Dienstag, 4. September 2007

บทที่ 15: น้ำพึ่งเรือ-เสือพึ่งป่า (15. In the King’s Image: The Perfect General Prem)

บทที่ 15: น้ำพึ่งเรือ-เสือพึ่งป่า
(หน้า 276-298, แฮนด์เลย์ 2006)

Copyright 2006
Reproduced with the permission of the author
For inquiries mail TKNSThai@gmail.com or call 206-350-2059

ผลพวงจากการทำรัฐประหารของพลเอกเกรียงศักดิ์ในปี พ.ศ. 2520 ให้บทเรียน K ว่า เขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในครั้งนั้นมากเกินไป สถานการณ์ทางการเมืองหลังยุครัฐบาลธานินท์ ทำให้K ตระหนักว่า การมีตัวแทนจากภาคประชาชนเข้า ไปเป็นรัฐบาลยังไม่เพียงพอที่ จะตอบสนองความต้องการของตน หาก K จำเป็นต้องมีทหารที่เป็นมือเป็นเท้าให้ตนเข้าไปเป็นผู้นำรัฐบาล นายทหารผู้นั้นจะต้องมีอำนาจ และสามารถทำทุกอย่าง เพื่อตอบสนองความต้องการของ K โดยไม่คิดถึงตัวเอง ในขณะเดียวกัน ก็สามารถควบคุมกองทัพไปได้พร้อมๆ กัน บุคคลที่ดูเหมือนจะเพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติดังกล่าวในสายตาของ K ก็คือ พลเอกเปรม ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ รัฐบาลนายเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ สิ่งเดียวที่ K ต้องทำต่อจากนั้นก็คือหาโอกาสเหมาะๆผลักดันเปรม ให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำคนต่อไป



ตามสัญญาที่ให้ไว้ หลังการทำรัฐประหาร รัฐบาลองพลเอกเกรียงศักดิ์ ทำการปรับปรุงรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2521 โดยระบอบการปกครอง ของไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกอบด้วยระบบสองสภา ได้แก่ 1) วุฒิสมาชิกสภา จำนวน 225 คน จากการแต่งตั้งของ นายกรัฐมนตรี (ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งโดย K อีกต่อไป) และ 2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 310 คน พร้อมกันนี้ กลุ่มขุนนาง และนายทหารสามารถเป็นวุฒิสมาชิกสภาได้ ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรี ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา (นั่นคือไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง—ผู้แปล) ด้วยวิธีการนี้ ทำให้พลเอกเกรียงศักดิ์ สามารถกำหนดบุคคลภายในคณะรัฐมนตรีได้ ซึ่งสมาชิกรัฐมนตรีส่วนใหญ่เป็นที่พอใจของ K และทำให้พลเอกเกรียงศักดิ์ กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมีพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง



ก่อนการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ มีวุฒิสมาชิกสภาเกือบ 200คนในมือ มาจากกลุ่มนายทหาร และตำรวจ ที่พร้อมสนับสนุน ตนในการสืบทอดอำนาจ ถึงกระนั้นก็ตาม รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากในวัง ทั้งยังมีค ู่แข่งที่น่าเกรงกลัวอย่างหม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน (พรรคกิจสังคม) ขณะเดียวกัน รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ยังประสพความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของประเทศในขณะนั้น (ตัวอย่างเช่นปัญหาน้ำมันแพง, เศรษฐกิจตกต่ำ, และภัยอันอาจเกิดจาก การเข้ารุกรานเขมรของเวียดนาม) สถานการณ์เหล่านี้นำไปส ู่การฉวยโอกาสของ K ผลักดันพลเอกเปรม ขึ้นมาแทนพลเอกเกรียงศักดิ์ และเป็นตัวแทนของราชวงศ์ในการเล่นการเมือง (ผู้แปลขอไม่แปลประวัติอาชีพทหาร ของพลเอกเปรมในย่อหน้าที่ 1-2 ของ หน้า 277 เนื่องจากคนไทยส่วนมาก ทราบกันดีอยู่แล้วว่านายทหารผู้นี้ได้รับการแต่งตั้งอย่างก้าวกระโดดข้ามหัวนายทหารที่อาวุโสกว่า ขึ้นมาถึงจุดสูงสุดทางการทหารได้อย่างไร ทั้งนี้มี K ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังนั่นเอง)



