามกันอีกว่า ทำไมถึงไม่ฟังเสียงของพวกจารีตนิยมด้วยเช่นกัน เพราะในเมื่อมันมีอยู่แล้ว คำตอบก็คือพวกจารีตนิยมนั้น ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ สาเหตุเพราะจารีตนิยมมีความเชื่อมั่นในสถาบันกษัตริย์ ส่วนพวกหัวก้าวหน้านั้นมีความสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ ดังนั้นจึงควรฟังเสียงของพวกหัวก้าวหน้ามากกว่าพวกจารีตนิยม ความคิดเห็นขัดแย้งกันของทั้งสองฝ่ายเป็นเรื่องธรรมดา แต่พวกจารีตนิยมเป็นพวกที่ติดยึดไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และการเหนี่ยวรั้งเป็นสิ่งที่คงอยู่ได้เพียงชั่วคราว ในท้ายที่สุดพวกหัวก้าวหน้าจะเป็นผู้กำหนดการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ "

จดหมายเหตุของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ถึงรัชกาลที่6 ในเดือน เมษายน พ.. 2460

ภูมิพลเกิดในวันที่ 5 เดือนธันวาคม พ.. 2470 วันที่อากาศหนาวเยือกเย็นจัดในเมือง Brookline ชานเมืองที่รุ่งเรื่องของเมือง Boston รัฐ Massachusetts แผ่นดินที่มีบรรยากาศห่างไกลจากราชบัลลังก์ทองในเมืองบางกอก ประเทศสยาม อันมีอากาศที่ร้อนอบอ้าว ซึ่งในขณะนั้นมีลุงเป็นกษัตริย์ชื่อว่า ประชาธิปก ผู้กำลังต่อสู้กระเสือกกระสนดิ้นรนต้านกับคลื่นการเมืองหัวสมัยใหม่ เพื่อรักษาไว้ในระบบราชาธิปไตยในแบบสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy)

ประชาธิปก หรืออีกนัยหนึ่งคือกษัตริย์ราชวงศ์จักรี มีตำแหน่งเป็นรัชกาลที่ 7 เพิ่งได้เข้ามาเสวยราชบัลลังก์หลังจากที่กษัตริย์วัชิราวุธได้สร้างความล้มเหลวมานานถึงสิบห้าปี เงินกำปั่นคงคลังของรัฐบาลหมดเกลี้ยงไม่เหลือหลอ สร้างความขุ่นเคืองไม่พอใจต่อบรรดาราชวงศ์ที่มีอำนาจเอกสิทธิ์ผูกขาด แผ่ซ่านไปถึงบรรดาชนชั้นกลาง ประชาธิปกหวั่นวิตกกลัวการปฏิวัติที่ล้มล้างตัดทอนอำนาจของสถาบันกษัตริย์ อย่างที่เกิดขึ้นในยุโรป รัสเซีย และ ประเทศจีน

ในความนึกคิดส่วนหนึ่งของ ประชาธิปก พะวงถึงทารกที่เกิดขึ้นใหม่ในเมืองบอสตันที่อยู่ห่างไกล มีเพียงกษัตริย์และพราหมณ์ที่ปรึกษาเท่านั้น ที่จะเลือกชื่อให้กับบุตรหรือโอรสที่มีสายเลือดของกษัตริย์ได้ หลังจากหนึ่งสัปดาห์ผ่านไป จึงมีการประกาศทางโทรเลขว่า โอรสที่เกิดใหม่นั้นมีชื่อว่า ภูมิพล อดุลยเดช หรือมีความหมายว่า กำลังที่แข็งแกร่งของแผ่นดิน และด้วยอำนาจที่เปรียบไม่ได้ ภูมิพล จึงได้คงความเป็นกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา

บิดาของภูมิพลคือเจ้าฟ้ามหิดล อันเป็นน้องต่างมารดากับกษัตริย์ประชาธิปก เจ้าฟ้ามหิดลเกิดในปี พ.ศ. 2435 เป็นบุตรคนที่ 69 ของกษัตริย์จุฬาลงกรณ์หรือ รัชกาลที่5 กับภรรยาคนที่สองในสามคนคือ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา จึงเป็นสายเลือดแท้ของราชวงศ์ที่มีสิทธิในการสืบสันตติวงศ์ แต่ในขณะนั้นอยู่แค่ในตำแหน่งที่หกของผู้มีสิทธิทั้งหมด ซึ่งทำให้ดูเหมือนกับตำแหน่งปลายแถว พออายุได้ 12 ปี เจ้าฟ้ามหิดลถูกส่งไปเข้าโรงเรียนแฮร์โรว์(Harrow) ในประเทศอังกฤษ และสองปีต่อมาก็ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนทหารที่ประเทศเยอรมันนี ในปี 2457 หรือ สี่ปีหลังจากที่กษัตริย์จุฬาลงกรณ์ได้ถึงแก่กรรม โดยครองราชย์มาได้ทั้งหมด 42 ปี เจ้าฟ้ามหิดลได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อรับตำแหน่งที่สำคัญในกองทัพเรือของประเทศสยาม

ในปี พ.ศ.2460 ท่านตัดสินใจทำการศึกษาต่อทางด้านแพทย์ที่มหาวิทยาลัย Harvard University และที่นั้นท่านได้ตกหลุมรักกับ สังวาล นักเรียนพยาบาล อันเป็นคนธรรมดาสามัญลูกครึ่งจีน สังวาลเกิดจากครอบครัวที่ยากจนในปี พ.ศ.2443 ข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับราชวัง ต่อมาต้องกลายเป็นเด็กกำพร้า พออายุได้เจ็ดขวบก็ถูกส่งเข้าไปเฝ้าอยู่ในวัง มารดาเจ้าฟ้ามหิดลและน้องสาว ต่างเห็นแววความฉลาดของเด็ก จึงช่วยอุปถัมภ์ส่งเรียนต่อที่ Boston’s Simmons College เมื่อเจ้าฟ้ามหิดลและสังวาลพบกัน จึงเป็นสิ่งทีหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับบุพเพสันนิวาส แต่การแต่งงานของคนสามัญชนกับเจ้าฟ้าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะในวังไม่สนับสนุนการแต่งงานอย่างเปิดเผยกับสามัญชน แต่สังวาลเป็นที่โปรดปรานของเจ้าจอมมารดา และเจ้าฟ้ามหิดลมีตำแหน่งเพียงปลายแถวในการสืบสันตติวงศ์ ดังนั้นจึงได้รับอนุมัติให้แต่งงานกันได้ หลังจากนั้นก็ได้ตำแหน่งเรียกว่าหม่อมสังวาล หลังจากที่แต่งงานกันในปี พ.ศ.2472 ทั้งคู่เดินทางกันอย่างกว้างขว้างในอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย เพื่อการศึกษา ความพึงพอใจส่วนตัว และบางครั้งก็เป็นราชภารกิจ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2466 ก็ได้ให้กำเนิดบุตรสาวคนแรกเกิดที่ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า กัลยาณิวัฒนา