ในสถานการณ์ย่ำแย่ของรัฐบาลเกรียงศักดิ์ โอกาสของเปรมและในวังก็มาถึงในต้นเ ดือนมกราคม 2523 โดยเปรมยกเลิกแผนการตามเสด็จ Q and P2 ไปอเมริกา อย่างกระทันหันพร้อมกับวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาน้ำมันขึ้นราคาในรัฐบาลเกรียงศักดิ์อย่างหนักหน่วง และไม่ใช่ความบังเอิญ ที่พลตรีสุตสาย หัสดิน หัวหน้ากลุ่มกระทิงแดงได้ใช้การ ประท้วงต่อต้านคอมมิวนิสต์ โจมตีรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ในเวลาใกล้เคียง (วันที่ 24 มกราคม) ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว คึกฤทธิ์เองก็มองเห็นโอกาสที่ตนจะขึ้นมาผู้นำคนต่อไป ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ คึกฤทธิ์และ พรรรคกิจสังคม ได้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ขณะเดียวกัน กลุ่มยังเติร์กที่เคยสนันสนุน เกรียงศักดิ์ขึ้นสู่อำนาจ ได้หันมาสนับสนุน เปรมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ทั้งที่เปรมไม่ใช่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง



ย้อนกลับไปกล่าวถึงภาวะความตึงเครียดทางการเมืองในปีพ.ศ.2519 ในวังต้องการให้มีการเปลี่ยนผ่านอำนาจ ทางการเมืองอย่างแยบยลผ่าน การทำรัฐประหารอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ทางวังตระหนักดีว่า ถ้าพลเอกเกรียงศักดิ์ชิงยุบสภาเสียก่อนเพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ก็จะมีความเสี่ยงที่ว่าผู้นำรัฐบาลคนต่อไปอาจไม่ได้มาจากกลุ่มนายทหาร หรือแม้แต่คึกฤทธิ์เอง เหตุผลดังกล่าวนำไปสู่การเข้าพบ K ที่เชียงใหม่ ของเกรียงศักดิ์และเปรม ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์เกรียงศักดิ์ได้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันถัดไปหลังจากการเข้าเฝ้า K โดยไม่ยอมยุบสภา การกดดันของ K ในเรื่องนี้ สร้างความคับข้องใจแ ก่คึกฤทธิ์ ซึ่งก็ถูกบังคับจาก K เช่นกันโดย K ขอให้คึกฤทธิ์ เรียกประชุมสภานิติบัญญัติ เพื่อลงมติเห็นชอบให้ K แต่งตั้งเปรมเป็นนายกคนต่อไป การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถ้าดูเพียงผิวเผิน จะเข้าใจว่า ทุกอย่างดำ เนินไปตามหลักประชาธิปไตย แต่จริงๆแล้ว มันก็คือการท รัฐประหารโดยเจ้านั่นเอง และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ เปรมได้กล่าว คำปฎิญาณตนในการเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 3 มีนาคม ว่า พรรคร่วมรัฐบาลภายใต้การนำ ของตน เป็น“รัฐบาลของ K” คำปฎิญาณ ของเปรมถือเป็นจริงเป็นจังมาก และก็ทำให้เขาสามารถอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้นานที่สุด ถึง 8 ปี ภายใต้การปกป้องอย่างใกล้ชิดของ K



ด้วยระบบน้ำพึ่งเรือ-เสือพึ่งป่า ครอบครัวของ K มีผู้นำรัฐบาลที่มีอำนาจและพร้อมจะรับใช้ราชวงค์อย่างถวายหัว เช่นเปรม เปรียบเทียบกับ นายทหารคนก่อนๆ เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ซึ่งถึงจะจงรักภักดีต่อ K เช่นกัน แต่สฤษดิ์ทุจริตและมักมากในกามารมณ์, จอมพลถนอมและ จอมพลประภาส ทำตัวไม่มีประโยชน์ (ต่อ K และครอบครัว) และได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกา, สัญญา ธรรมศักดิ์ และหม่อมราชวงค์ คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่อนแอและให้ความสำคัญกับรูปแบบประชาธิปไตยตลอดจนเสียงจากมวลชนมากเกินไป ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นคน ไม่หยืดหยุ่น และไม่สามารถควบคุมกองทัพ ในขณะที่ เกรียงศักดิ์ทำตัวเป็นอิสระมากเกินไป (ไม่ค่อยรับใช้K และครอบครัว เท่าที่ควรจะทำ -ผู้แปล)