เหมือนเช่นกับพี่ๆน้องๆทุกๆคน เจ้าฟ้ามหิดลมักมีอาการป่วยเรื้อรังอยู่บ่อยๆ บางคนก็พูดถึงว่า อันเป็นสาเหตุมาจากการแต่งงานกับพี่น้องในสายเลือดเดียวกัน ดังเช่น กษัตริย์จุฬาลงกรณ์ที่มีภรรยาที่เป็นทางการทั้งหมดนั้น ก็เป็นนองสาวต่างมารดาในราชวงศ์ของตนเองทั้งสิ้น ทำให้มีทารกที่เกิดใหม่เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากเพราะสาเหตุเหล่านี้ ในปี พ.ศ. 2468 เจ้าฟ้ามหิดลได้ย้ายไปอยู่ที่เมือง Heidelberg, Germany เพื่อรับการรักษาสุขภาพ และในวันที่ 20 กันยายน อันตรงกับวันเกิดของกษัตริย์จุฬาลงกรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นวันศุภมงคล สังวาลก็คลอดบุตรชายคนแรกมีชื่อว่า อานันท มหิดล

สองเดือนต่อมา เหตุการณ์ลามปลายใหญ่โตมากขึ้น เมื่อกษัตริย์วัชิราวุธเสียชีวิตโดยไม่มีบุตรชายในการสืบสันติวงศ์ เพราะห้าปีที่ผ่านมา ลูกพี่ลูกน้องในราชวงศ์ของเจ้าฟ้ามหิดลได้ถึงแก่กรรมกันไป เพียงอายุสามสิบกว่าปีเท่านั้น อีกทั้งกษัตริย์คนใหม่ต่อมาคือประชาธิปกเองก็ไม่มีบุตรไว้สืบสันตติวงศ์ ทำให้เจ้าฟ้ามหิดลเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาอย่างฉับพลัน

ตำแหน่งกษัตริย์ดูเหมือนจะไม่มีความหมายนักสำหรับเจ้าฟ้ามหิดล เพราะท่านใช้เวลามากกว่าครึ่งหนึ่งของสามสิบสามปีอยู่นอกประเทศสยาม ห่างไกลกับกิจวัตรและประเพณีภายในวัง จนมีคนกล่าวกันว่า ในทางส่วนตัวแล้วเจ้าฟ้ามหิดล อาจจะไม่เหมาะสมกับระบบกษัติรย์ตามอย่างวัฒนธรรมไทยนัก ท่านมีแนวความคิดนิยมโน้มเอียงไปในรูปแบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา และเชื่อกันว่าท่านอาจจะสละสิทธิให้กับลูกพี่ลูกน้องที่มีตำแหน่งถัดต่อไปคือ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ผู้ซึ่งมีอำนาจอยู่ในมือและเป็นคนมีระเบียบวินัย เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์เป็นบุตรของกษัตริย์จุฬาลงกรณ์ อันเกิดจากภรรยาคนที่สามชื่อ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี หลังจากการทำพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ประชาธิปกในปี พ.ศ. 2469 เจ้าฟ้ามหิดลเดินทางกลับไปศึกษาวิชาแพทย์ต่อที่มหาวิทยาลัย Harvard เพื่อที่จะได้รับประกาศการศึกษาขั้นสูง ท่านหวังที่จะนำเอาวิชาแพทย์สมัยใหม่มาใช้ในประเทศสยาม

เจ้าฟ้ามหิดลและสังวาลชื่นชมสหรัฐอเมริกายิ่งนัก มีบ้านส่วนตัวหลังใหญ่ในเมือง Brookline และรถยนต์ใช้ส่วนตัวแบบLimousine มีคนใช้บริการงานบ้านและดูแลลูกๆ สังวาลศึกษาการเลี้ยงเด็กแบบสมัยใหม่และจัดการงานในบ้าน ครอบครัวชอบขับรถชมวิวชนบทในเขต New England และได้รับการต้อนรับอย่างดีที่เกาะ Martha's Vineyard โดย นาย Francis Sayre ตำแหน่งผู้ที่ปรึกษาสำนักราชวัง และเป็นบุตรเขยของประธานาธิปดี Woodrow Wilson

ภูมิพลเป็นบุตรคนที่สามหรือบุตรคนสุดท้าย แม้นสังวาลจะเป็นคนสามัญแต่บุตรชายทั้งสองได้รับการแต่งตั้งเป็นถึงขั้นเจ้าฟ้า ในปลายปี พ.ศ. 2470 กษัตริย์ประชาธิปกได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ในอนาคตบรรดาบุตรในราชวงศ์ที่มียศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า ไม่ว่าจะมาจากมารดาที่มีฐานะหรือตำแหน่งะอะไรก็ตาม ต่างก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระองค์เจ้า ย่อมมีโอกาสเปลี่ยนตำแหน่งเลื่อนให้เป็นผู้สืบสันตติวงศ์ขึ้นมาได้ ซึ่งอาจจะเป็นการนอกรีต แต่ก็เป็นหนทางเดียวที่จะรักษาเชื้อพระวงศ์ที่มีสายเลือดใกล้ชิดกันทั้งหลายให้อยู่รอดต่อไป พี่น้องของเจ้าฟ้ามหิดลทั้งหกคนต่างมีบุตรสืบสันตติวงศ์เพียงแค่สองคน และทั้งสองก็ไม่ใช่สายเลือดราชวงศ์จักรีอย่างโดยตรงคือ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถมีบุตรหนึ่งคน ชื่อว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ หรือ พระองค์จุล ครึ่งไทยครึ่งรัสเซีย และเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ก็มีบุตรเพียงคนเดียว พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ซึ่งมีแม่เป็นคนรับใช้ในวัง เพื่อเป็นการสืบสายเลือดราชวงศ์จักรี กษัตริย์ประชาธิปกได้จัดตั้งสิบเอ็ดรายชื่อตำแหน่งพระองค์เจ้าขึ้นมา รวมทั้งบุตรทั้งสองของเจ้าฟ้ามหิดลได้อยู่ในรายชื่อนั้นด้วย

เจ้าฟ้ามหิดลทำตัวให้ห่างจากตำหนักในวัง ท่านไม่ประสงค์ที่จะให้ลูกๆเติบโตกลายเป็นเทียบเท่ากับพระเจ้าด้วยพิธีการต่างๆ เมื่อท่านล้มป่วยลงอย่างหนักในปี พ.ศ. 2471 ท่านได้อ้อนวอนนาย Sayre ว่าหากท่านเสียชีวิต ขอให้หลีกเลี่ยงบุตรทั้งสองจากอันดับในการสืบราชสันตติวงศ์

เจ้าฟ้ามหิดลมีชีวิตจนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard และเดินทางกลับมาที่เมืองบางกอก ตามท้องถนนในเมืองบางกอกต่างพุดคุยกันถึงท่านในตำแหน่งผู้สืบราชสันตติวงศ์ ท่านได้รับการกล่าวขานว่าฉลาดแต่ไม่ต่อเนื่อง และไร้ความทะเยอทะยานทางด้านการเมือง เปรียบเทียบกับประชาธิปกผู้มีแต่ความลังเลใจ บางก็วิพากษ์วิจารณ์ไปถึงเถือกเถาเหล่ากอของภรรยาของท่าน ท่านมักจะมีอาการล้มป่วยอยู่เรื่อยๆจึงเป็นที่วิตกกังวลว่าจะทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่ในการเสี่ยง และภายในวังและวงการทูต ต่างเชื่อกันว่าท่านนิยมการปกครองแบบอเมริกา แม้นว่าท่านจะมีผู้สนับสนุนมากมาย แต่ก็มีความหวาดกลัวว่าตำแหน่งจะหลุดไปอยู่ในมือของเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ผู้ควบคุมกองกำลังทหารสยามประเทศ

เจ้าฟ้ามหิดลมีความหวังที่จะต้องการฝึกฝนตนเองเป็นแพทย์ แต่ระเบียบการของราชวังต่างขัดขวางต่อการปฏิบัติแทบทุกกรณี การพบผู้ป่วยต้องใช้ภาษาราชาศัพท์ ซึ่งชาวบ้านนอกวังต่างไม่เข้าใจ เพราะตำแหน่งกษัตริย์เปรียบเช่นกับเจ้าชีวิต เจ้าฟ้ามหิดลคงแตะต้องได้เพียงศีรษะของผู้ป่วยเท่านั้น เพื่อเป็นการฝึกฝนให้เข้าถึงทางด้านการแพทย์ เจ้าฟ้ามหิดลจึงเดินทางไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2472 ที่โรงพยาบาลที่ดำเนินการโดยชาวอเมริกัน หลังจากยี่สิบสี่วันท่านก็รู้สึกไม่สบาย ท่านเดินทางกลับไปยังบางกอก และพ่ายแพ้ต่อโรคภัยในที่สุด ในเดือนกันยายน ด้วยอายุเพียง 37 ปี

ในปี พ.ศ. 2467 กฏหมายเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ไม่แน่ชัดนักว่าจะให้ใครไปผู้สืบต่อ เช่นให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ อันเป็นบุตรของกษัตริย์จุฬาลงกรณ์ ที่หลงเหลืออยู่เพียงคนเดียว หรือเจ้าฟ้าอานันท มหิดล อันกลายเป็นเด็กกำพร้าพ่อ แม้นว่าจะไม่มีทางเลือกมากนักแต่ก็ไม่มีการตัดสินใจกันในทันใด แต่อานันท ซึ่งมีอายุได้เพียงสี่ปีก็ได้รับการเลี้ยงดูปูเสื่ออย่างเช่นกษัตริย์คนต่อไป ทำให้ภูมิพลซึ่งอายุได้สองขวบได้ติดอันดับปลายแถวในการสืบสันตติวงศ์กับเขาด้วย ส่วนภรรยาหม้ายคือสังวาลได้รับการแต่งตั้งยศให้เป็น หม่อมสังวาล มหิดล ณ อยุธยา หรือคุณหญิงมหิดล ผู้สืบสายสกุลมาจากกรุงศรีอยุธยา เป็นการปกป้องตำแหน่งของเจ้าจอมมารดาราชินีสังวาล ผู้ซึ่งตั้งใจให้ตระกูลของตนเองคงติดอยู่กับราชวงศ์จักรีต่อไปชั่วกาลปวสาน

ครอบครัวมหิดลพักอาศัยกันอยู่ที่วังสระประทุม ที่เป็นวังไม้สักสร้างใหม่อยู่บนพื้นที่กว้างขว้างระหว่างคลองที่เกือบปลายสุดของใจกลางเมืองบางกอก ชีวิตในวังเต็มไปด้วย นางสนมกำนัล พยาบาล ครูบาอาจารย์ และคณะทูต ด้วยการรับอิทธิพลการเลี้ยงดุลูกจากวัฒนธรรมตะวันตกจากอเมริกา สังวาลทำตัวให้ใกล้ชิดกับการเลี้ยงดูลูกๆ ทั้งอานันท และภูมิพลถูกปล่อยให้วิ่งเล่นรอบๆสวนในวังได้ตามอำเภอใจ เล่นกับของเล่นต่างๆนานาจากยุโรปและอเมริกา มีทั้งสุนัข แมว และลิง เลี้ยงเล่นกันในบ้าน เมื่อถึงงานวันเกิดก็มีการจัดงานให้ยิ่งใหญ่สมเกรียติ์สำหรับเด็กๆและผู้ใหญ่ทั้งไทยและเทศ มีการเล่นเกมส์ ขี่ม้า แต่งตัวกันหลากสีสรร

ตระกูลมหิดลชื่นชมกับชีวิตที่อยู่ดีกินดีสดวกสบายทันสมัยอย่างตะวันตก กินอาหารอย่างตะวันตกราวกับว่าเป็นอาหารไทยแท้ๆเช่น ขนมเค้ก แซนดวิช นม เป็นแบบแผนอาหารประจำวันทั้งอาหารเช้า และอาหารกลางวัน แทนที่จะกินอาหารแบบไทยอย่าง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวเจ้า หรือกินกับข้าวอย่างไทยๆ เช่นเดียวกับการแต่งตัวอย่างตะวันตก จะแต่งตัวแบบไทยๆก็ต่อเมื่อต้องเข้าทำพิธีต่างๆตามวัฒนธรรม ครอบครัวชอบเดินทางไปตากอากาศตามชายทะเล เที่ยวสวนสัตว์ โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลในทุกๆอย่างราวกับว่าเป็นกษัตริย์ในอนาคต ในช่วงฤดูร้อนพวกเขาต่างพากันหนีร้อนไปที่หัวหินถิ่นของเหล่าศักดินา มีการเรียนหนังสือกันเองภายในวังร่วมกันกับเด็กๆรุ่นเดียวกันทั้งชาวไทยและเทศ มีครูทั้งชาวไทย อังกฤษ และอเมริกัน สังวาลตั้งใจให้ลูกๆเรียนภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2473 อานันทได้เข้าลงทะเบียนที่โรงเรียนของผู้ดีชั้นสูงศาสนาคริสต์นิกายคาเธอรลิคชื่อ Mater Dei สองปีต่อมา ภูมิพลก็เข้าเรียนที่โรงเรียนเดียวกันนี้

การสังคมของอานันท เพื่อเตรียมตัวที่จะเป็นกษัตริย์ธรรมราชาได้รับการดูแลเป็นอย่างดี โดยมีภูมิพลอยู่เคียงข้างเสมอ มีการทำพิธีต่างๆทางศาสนา โดยสังวาลช่วยอบรมสั่งสอนเด็กทั้งสองให้เข้าถึงพุทธศาสนา ด้วยการพาเข้าวัด ฟังตำนานเรื่องราวต่างๆ พอถึงวันเกิดก็ทำบุญให้อาหารพระ ปล่อยนก ปล่อยปลา ในปี พ.. 2475 อานันทเริ่มศึกษาทางด้านศาสนากับพระสังฆราช และบทเรียนหนึ่งที่พี่สาวหรือกัลยาณิจำได้คือ การตบยุ่งนั้นเป็นบาป