เปรมต่างจากคนอื่นตรงที่เป็นคนเข้มแข็ง, เชี่ยวชาญหลายเรื่อง, และไม่เคยแสดงออกถึงความยากร่ำอยากรวยหรือชมชอบในอำนาจให้ K เห็น เปรมเข้าใจดีว่า K ไม่สนใจกับการบริหารประเทศไปวันๆ แต่ K ต้องการใครสักคนที่สามารถตอบสนองสิ่งที่ K สอนเชิงสั่งให้ทำ (issued instructions) หรือ ออกความคิดเห็นให้ทำ ทั้ง K และ เปรม มีความเชื่อเหมือนกันในวิธีแห่งการจัดลำดับทางสังคมแบบไทยๆ และคุณค่า ของการจัดลำดับทางสังคมและสาธารณะ โดยการทำให้เห็น และบังคับใช้ให้เป็นตัวอย่างก่อน และถ้าจำเป็นก็ต้อง ใช้การบังคับ ให้ทำตาม โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎหมาย หลักความคิดเหล่านี้ได้ ปรากฎอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ของเปรม (2523-2531) ซึ่งถือเป็นช่วงแห่งความรุ่งโรจน์ของราชวงค์ที่ได้รับการยกย่อง ย่างสูงส่ง และการให้ความ สำคัญต่อกองทัพ ตลอดจนภาคธุรกิจ ที่สนับสนุนเปรม ในช่วง 8 ปีนี้ Kเข้าแทรกแทรกบทบาท ทางการเมืองของเปรมอย่างไร้ยางอาย (unabashed) ในทำนองเดียวกัน เปรมก็ไม่มีความละอายที่จะร้องขอความช่วยเหลือจากในวัง จนเป็นที่รู้กันว่า “เมื่อใดที่เปรมช้ำชอกเขา ก็จะเข้าวังเพื่อ รับการรักษาเยียวยา และปลอบประโลมให้ลุก ขึ้นมาใหม่”จากการที่เปรมมีทุกวันนี้ได้เพราะในวังส่งเสริม จึงเรื่องที่เข้าใจได้ ว่าทำไมเขาทำ ทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของ K และครอบครัวของ K



ยิ่งไปกว่านั้น K และเปรมได้พยายามจะทำความคิด “รัฐบาลของ K” ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยการก่อตั้งระบบ วัง-กองทัพ (a palace-army hierarchy) ขึ้น ภายใต้ความคิดนี้ คนของ Kจะเป็นผู้ดำรงระบบให้คงอยู่โดยการส่งเสริมกลุ่มมืออาชีพที่มีเชื้อสายเจ้า (royal professionals) เข้าไปดำรง ตำแหน่งสำคัญๆในเหล่าทัพ อย่างไรก็ดี ความคิดนี้นำไปสู่การแข่งขันอย่างทุจริตของบุคคลในกองทัพ เพื่อทำให้ตน หรือพรรคพวก ของตนได้เป็นที่โปรดปรานของในวัง ผลก็คือความสามัคคีในเหล่าทัพแตกออกเป็นเสี่ยงๆ และการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเกิดมากขึ้น ส่งผลให ้เสถียรภาพทางการเมืองของเปรม สั่นคลอน และเพิ่มความรุนแรงตามกาลเวลา สิ่งเหล่านี้หาได้รอดพ้นสายตาจากในวัง หลังจากการ ต่อสู้และความขัดแย้งภายในกองทัพเกิดขึ้นหลายครั้งเข้าม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ ซึ่งเป็นเลขาคณะองคมนตรีของ K ได้ออกมาแสดง ความคิดเห็นว่ามีเพียง K เ ท่านั้นที่จะสามารถเป็นผู้นำของประเทศ ภายใต้คำถามที่ว่า “คุณคิดหรือว่า ยังมีคนที่เป็นที่นิยม (ของประชาชน) มากที่สุดและสามารถเป็นผู้นำของชาติ ที่จะพาประเทศก้าวผ่านความยากลำบากและการทุจริตไปได้? ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่น ที่จะหาคนเช่นนั้นได้ คงจะมีสถาบันกษัตริย์เท่านั้น และ K ของเราสามารถทำได้



การขึ้นมามีอำนาจในช่วงแรกๆของเปรมยังไม่เป็นขี้ปากของชาวบ้านนักในช่วงการรุกรานเขมรของเวียดนาม และการคุกคามของ พรรคคอมมิวนิสต์ ต่อความมั่นคงของประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนของ K เปรมได้ใช้ความเปราะ บางของสถานการณ์ดังกล่าว เข้าควบคุมกำลังทหาร ด้วยกรอบการทำงานการใช้นโยบายการเมืองนำการทหารเพื่อต่อต้านการกบฎ และปราบคอมมิวนิสต์(ภายใต้คำสั่งที่ 66/2523 และ 65/2525) ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยด้วย



สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ การวางกำลังและอิทธิพลของทหารในรัฐบาลและสังคมไทย โดยมุ่งใช้อำนาจทางทหารในการสร้างระบอบการเมือง ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง(ฟังดูขัดแย้งกันเองอย่างไรชอบกล-ผู้แปล) สร้างสังคมที่เป็นธรรม และขจัดการทุจริต เพื่อตอบสนอง ความต้องการของ K มันเป็นภาระอันหนักหน่วงของเปรมที่ต้องเผชิญทั้งแรงต้านจากสังคมพลเรือน และจากระบบทุนนิยมแบบผูกขาด ที่สร้างความไม่พอใจให้กับคนในสังคมถือเป็นอีกหนึ่งการทำรัฐประหารเงียบของปีพ.ศ.2523 มีการออกกฎหมาย สนับสนุนรัฐธรรมนูญและ รัฐสภาแห่งระบอบประชาธิปไตยโดยมี K เป็นประมุข อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรอบการทำงานดังกล่าว ทั้งรัฐธรรมนูญและรัฐสภาถูกกดเอาไว้ ใต้การบริหารอำนาจและการจัดการของ Kและเปรมผ่านทางกองทัพ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ กองทัพได้รับอำนาจอย่างชอบธรรม ให้อยู่เหนือระบอบรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ โดยเป็นรองอยู่สถาบันเดียว คือ “ราชบัลลังก์”



ถึงกระนั้น เปรมก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะทำอะไรดีกับอำนาจที่เขาได้มานอกเหนือไปจากการดำเนินบทบาทภายใต้ระบบวัง-กองทัพ ที่ตนและ K ร่วมกันวางไว้ เปรมใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วง4 ปีแรกสำหรับปกป้องตำแหน่งเขา โดยเขาต้องพึ่ง K มาก สิ่งที่เห็นได้ชัดในช่วง 2-3 เดือนหลังจากเปรมขึ้นเป็นผู้นำในปี 2523 ก็คือ เขาได้ใช้ทั้งขนบธรรมเนียม, ประเพณี, และกฤหมาย ในการเพิ่มอำนาจให้กับตัวเอง เพื่อความมั่นคงในอำนาจของตน นอกเหนือจากดำรงตำแหน่งนายกเปรมยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ่งเหล่านี้ (ดำรงตำแหน่งสูงๆ และสำคัญมากกว่าหนึ่งในเวลาเดียวกัน) ไม่ใช่เรื่องปกติและกระทำได้ง่ายๆ ภายหลังเผด็จการถนอม-ประภาสในช่วงพ.ศ.2517-2518 ที่เปรมทำได้ก็เพราะได้รับไฟเขียวจาก K กระ นั้น เปรมไม่สามารถหลีกพ้นคำครหาจากสาธารณะในเรื่องการควบอำนาจ และเป็นที่รู้กันว่า เปรมจะลาออกจากตำแหน่งในกองทัพ เมื่อเขาอายุครบ 60 ปีในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน



อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม กองกำลังทหารของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอกซึ่งกำลังเป็นที่โปรดปรานของ Q ขณะนั้น ได้ยื่นร้องทุกข์ต่อ K ให้เลื่อนการเกษียณอายุของเปรมไปอีกปีหนึ่ง ทั้งนี้พลเอกอาทิตย์ซึ่งคิดว่าตัวเอง จะเป็นทายาทผู้สืบทอดอำนาจ ผู้บัญชาการทหารบกต่อจากเปรม ต้องการให้เปรมอยู่ในตำแหน่งต่อสักพัu3585 กเพื่อสกัดนายทหารคู่แข่งและมีอายุราชการอาวุโสกว่าพลเอกอาทิตย์ นั่นคือ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา การต่ออายุ ราชการทหารของเปรมในครั้งนั้น ได้รับการวิพากวิจารณ์อย่างขว้างขวาง แม้แต่สมาชิกในคณะรัฐบาลของเปรมเองโดยเปรียบเทียบว่าเหมือนกับการกระทำในสมัยจอมพลประภาพที่นำไปสู่การกบฏใน ปีพ.ศ. 2516อย่างไรก็ตาม เปรมได้เข้าเฝ้า K ในวันที่ 1 กันยายน หลังจากนั้นเขาได้ประกาศว่า K ได้สนับสนุนการต่ออายุราชการทหารของเขา คณะรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้เปรมแสดงหลักฐานดังกล่าว ต่อมาพวกเขาถูกเรียกตัวให้เข้าเฝ้าในวันที่ 1 กันยายน ไม่มีการรายงานว่า K กล่าวอะไรกับคณะรัฐมนตรีที่เข้าเฝ้า แต่หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้การรับรองการต่ออายุผู้บัญชาการกองทัพของเปรม



มีนักการเมืองรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งที่ยังไม่เงียบ อาทิ ชวน หลีกภัย ได้ออกมากล่าวว่า การต่ออายุตำแหน่งข้าราชการ ของเปรมเป็นการกระทำ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และกลุ่มยังเติร์กบางส่วนได้ออกมาคัดค้านเช่นกัน ขณะที่ส่วนใหญ่ของกลุ่มยังเติร์กให้การสนับสนุนอาทิตย์ การคัดค้านที่ดูเหมือนจะมีนัยยะต่อสังคมมากที่สุด ก็คือการออกมาเคลื่อนไหวประท้วงของนักเรียน กลุ่มเล็กๆแต่นักเรียนกลุ่มนี้ ต้องหยุดประท้วงไปในที่สุด เพราะถูกข่มขู่จากกลุ่มกระทิงแดงที่พลตรีสุตสายหัสดิน เป็นหัวหน้าและได ้ออกมาประกาศก้องว่า “ประชาชนควรจะรู้ว่า ฉันเป็นคนที่อันตราย”



ในวันที่ 5 ธันวาคม 2523 K ได้กล่าวสนับสนุนเปรมในวันคล้ายวันเกิดของเขา และส่งสารถึงกลุ่มที่รักประธิปไตยว่า “กลุ่มคนที่ฉลาดที่ยืมทฤษฎีมาจากต่างประเทศ ฉันใช้คำว่า “ยืม”เพราะว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ของเรา นักวิชาการยืมเทคโนโลยีมา และพยายายามจะใช้มันเพื่อสร้างความเจริญแ ก่ประเทศไทยเพียงเพื่อที่พวกเขาจะได้รับคำชื่นชม (จากเจ้าของเทคโนโลยี-ผู้แปล) ต่อการนำเทคโนโลยีและทฤษฎีที่ไม่เป็นไทยมาใช้” คำพูดในวันนั้นของ K แสดงให้สังคมรับรู้อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างเปรมและในวัง



ภายใตก้ารบริหารประเทศและการปราบปรามผ ู้ก่อการอันเป็นคอมมิวนิสต์ของเปรมการนำคำสั่งที่ 66/2523 มาใช้ สามารถเร่งการล้มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยให้เร็วขึ้น กลุ่มนักศึกษา และผู้ที่เข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์u3652 ได้ออกจากป่ามามอบตัวต่อทางราชการเป็นจำนวนมาก ในปีพ.ศ.2524 พรรคคอมมิวนิสต์ที่ต่อต่านยังคงเหลืออยู่บ้าง ในพื้นที่ส่วนใต้สุดของไทย, รอบๆ เขาค้อ, และภาคเหนือตอนล่าง ในเดือน มกราคม 2524 K ได้วางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริเวณเขาค้อ ในครั้งนั้น พลเอกพิจิตร กุลละวาณิชย์ได้เป็นผู้ช่วยเปรมเข้าปราบปราม พรรคคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ป่าเขาค้อ ทั้งทางบกและทางอากาศ เป็นเวลาถึง 5 เดือนเต็มเพื่อเข้ายึดพื้นที่สีชมพู (บริเวณรอบเขาค้อ) คืนจนสำเร็จ นำไปสู่การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในครั้งนั้นรัฐบาลเสียกำลังคน 1,300 นายในการต่อสู้ และพื้นที่ป่าเขาค้อถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพ



ขณะเดียวกัน สถานภาพทางการเมืองของเปรมในกรุงเทพก็ไม่สู้ราบรื่นนัก ในภาวะบ้านเมืองตกต่ำ พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ได้เติบโตพร้อมกับมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนต่อผู้สนันสนุนพรรคด้วยการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกต่อต้านจากสาธารณะ ในช่วงต้นปีพ.ศ.2524 มีกระแสว่าเปรมมีแผนการจะต่ออายุการเป็นผู้บัญชาการทหารบกของเขา ออกไปอีก ส่งผลในให้นักการเมืองจำนวนมากที่หวังว่าจะได้เปรียบในเกมการเมือง ครั้งต่อไปลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเปรม กระทั่งคึกฤทธิ์เองก็เตรียมแผนที่จะนำพรรคการเมืองของเขาเข้ามาเป็นผู้นำรัฐบาล