อานันทมักจะลืมตนว่าเป็นผู้สืบสันตติวงศ์ จนวันหนึ่งในปี 2474 เมื่อกลับจากโรงเรียนจึงเข้าไปถามแม่ว่า ทำไมใครๆต่างเรียกผมว่า องค์แปด เมื่อมารดาอธิบายว่า วันหนึ่งลูกจะได้เป็นกษัตริย์แห่งประเทศสยาม พี่สาวกัลยาณิจำได้ว่า อานันทมีอาการป่วยขึ้นมาทันที ความจริงอาการป่วยนี้เป็นกันมาทั้งผู้เป็นพ่อ และลุง อาการป่วยทำให้ขาดโรงเรียนบ่อยๆ แพทย์ส่วนตัวบอกว่าอาการมีเลือดบาง

ชีวิตที่สระประทุมเริ่มลำบากยากขึ้นในช่วงปี 2474-2475 สังวาลทนอาการร้อนในเมืองบางกอกไม่ได้ ปัญหาทางการเมืองร้อนแรงมากขึ้น อีกทั้งกระแสการเงินในอเมริกาเองก็ล้มลุกคลุกคลาน รัฐบาลเริ่มหมดเงินในการใช้จ่าย จึงเริ่มเก็บภาษีมากขึ้นจากชนชั้นกลาง กษัตริย์ประชาธิปกโอนไปเอนมากับปัญหาเศรษฐกิจในระดับโลก จึงไม่น่าแปลกใจนักที่เกิดการกบฎจากกลุ่มข้าราชการและทหารกลุ่มน้อย เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบประชาธิปไตย และทิ้งให้สถาบันกษัตริย์หมดอำนาจลงไป

ประชาธิปกยอมเป็นภาคีกับการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่บรรดาเจ้าฟ้าศักดินาทั้งหลายไม่ยอมจำนนด้วย จึงรวมตัวกันสร้างแผนเอาอำนาจแบบเดิมคืนมาอีก ในเดือนเมษายน 2475 ครอบครัวตระกูลมหิดลพากันเดินทางกลับไปอยู่ที่ ลูซาน Switzerland เพื่อความปลอดภัย และอาศัยอยู่ต่อมาจนถึงปี 2488 เป็นเวลานานกว่าสิบปีหลังจากที่กษัตริย์ประชาธิปกได้สละราชสมบัติให้กับอานันท และแต่งตั้งให้ภูมิพลเป็นผู้สืบสันตติวงศ์อันดับแรก

การกบฎในปี 2475 ไม่ใช้แต่เพียงเป็นผลมาจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการบริหารประเทศที่เห็นแก่ได้ของราชวงศ์ ประชาธิปกเข้ารับตำแหน่งเป็นกษัตริย์ในขณะที่เหตุการณ์ที่พวกหัวก้าวหน้า ท้าทายกับพวกจารีตนิยม เนื่องจากกษัตริย์องค์ก่อนคือวชิราวุธหรือ รัชกาลที่ 6 ได้มีแนวทางที่จะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองประเทศ ให้กลายเป็นแบบจักรวรรดินิยมอย่างในยุโรปและที่ญี่ปุ่น แต่การจัดการบริหารของรัชกาลที่ 6 นั้นล้มเหลวไม่เอาถ่าน พร้อมกับมีการต้านทานจากบรรดาราชวงศ์ด้วย พวกเขาเชื่อว่าการเกาะติดอยู่กับรากฐานประเพณีทางพุทธศาสนาของสยามประเทศ คือความอยู่รอด ด้วยสิ่งเหล่านี้ ประชาธิปกจึงสร้างสถาบันกษัตริย์ให้เป็นจุดศูนย์กลางในการบริหารประเทศ ในปี 2475 ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในระดับโลก เข้ามาเขย่าสถาบันกษัตริย์ราชวงศ์จักรีให้ชนปะทะกันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ จนต้องพ่ายแพ้ไป

แต่รากฐานประเพณีเก่าแก่ยากต่อการเปลี่ยนแปลงให้สูญหายไปได้ เช่น เจ้าฟ้า ชาวนาในชนบท ต่างก็มีความเชื่อถือแบบโบราณว่าอำนาจของจักรวาล จะทำให้เกิดความสมดุลย์ด้วยการมีกษัตริย์ที่มีไหวพริบ และมีความเที่ยงธรรม หรือเป็นคล้ายกับพระพุทธเจ้าหลวง นี่คือความเชื่อ กุศโลบาย อันเป็นพื้นฐานที่กษัตริย์อย่างภูมิพลใช้ในการสถาปณาราชวงศ์ของตนให้คงอยุ่ต่อไปในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

รูปแบบของระบบที่เก่าและศักดิ์สิทธิ์อย่างสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นภาระหนักที่กษัตริย์ประชาธิปกแบกเอาไว้ในปี 2475 อันมีรากฐานมาจากประเพณีที่สืบต่อกันมาจากลัทธิฮินดูของชาวอินเดียที่มีพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ที่กระจ่ายเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในราวศตวรรษที่สาม ทั้งสองต่างมีรากฐานของนักรบกึ่งเทพเจ้าที่เรียกกันว่ากษัตริย์ อันมีความสามารถทางด้านการรบ และมีความเที่ยงธรรม อย่างไรก็ตามประเพณีทั้งสองไม่เคยแยกออกจากกันได้ในประเทศไทย คุณลักษณะที่เด่นนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันใช้ในการสถาปนาราชวงศ์ของตนเอง

ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือ หินยาน (Theravada Buddhist) ซึ่งได้รับการรับรองและสนับสนุนอย่างสูงส่งจากรัฐบาล เริ่มตั้งแต่สมัยศตวรรษที่สิบสองในอาณาจักรสุโขทัย อันเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาในการปกครองประเทศโดยมี กษัตริย์ที่เป็นธรรมราชา กษัตริย์ในทางศาสนาพุทธที่มีความสามารถอย่างนักรบ แต่เพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์จะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลในธรรม นั้นคือธรรมปกครองโลกไม่ใช่มนุษย์ มนุษย์เป็นเพียงผู้ปฏิบัติไปตามกฎแห่งกรรม ดังที่พระพุทธเจ้าได้สอนเอาไว้ให้หมุนวงล้อแห่งธรรม

เพราะว่า ธรรมะคือหนทางสู่สัจธรรม การแสวงหาสัจธรรมต้องมีความบริสุทธิ์ใจ การปฏิบัติตัวให้เข้าถึงสัจธรรมต้องทำตัวให้บริสุทธิ์อย่างเช่นพระพุทธเจ้า การปฏิบัติทำตนให้บริสุทธิ์นั้นทำได้ด้วยการละทิ้งกิเลส และสร้างบุญหรือเป็นผู้ให้ หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ วิธีปฏิบัตินั้นทำได้จากหลักการธรรมศาสนา หรือ การปฏิบัติตามหลักศีลธรรม

การบรรลุโสดาบันคือการปฏิบัติเข้าถึงหลักของธรรม และในการปฏิบัติตามประเพณีคือการสร้างกรรม หากสร้างกรรมดีก็เป็นผลดีเข้าถึงหลักธรรม หนทางในการปฏิบัติคือการถือศีล เช่น การถือศีลห้า หรือ เบญจศีล เป็นศีลในลำดับเบื้องต้นของพุทธศาสนา ที่ใช้สำหรับฆราวาส หรือ ศาสนิกชนพึงถือ ไม่เฉพาะแต่เหล่าสงฆ์เท่านั้น และศีลแปดสำหรับสามเณรหรืออุบาสกอบาสิกาที่เข้าวัดเข้าวาเพื่อรับธรรมเป็นประจำ แต่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ที่เคร่งครัดแล้วก็จะถือ 227 ศีล อันดับในการจัดชั้นวรรณะในคณะสงฆ์ก็ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดถึงระดับโสดาบันสักแค่ไหน ผู้ที่ปฏิบัติถือศีลอย่างเคร่งครัดย่อมมีความเหมาะสมในการแนะนำผู้อื่น หน้าที่สำคัญคือการเผยแพร่ธรรมะด้วยการเทศน์และการประพฤติปฎิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี และด้วยการปฏิบัติตนเช่นนี้ ทำให้ผู้นั้นสร้างบุญกุศลและเข้าถึงสัจธรรมได้มากขึ้นเท่านั้น

ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทในประเทศสยามคือ การทำบุญสร้างคุณธรรมและความดี เป็นการส่งผลบุญให้มีชีวิตที่ดีในชาติหน้า การมีชีวิตที่ดีในชาตินี้ เป็นผลกรรมที่ทำความดีจากชาติก่อน สำหรับกษัตริย์ธรรมราชานั้นคือการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลบุญที่สะสมมาจากชาติก่อน ตราบใดที่กษัตริย์มีความประพฤติปฏิบัติอยู่ในธรรมศาสตร์ เขาผู้นั้นปกครองอย่างเป็นธรรมชาติบนพื้นฐานแห่งความรู้จริงในสัจธรรม เขาผู้นั้นจึงเหมาะสมที่จะเป็นกษัตริย์

ผู้ที่มีตำแหน่งใกล้เคียงกับกษัตริย์ในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท คือพระสัฆราชหรือพระสงฆ์อาวุโสและพระที่ทำธุดงค์เข้าญาณวิปัสสนา โดยทั่วไปเปรียบเทียบเท่ากับพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้า ผู้มีเคร่งครัดปฏิบัติ ปกป้องในศีลธรรม ใครมีอาวุโสมากกว่าใครนั้นระหว่าง พระสงฆ์ที่มีความเคร่งครัดในหลักศีลธรรมทุกๆวัน หรือกษัตริย์ธรรมราชาปฏิบัติเพียงศีลห้าข้อและเคร่งครัดหน่อยในวันพระเท่านั้น โดยหลักการแล้วก็เหมือนว่าพระสงฆ์มีอาวุโสมากกว่า แต่ในทางกลับกันแล้ว เป็นหน้าที่ของกษัตริย์ที่จะทำการปกป้องคุ้มครองสถาบันสงฆ์

การที่จะเป็นกษัตริย์ให้มีคุณสมับติทางพุทธศาสนาให้สมกับเป็นธรรมราชาได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามกฎทศพิธราชธรรม เพราะว่ากษัตริย์มีภาระหน้าที่ที่จะต้องกระทำ จะให้อยู่สมถะแบบพระสงฆ์องค์เจ้าไม่ได้ ทศพิธราชธรรมคือบัญญัติสิบประการสำหรับกษัตริย์ อันเป็นจริยวัตร10 ประการ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าราชธรรม10 อันประกอบด้วย ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน ความยุติธรรม ทศพิธราชธรรมหรือราชธรรมสิบนี้ เปรียบคล้ายกับบารมี10 หรือ ทศบารี ที่พระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติตนได้อย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะบรรลุโสดาบัน ส่วนบารมีคือการมีความสมบูรณ์ทางจิตใจ มีความหมายใช้กันทั้งทางด้านศาสนาพุทธและฮินดู ในปัจจุบันนำมาใช้อ้างอิงกับสถาบันกษัตริย์ให้มีคำแปลอย่างน่าสรรเสริญว่า พระราชบารมี อันเป็นการแสดงถึงความสูงศักดิ์ของกษัตริย์ที่เทียบเท่าพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีใครสามารถขัดแย้งในอำนาจหน้าที่ที่ศักดิสิทธิ์ของกษัตริย์ได้เหนือกว่าพระสงฆ์ ทศพิธราชธรรมทั้ง10 หรือราชาธรรม10 คือคุณธรรมของกษัตริย์ อันเป็นหลักเกณฑ์ที่แยกกษัตริย์ออกจากพระสงฆ์

การสร้างสถาปนาความเป็นกษัตริย์นั้น ยังต้องอาศัยการสืบต่อราชวงศ์ด้วยสายโลหิตที่แท้ด้วย ประชาชนจะต้องเชื่อถือกับเรื่องราวที่กษัตริย์มีความสามารถนานาประการ และเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ ดุจดังเทพเจ้าที่สืบสายโลหิตเดียวกันมาสู่ลูกหลานเหลน ในทางศาสนาพุทธ การเรียนรู้และเข้าถึงพระธรรมคือการปฏิบัติในศีล ไม่ใช่การสืบต่อความรู้ด้วยทางสายเลือดเดียวกัน ดังนั้นบุคคลที่แม้นจะเป็นชนชั้นต่ำก็สามารถบรรลุถึงพระธรรม และกลายเป็นผู้คงแก่เรียนหรือเป็นกษัตริย์ได้ด้วยการเรียนรู้ และการปฏิบัติเคร่งในศีล สำหรับธรรมราชาที่สร้างสมคุณงามความดีก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตกหล่นไปถึงลูกหลานได้ เพราะคุณงามความดีนั้น คงสืบทอดต่อกันไม่ได้จากผู้บังเกิดเกล้า

ในทางความเชื่อโดยทั่วไป ศิษย์ของอาจารย์ย่อมได้รับความบริสุทธิ์จากการสอนธรรม และด้วยความใกล้ชิดในการเสี่ยมสอน อาจารย์ที่เก่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์และสร้างชื่อเสียงและบารมีให้กับตนเอง เช่นเดียวกับบุตรของกษัตริย์ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้เป็นปราชญ์ต่อเนื่องกันไป การถ่ายทอดต่อเนื่องกันนี้เป็นการถ่ายทอดที่เรียนรู้และปฏิบัติ หาใช่การถ่ายทอดกันทางสายโลหิตหรือทาง DNA แต่การถ่ายทอดในสายโลหิตเดียวกันทำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาได้ บุตรหลานของกษัตริย์มีโอกาสเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ และด้วยประการฉะนี้จึงทำให้เกิดการสร้างสถาบันหรือการสร้างราชวงศ์ที่มั่นคงได้อย่างน่าเชื่อถือ

ในทางวัฒนธรรมของพราหมณ์ฮินดู พระพุทธเจ้าคือพราหมณ์ที่กลับชาติมาเกิดเป็นครั้งที่เก้า แต่กษัตริย์ในทางฮินดูมีรากฐานในอาณาจักรขอมโบราณนั้น มีการพัฒนาอย่างตรงไปตรงมาและมีโครงสร้างการปกครองที่แน่นอนมาจากเทวราช ซึ่งในทางพุทธศาสนาไม่มีเทวดาที่แท้จริง มีแต่ธรรมะเท่านั้นคือความจริง และการเรียนรู้ถึงธรรมะคือความสูงสุดของการมีชีวิตอยู่ ความคิดของฮินดูคือการมีชีวิตอยู่อย่างแข็งแรง การมีตัวตนเป็นอัตตา หรือ อาตมัน และในตัวตนนั้นคือการค้นพบความจริงของร่างและวัตถุประสงค์ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน การเข้าใจในตัวตนคือการเข้าถึงทุกสิ่งทุกอย่างหรือนิพพานของฮินดู