หากดูเหมือนว่าเปรมไม่มีทีท่าว่าจะลงจากตำแหน่งง่ายๆ เปรมได้เตรียมจัดตั้งรัฐบาลผสมทีมใหม่ขึ้นมา โดยมีกลุ่มทหารขวาจัดเป็นแกนนำ กลุ่มคนที่เป็นหัวหอก ได้แก่ พลตรีสุตสาย หัสดินและ พลเอกประจวบ สุนทรางกูล ซึ่งมีความหวาดกลัวว่าจะมีการหวนกลับมา อีกครั้งของกลุ่มขวาจัด อย่างที่คาดไว้ K ได้ให้การอนุมัติบัญชีรายชื่อคณะรัฐบาลที่เปรม จัดตั้ง ในคืนวันที่ 31 มีนาคม2524 ได้มีความพยายามของกลุ่มทหารต่างฝ่ายกระทำรัฐประหาร แต่ทำไม่สำเร็จ และกลายเป็นรัฐประหารโกหกในวันรุ่งขึ้นไป (April Fools’ Day coup) ความล้มเหลวในความพยายามจะทำรัฐประหารครั้งนั้น เน้นให้เห็นความสำพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่าง K และเปรมในช่วงเวลาดังกล่าว



กลุ่มยังเติร์ก (จปร.7) เป็นผู้นำในการทำรัฐประหารในช่วง 31 มีค.-1 เมย.2514 กลุ่มทหารเหล่านี้เป็นหทารมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ผ่านสมรภูมิการรบในลาวและเวียดนามมาแล้ว และเคยให้การสนับสนุนเปรมในช่วงปีพ.ศ. 2523 ในกลุ่มยังเติร์กที่มีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับเปรมได้แก่ มนูญ รูปขจร และจำลอง ศรีเมือง จะเห็นได้ว่า หลังจากเปรมขึ้นสู่อำนาจในปี 2523จำลองได้เป็นเลขาธิการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระนั้นก็ตาม นายทหารกลุ่มยังเติร์กไม่ได้ ชื่นชอบการอุปถัมถ์ทางการเมือง ของราชวงศ์ (นี่คือจุดต่างจากเปรม)



รายละเอียดของรัฐประหารโกหกในวันที่ 1 เมษายน ถูกทำให้คลุมเคลือโดยในวังและผู้มีส่วนร่วม เพื่อปกป้องชื่อเสียงของ Q และเปรม และนี่ก็ไม่ใช่การทำรัฐประหารต่อต้านเปรม แต่เป็นรัฐประหารต่อต้านการ กระทำของเปรมที่อาศัยอำนาจ ทางการทหารของเขาปกป้องตัวเอง ให้รอดพ้นจากกลุ่มผู้ต้านในรัฐสภา กลุ่มยังเติร์กไม่มีความสุขต่อการสนับสนุนนักการเมืองและข้าราชการทุจริต ตลอดจนการชื่นชมพลเอกอา ทิตย์ กำลังเอก อย่างออกนอกหน้าของในวัง มีหลายคราที่มนูญและ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เข้าพบเปรม และขอร้องให้เปรมล้มเลิกระบบรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ และปกครองประเทศตามแบบฉบับของจอมพลสฤษดิ์ในปีพ.ศ. 2501 ดูเหมือนว่าในครั้งแรก เปรมจะเห็นด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่