ในทางศาสนาฮินดูนั้น มนุษย์ต่างเวียนว่ายตายเกิดในหลายชั้นวรรณะ ซึ่งเป็นสังสารวัฏให้เข้าใจในตัวตนยิ่งขึ้น การเกิดในวรรณะที่สูงเป็นการสืบทอดสายโลหิตที่ยิ่งใหญ่ ความเชื่อในเทวดาของชาวฮินดูจึงสืบต่อไปสู่ลูกหลานที่เกิดขึ้นมา นี่คือความเชื่อที่ว่าเทวดากลับชาติมาเกิดเพื่อสืบทอดสายโลหิตกันต่อไป

พูดกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว กษัตริย์ในความเชื่อถือของศาสนาฮินดู จะมีความแข็งแกร่งน่าเลื่อมใสกว่าในทางศาสนาพุทธ ซึ่งมีความหมายเพียงแต่เป็นผู้นำที่หมุนวงล้อแห่งธรรมะให้แก่ประชาชน แต่เทวดาในศาสนาฮินดูคือผู้ก่อสร้างสถาปนากฎเกณฑ์และความเป็นอยู่ของสังคม เทวดาคือผู้ปกป้องทุกสิ่งทุกอย่างครอบจักรวาล อย่างเช่นพระศิวะ ที่ควบคุมดินฟ้าอากาศ นำฝนโปรยปรายในยามแล้ง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์ และทำให้หญิงตั้งครรภ์ อย่างที่นาย John Girling นักสังคมศาสตร์ได้เขียนเอาไว้ว่า พิธีการในการปกครองคือการทำพิธีกรรมต่างๆในโลกด้วยอำนาจจากจักรวาล คือการสร้างอาณาจักรให้เป็นเมืองของเล่นขนาดเล็ก และสร้างวังให้เป็นดังเขาเมรุที่ศักดิ์สิทธิ์ เมืองของเทวดา โดยให้บรรดารัฐมนตรีทั้งสี่ประดับมุมทั้งสี่มุมของจักรวาล ทำเมืองหลวงให้ดุจดังเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศ มันยิ่งใหญ่กว่าสังคมการเมืองและจุดรวมของวัฒนธรรม แต่เป็นจุดอันศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศูนย์กลางของจักรวาลทั้งหมด"

กษัตริย์ในทางศาสนาฮินดู มีพราหมณ์ซึ่งถือว่าเป็นชนวรรณะสูงเป็นฐานประกอบอำนาจ พราหมณ์สักการะบูชาเทวราช ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการปกครอง ทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ที่ปรีกษาทางการกระทำพิธีการต่างๆเพื่อให้กษัตริย์ดูยิ่งใหญ่น่าเลื่อมใสอย่างพระเจ้า กษัตริย์เขมรใช้หินสลักเป็นรูปศิวลึงค์มาประดับเพื่อแสดงถึงเทพเจ้า ซึ่งแสดงให้เห็นสัญญลักษณ์พระศิวะและกษัตริย์บนโลก หินสลักรูปศิวลึงค์มีตั้งไว้ตามถนนในทุกมุมเมือง ในวัด และบนยอดเขา

ประเพณีทั้งสองถูกนำมาใช้ในการประกอบพิธีต่างๆปะปนกันไปกับศาสนาพุทธนิกายมหายานที่เชื่อในอาณาจักรขอม และชาวไท มอญ ที่เข้ามาในประเทศสยามในศัตวรรษที่สิบสาม หลังจากอาณาจักรขอมเสื่อมลง ซึ่งรวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยทางภาคกลางด้านบน ในการสถาปนาราชวงศ์จักรี ได้มีการสืบรากบรรพบุรุษกันไปถึง กษัตริย์คนที่สามของสุโขทัยคือ รามคำแหง อันเป็นชื่อที่มาจากตำนานรามเกียรติ์ ปกครองในระหว่างปี 1820 ถึง ปี 1860 กษัตริย์รามคำแหงคือนักรบที่สร้างพื้นที่เล็กๆให้กลายเป็นเมืองใหญ่ที่มั่งคั่ง อาณาจักรสุโขทัยสร้างขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อทางฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในช่วงต้นๆของสุโขทัย กษัตริย์องค์ก่อนๆได้รับเอาอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรยานมาใช้ โดยพระสงฆ์จากศรีลังกาได้นำเอาเข้ามาเผยแพร่ อันเป็นการเริ่มต้นพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน

กษัตริย์รามคำแหงใช้การปกครองแบบการเกลี้ยกล่อม โดยใช้ศาสนาพุทธเอามาเป็นวัฒนธรรมในการปกครองประเทศให้เป็นปึกแผ่น ท่านสร้างวัดวาให้กับคณะสงฆ์ และท่านเป็นผู้นำพิธีการทำบุญให้ทานเช่นงานกฐิน งานพิธีที่ชาวบ้านเอาของไปถวายวัดหลังจากที่หมดพรรษา จากหลักฐานอ้างอิงของหลักศิลาจารึกได้บันทึกเอาไว้ตอนหนึ่งว่า

"เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใคร่จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื้อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใครพีน เห็นสินท่านบ่ใครเดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจะกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่อันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันโดยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม"

ในความหมายปัจจุบัน เป็นการปกครองที่เรียกว่าบิดาธิปไตยหรือการปกครองอย่างบิดาปกครองบุตร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาของชาวไท กษัตริย์ถือได้ว่าเป็นทั้งพ่อและตุลาการและเป็นแหล่งของวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศด้วย สำนักราชวังของกษัตริย์ภูมิพลจึงเรียกพ่อขุนรามคำแหงว่าเป็นกษัตริย์ที่ปกครองแบบประชาธิปไตยคนแรก และได้นำไปใช้เป็นวัฒนธรรมการปกครองประเทศไทยต่อเนื่องกันมาตลอดราชวงศ์จักรี

แม้นกระนั้น การรับเอาศาสนาพุทธนิกายหินยานหรือเถรวาท(Theravadism)มาใช้ ทำให้ราชบัลลังก์สุโขทัยอ่อนแอลง เพราะไม่เน้นไปในหลักการทางศาสนาฮินดูให้ตัวกษัตริย์มีความเทียบเท่ากับเป็นเทพเจ้า ราชวงศ์สุโขทัยใช้หลักการตามศาสนาพุทธคือใช้ธรรมราชาเป็นหลักการสถาปนาราชวงศ์ ซึ่งมีความหมายบันทึกไว้ในไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเชื่อกันว่าเขียนไว้โดยกษัตริย์ลิไทย(พระมหาธรรมราชาที่ 1) ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพ่อขุนรามคำแหง ได้แต่งไตรภูมิพระร่วงขึ้น มีสาระสำคัญ คือ เขียนพรรณาถึงเรื่องการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสาม(กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ) ด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว ที่สำคัญคือเป็นเรื่องราวตัวอย่างของพระร่วงอันเป็นรากฐานสำคัญของการสืบต่อความเป็นกษัตริย์