กลุ่มผู้นำรัฐประหาร (ในคืนที่ 31 มีนาคม 2524)ได้เคลื่อนกำลังเพื่อเข้าควบคุมกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม Q ได้เข้าแทรกแซงและเรียกตัวเปรม เข้าเฝ้าที่วังจิตรลดา ทั้งนี้ก็เพราะ Q ต้องการปกป้องพลเอกอาทิตย์ โดย Q ได้โทรศัพท ์ถกเถียงกับผู้นำรัฐประหารเป็นเวลานาน และเรียกร้องให้กลุ่มผู้นำรัฐประหารเข้ามาเฝ้าในวังเพื่อจะได้พูดคุยกันเมื่อได้รับการปฎิเสธจากกลุ่มผู้นำรัฐประหาร Q ได้หันมาเกลี้ยกล่อมให้เปรม และ K ยกเลิกการสนันสนุนการทำรัฐประหารดังกล่าว กลุ่มผู้นำรัฐประหารได้เดินหน้าต่อไป และประกาศการเข้ายึดครองอำนาจ ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 เมษายน 2524 ในขณะเดียวกัน เปรมได้อพยพครอบครัวราชวงค์ทั้งหมดโดยเคร ื่องบิน(เฮลิคอปเตอร์) ไปยังฐานทัพบกภาคที่ 2 ที่โคราช ที่อาทิตย์เป็นผู้บัญชาการทหารอยู่ บนชั้นที่สองของที่พักส่วนตัวของเปรม Q, อาทิตย์ และ เปรม ได้เปิดศึก ุถุ่มเถียงกันขึ้นโดยประเด็นสำคัญว่าใครกันแน่ที่เสวยสุขจากความชมชอบของราชวงศ์และทำเพื่อ K อย่างแท้จริง ในตอนบ่ายของวันเดียวกัน เปรมได้ออกอากาศว่า ครอบครัวของราu3594 ชวงศ์อยู่กับเขา และการกระทำของกลุ่มรัฐประหาร เป็นปฎิปักษ์ต่อประเทศชาติและราชบัลลังก์ เปรมได้ตราหน้ากลุ่มผู้ทำรัฐประหาร ว่าเป็นพวกน่าละอายและเหยียดหยามว่า ไม่กล้าแม้แต่จะเข้าเฝ้า K ในที่สุด Q (ไม่ใช่ K) เป็นผู้ออกมาเรียกร้องให้มีความสมัครสมัคคี พร้อมกับตำหนิผู้วางแผนก่อการรัฐประหาร รัฐบาลของพระเจ้าแผ่นดินภายใต้การนำของนายกเปรม คำพูดของ Q ถูกถ่ายทอดซ้ำเป็นระยะๆ ในอีก 36 ชม. ถัดมาหลักฐานที่แสดงจุดยืนของราชบัลลังก์ ในเวลาต่อมาอีกอย่างก็คือ ในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ P3 นั้น รูปของ P3ไ ด้ปรากฎบนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายฉบับพร้อมกับคำบรรยายใต้รูปว่า P3 ได้อยู่กับเปรมที่ฐานทัพภาคที่ 2



ในขณะที่ K ยังเงียบอยู่ ผู้นำรัฐประหารกล่าวหาเปรมว่าลักพาตัวครอบครัวราชวงศ์ และแถลงการณ์ว่า เปรมใช้ราชวงศ์ เป็นเกราะกำบังและดึงเอา K มายุ่งเกี่ยวกับการเมือง และอธิบายว่าคณะรัฐประหารไม่ได้ปฎิเสธการเข้าเฝ้า K แต่เป็นเปรมเองที่ไม่ยอม ให้พวกเขาเข้าเฝ้า K“คณะปฎิวัติมีความปรารถนา ที่จะส่งตัวแทนเข้าเฝ้า K และ Q….เราต้องการอธิบายความจริงต่อ Kและประชาชน”



อย่างไรก็ดี เปรมถือไพ่เหนือกว่า เขาประกาศว่า “กองทัพเกือบทั้งหมดเข้าข้างตน และ Kก็อยู่กับพวกเรา หากในความเป็นจริง เปรมใช้เวลาถึง 2 วันในการล็อบบี้ผู้บังคับบัญชาการทหารภาคต่างๆ ให้มาอยู่ข้างเปรม ท้ายสุดได้มีการใช้กำลัง บังคับให้มนูญและพรรคพวก เข้ามอบตัวต่อพลเอกอาทิตย์ ในตอนเช้าวันของวันที่ 3 เมษายน พร้อมกับภาวะการเป็นผู้นำของเปรมก็รอดพ้นจากการถูกปล้นอีกครั้ง โดยแทบจะไม่มีการใช้ความรุนแรง