ไตรภูมิพระร่วงไม่ใช้เรื่องราวใหม่ในทางพุทธศาสนา หากเป็นเรื่องราวที่นำเอาความคิดในตำนานทางพุทธศาสนาและทางฮินดูมาเปรียบเปรยให้ชาวบ้านเข้าใจกัน เป็นเรื่องราวให้ผู้อ่านผู้ฟังยำเกรงในการกระทำบาปทุจริต และเกิดความปิติยินดีในการทำบุญทำกุศล อาจหาญมุ่งมั่นในการกระทำคุณงามความดีในโลกนี้ และกฎในการสร้างคุณงามความดีของกษัตริย์ก็คือทศพิธราชธรรม10 อย่างที่กษัตริย์ลิไทยได้เขียนอ้างไว้ว่าเป็นดินแดนที่พระพุทธเจ้าได้เลือกเอาไว้ หรือพระพุทธเจ้าคือกษัตริย์คนแรก ดังนั้นกษัตริย์ที่สืบทอดราชวงศ์ต่อๆมาคือสายเลือดของพระพุทธเจ้าหรือสายเลือดทางวิญญาณ ที่สืบทอดกันมาด้วยผลแห่งการสร้างบุญ ในกรณีที่ปราศจากตัวของพระพุทธเจ้า ก็ขอให้เป็นดังที่เคยมีกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่คือจักรวาที(Cakkavati King)ที่คอยหมุนวงล้อแห่งธรรมะ(ธรรมจักร) ในไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวไว้ว่า รู้จักบุญกุศลและธรรม และสอนคนอื่นให้รู้ถึงธรรมะ อย่างที่พระพุทธเจ้าได้เกิดมาเพื่อสอนธรรมะ..........จะไม่มียักษ์ มาร สัตว์ร้าย เข้ามาสิ่งสู่แด่ผู้หมุนกงล้อธรรมจักร เพราะว่าตัวมารกลัวอำนาจและความดีของธรรมจักร

นี่เป็นหลักการที่ใช้ได้ผลในการปกครองโดยระบบกษัตริย์ที่มีอำนาจสูงสุดของแผ่นดิน โดยการให้ความเทียบเท่าระหว่างการเป็นกษัตริย์และพระพุทธเจ้า หรือเกือบเท่ากับเทวดา หนังสือไตรภูมิพระร่วงให้ความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์อยู่เหนือแผ่นดิน โดยการเอาความรู้คิดเรื่องผลบุญผลกรรมมาเปรียบเทียบ และวางรากฐานอันดับของชนชั้น คือชนชั้นสูงย่อมมีบุญมากกว่าชนชั้นต่ำเป็นต้น ไตรภูมิพระร่วงบ่งบอกถึงการสร้างบุญกุศลจากชาติก่อน อันนำเป็นผลของชีวิตที่ดีในชาติหน้า(เป็นไปได้ว่า โดยการนำเอาผลบุญมาแอบอ้าง ทำให้ผุ้ปกครองมีโอกาสได้รับผลประโยชน์ต่างๆนานาง่ายขึ้น เช่น อาหาร ชาวบ้านถูกหลอกให้นำเอาข้าวสารและนำอาหารไปถวายทำบุญให้แก่วัดวาอาราม รวมทั้งเงินทองบริจาคให้แก่กษัตริย์ธรรมราชา)

ผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ละทิ้งประเพณีและความเชื่อในเทวดาตามศาสนาฮินดูไปเสียหมด แต่ยังทำการปฎิบัติตามประเพณีให้ดูเปล่งปลั้งยิ่งขึ้นแด่กษัตริย์ อันเป็นผลให้บรรดาราชนิกูลมีความน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปอีก ถึงแม้นว่าท้ายที่สุดสุโขทัยจะเสื่อมลงและอยุธยาขึ้นมาแทนที เป็นเวลากว่าสี่ร้อยปีที่อยุธยาเติบโตแข็งแกร่งเบ่งบาน จนเป็นรูปฐานทางภูมิศาสตร์การเมืองให้แก่ประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหมือนเส้นทางเชื่อมต่อของศาสนา วัฒนธรรม ต่างๆนานา ในสมัยอยุธยาทั้งศาสนาพุทธและประเพณีทางฮินดูได้มีส่วนร่วม ในการเสริมสร้างอำนาจให้แก่สถาบันกษัตริย์ แต่ก็ยังน้อยกว่าสมัยสุโขทัย

ในสมัยพระเจ้าอู่ทองกษัตริย์คนแรกของอยุธยา ได้เชิญพราหมณ์มาจากประเทศอินเดียหลายคนในการทำพิธีราชาภิเษกในปี พ.ศ.1894 ซึ่งเป็นการเปรียบตัวเองเช่นเดียวกับเทวดา และได้ตั้งชื่อตนเองว่า รามาธิบดี อันเป็นชื่อที่นำเอามาจากชื่อของพระรามในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ กษัตริย์อู่ทองยังปฏิบัติตนเจริญรอยตามตำแหน่งธรรมราชา อย่างเช่นกษัตริย์ลิไทยในสมัยสุโขทัย กษัตริย์อู่ทองได้ทำการอุปถัมภ์บรรดาสงฆ์ สร้างวัดวาอารามขึ้นใหม่มากมาย และยังนำเอาพิธีการทางศาสนาพุทธมาปฏิบัติด้วย

ในกลางศตวรรษที่สิบห้าคือสมัยพระบรมไตรโลกนาถ บรรดานักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นช่วงที่อยุธยาเจริญถึงที่สุด เป็นจุดศูนย์กลางทีมีการจัดอันดับทางสังคม ซึ่งเป็นไปในทางฮินดูมากกว่าศาสนาพุทธ เช่นเดียวกับกษัตริย์ลิไทย ไตรโลกนาถก็แสดงตัวให้เป็นเช่นพระพุทธเจ้าเช่นกัน โดยการจัดการเรียบเรียงหนังสือมหาชาติคำหลวงขึ้นใหม่ อันเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติก่อนที่เป็นพระโพธิสัตย์ ก่อนที่จะทำการตรัสรู้ได้ เนื้อหาในการปรับปรุงใหม่ เน้นไปที่เนื้อหาของไตรภูมิพระร่วงว่า พระเวสสันดร(Vessantara) ได้กลับชาติมาเกิดเป็นพระบรมไตรโลกนาถคือตัวกษัตริย์ไตรโลกนาถนั้นเอง แต่กษัตริย์ไตรโลกนาถก็ไม่ได้เอาศาสนาพุทธมาเป็นรากฐานของความเป็นกษัตริย์ นักประวัติศาสตร์หลายคนคิดว่า ในราวต้นปี 2143 กษัตริย์ปราสาททองได้นำเอาความเชื่อทางฮินดูมาใช้ในการสถาปนาตนเองให้สูงส่งยิ่งขึ้น โดยไม่ได้ตัดเอาความเชื่อครอบจักรวาลทางพุทธศาสนาออกไป

จากหลักฐานที่บันทึกในประวัติศาสตร์ได้เน้นให้เห็นว่า ทั้งประเพณีทางศาสนาฮินดู และพุทธได้ใช้ผสมปะปนกันให้เป็นฐานอำนาจสนับสนุนสถาบันกษัตริย์อย่างต่อเนื่องกันมา ทำให้กษัตริย์มีอำนาจบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ ความสมดุลย์ระหว่างสองศาสนานั้นก็ขึ้นอยู่กับความคิดดัดแปลงสร้างสรรของตัวกษัตริย์เอง ความเชื่อในศาสนาพุทธเกี่ยวกับดวงดาวครอบจักรวาลต่างๆอันเป็นผลทางโชคชะตาราศี เป็นรากฐานของกษัตริย์ธรรมราชาที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตามกฎทศพิธราชธรรม กษัตริย์ต้องทำบุญทำทานถวายพระสงฆ์องค์เจ้า ทำพิธีกฐิน เช่นเดียวกับกษัตริย์ไตรโลกนาถที่ลาออกบวชในระยะสั้น และโดยทั่วไปแล้วในราชอาณาจักรนี้มีความเชื่อกันว่า การทำพิธีปฏิบัติตามศาสนาพุทธเป็นการแสดงความซื่อสัตย์ต่อสถาบันกษัตริย์ และสร้างผลผลิตของชาวไร่ชาวนาให้มากขี้น

พิธีการต่างๆบนพื้นฐานทางศาสนาฮินดู ได้รวมเอาเทวดาเข้าไปเป็นการเสริมภาพพจน์ของกษัตริย์ ทำให้สถาบันกษัตร์ย์ดูน่ากลัวและน่าเกรงขามยิ่งขึ้น ต่างประดิษฐ์ประดอยยกยอตำแหน่งให้กษัตริย์เป็นเจ้าแผ่นดิน และ เจ้าชีวิต ผู้เป็นเจ้าของมวลสรรพสิ่งทั้งหลายดังเทพเจ้าที่ประทานชีวิต สภาพลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่ง ข้อห้ามตามความเชื่อของพราหมณ์ได้ถูกนำมาบังคับใช้เช่น ห้ามมองดูหน้าของบรรดาราชนิกูล หากขัดขืนอาจมีโทษถึงตายได้ ภาษาที่ใช้กันในวังและการทำพิธีต่างๆก็เป็นภาษาของพราหมณ์ ที่ปะปนกันระหว่างสันสกฤตกับภาษาขอม เพื่อนำมาใช้เตือนกันถึงสายโลหิตที่มีความสูงศักดิ์ ในฐานันดรของราชนิกูล อันมีความสำคัญยิ่งในการปกครองโดยระบบราชวงศ์ตลอดชั่วกัลปาวสาร

การผสมปะปนกันในพิธีการต่างๆของสองศาสนาเป็นการสืบสายพันธุ์ของกษัตริย์ นาย David Wyatt นักประวัติศาสตร์ได้อธิบายไว้ว่าหลักการสั่งสอนของศาสนาพุทธเป็นปัจจัยสำคัญต่อดวงชะตาราศีในทางพราหมณ์ มุ่งหมายให้กษัตริย์มีความประพฤติอยู่ในศีลธรรมจนถึงที่สุดคือให้กลมกลืนกันกับคำสอนธรรมจรรยาในพุทธศาสนา ความเชื่อของพราหมณ์ฮินดูในเรื่องเทวดานั้น เปรียบเทียบให้กษัตริย์เป็นพระเจ้า เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งให้กษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของพิธีการต่างๆ ขณะที่ความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพุทธให้การรับรองว่ากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของผู้ประพฤติตามหลักทางศีลธรรม"

ยิ่งกว่านั้น กุญแจแห่งอำนาจในสมัยอยุธยาคือการควบคุมความมั่งคั่งของแผ่นดิน เพราะอยุธยาตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นดังเกาะใหญ่ตั้งอยู่ตรงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ความสำเร็จของอยุธยาคือเป็นแหล่งโกดังซื้อขายที่สำคัญทางน้ำในเขตเอเชียตะวันออก นำเอาพ่อค้าจากเมืองจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย และจากพวกยุโรปในศตวรรษที่สิบหก เมืองอยุธยามีความสำเร็จทางการค้าอย่างมาก ทำให้บรรดากษัตริย์ต่างดิ้นรนในการเข้าควบคุมการค้าแบบจำกัดและผูกขาดของตนเอง เพื่อควบคุมพื้นที่ดินและคนทำงาน ครอบครัวหลายครอบครัว รวมทั้งชาวต่างชาติสร้างความมั่นคั่งโดยการทำการสนิทสนมกับเหล่าราชนิกูลและขุนนาง ซึ่งกลายเป็นคู่แข่งกับสถาบันในการคุมความมั่งคั่งและอำนาจ

เรื่องราวในวังสมัยอยุธยาเป็นเรื่องที่โกลาหลและเต็มไปด้วยเลือด ในการช่วงชิงราชบัลลังก์ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวการลอบปลงพระชนม์ เป็นสิ่งที่เขย่าขวัญเกิดขึ้นบ่อยๆจนเป็นธรรมดา ระหว่างกษัตริย์กับเจ้าฟ้าและราชินี หรือการลอบฆ่าเจ้าฟ้าโดยกษัตริย์กับราชินี หรือการฆ่ากันระหว่างเจ้าฟ้ากับเจ้าฟ้าด้วยกันเอง เป็นต้น เป็นเวลาเกินกว่าสี่ศตวรรษ อยุธยามีกษัตริย์ทั้งหมด 35 องค์ โดยเฉลี่ย 11 ปีต่อหนึ่งสมัย ในทางตรงกันข้าม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2310 หากกรุงเทพมีผู้ปกครองราวสิบคน เฉลี่ย 24 ปีต่อหนึ่งสมัย

การต่อสู้ชิงอำนาจกันในอยุธยา น้อยนักที่เป็นการต่อสู้เพื่อสืบต่อสายโลหิตของราชวงศ์ แต่มีหลายครั้งที่มีการกบฏจากฝีมือคนภายนอก เพื่อให้ได้ตำแหน่งของกษัตริย์มาครองอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ จึงมีการจับแต่งงานระหว่างภรรยา น้องสาว ลูกสาว ของกษัตริย์องค์ก่อน ดังนั้นความชัดแจ้งของการสืบสันตติวงศ์จึงไม่มีปรากฎออกมาได้อย่างแน่ชัด

ท้ายที่สุด อาณาจักรอยุธยาอ่อนแอลงไปเพราะการแก่งแย่งเพื่อให้ได้มาในอำนาจและความมั่งคั่ง หลังจากหนึ่งปีที่ถูกปิดล้อม ในเดือนเมษายน พ.ศ.2310 กองกำลังทหารพม่าก็ตีผ่านเข้ากำแพงเมืองอยุธยา เข้ามาทำลายปราสาท และตัวเมืองได้สำเร็จ พม่าทำลายราชวัง เจดีย์ วัดวาอาราม รูปปั้นต่างๆ และชาวเมืองอยุธยาต่างพากันหนีกระจัดกระจายกันไปสู่ชนบท และอาณาจักรอยุธยาก็ได้ถึงวาระแห่งการสิ้นสุดลงโดยฉะนั้น