ความคลุมเครือในการวางตัวของ K ต่อรัฐประหารโกหกเดือนเมษา เป็นเทคนิคป้องกันไม่ให้ชื่อเสียงของ Kเสียหาย หรือถ้าจะเสียหาย ก็ให้น้อยที่สุด แต่หลังจากนั้น การที่ K ยังติดอยู่กับเปรม ก็เป็นตัวอธิบายได้ดีว่า K ยังคงสนับสนุนเปรม ให้คงอำนาจอยู่ในรัฐบาล กระนั้นก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง มีการนิรโทษกรรม ต่อผู้ทำรัฐประหารทั้งหมดอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีความเข้าใจ ผิดท่ามกลางลูกๆ ของ K เกี่ยวกับความปลอดภัย ดังจะเห็นได้จากมีการวาง ระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด กว่าปรกติในการปรากฎตัวในที่สาธารณะของครอบครัวราชวงศ์ในu3594 ช่วงอา ทิตย์แรกๆ หลังการรัฐประหารในปีถัดมา ทั้งเปรมและอา ทิตย์ลอดพ้นจากการถูกลอบสังหารหลายครั้งหลายครา โดยผู้ต้องสงสัยเป็นคนในกองทัพนั่นเอง เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ Kตระหนักว่า การยุ่งเกี่ยวทางการเมืองและการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายในกองทัพเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์ ซึ่งก็ตรงกับที่ได้รับรายงาน เป็นการส่วนตัวจากเจ้าหน้าที่ที่ทำงานให้กับในวัง



กระนั้น K ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะดำเ นินการต่อปัญหาดังกล่าวอย่างไร อย่างไรก็ตามเปรมตัดสินใจไม่ต่ออายุราชการทหารของเขาในปีหน้า แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาว่าเขาอาจจะสูญอำนาจในตำแหน่งนายก เพราะ K รับรองให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอย่างน้อยอีกหนึ่งปี หลังจากความล้มเหลวในการทำรัฐประหารของกลุ่มยังเติร์กเมื่อ 1 เมษายน ที่ผ่านมา พลเอกอาทิตย์ก็ได้รับการเลื่อนขั้น ขึ้นอย่างรวดเร็วให้มีอำนาจเป็นรองแค่เปรมเท่านั้น และได้เป็นผู้บังคับบัญชาการทหารบกสาน ต่ออำนาจผู้นำทางการทหารต่อจากเปรม ในปีพ.ศ.2525 หลังจากที่เปรมลงจา กตำแหน่งในปีนั้น



ในเจ็ดปีแห่งความสับสนวุ่นว่ายถัดมา สถานภาพและบทบาททางการทหารและรัฐสภาของเปรมยังคงได้รับการปกป้องภายใต้ร่มเงาของ K ทั้งสองคนยังพบปะกันอย่างมิได้ขาด และ Kยังได้ส่งสัญญาณให้สาธารณะชนรับรู้อย่างสม่ำเสมอว่าเขายังสนับสนุนเปรม ที่โดดเด ่นที่สุดจะเห็นจากการสนับสนุนเปรมผ่านเชิงสัญลักษ์ณทางศาสนาพุทธ ดังที่ปรากฎในเดือนกรกฎาคม 2525ที่ K ป่วยหนักด้วยโรค mycoplasmic infection และปอดบวม และในวังหวาดวิตกว่า K อาจจะตายK กล่าวถึงการป่วยของเขาในเวลาต่อมาว่า เขาได้ก้าวผ่านแดนสนธยา หลังจากนอนป่วยบนเตียงอยู่สามอาทิตย์ K ลุกขึ้นไปเดินเล่นเป็นการส่วนตัวในสวนจิตรลดาโดยมี P3 และเปรมเดินตามอยู่ข้างหลัง จากภาพที่ปรากฎสะท้อนให้เห็นตำแหน่งของเปรมดุจดังเจ้าฟ้าชายอาวุโสของราชวงศ์จักรี ระหว่างทางของการเดินเล่น K ได้ขอให้หญิงในวังที่เฝ้าสระเด็ดดอกบัวในสระให้ หญิงดังกล่าวเด็ดดอกบัวส่งผ่านเปรมซึ่งคุกเข่า และยื่นดอกบัวส่งต่อให้ K อีกทอดหนึ่ง K รับดอกบัวไปจ้องมองก่อนส่งคืนอย่างนุ่มนวลให้เปรม



แน่นอนว่า ภาพดังกล่าวตกเป็นข่าวทางทีวีและตามหน้าหนังสือพิมพ์ และการสนับสนุนเปรมของ K ผ่านทางสัญลักษณ์ทางu3624 ศาสนาก็เป็นที่รับรู้ของประชาชนอย่างง่ายดาย นั่นคือ ดอกบัวในทางศาสนาพุทธ เปรียบเสมือนความบริสุทธิ์และการตรัสรู้ ดอกไม้ชนิดนี้ปรกติใช้สำหรับบูชาพระส่วนหญิงในวังผู้ซึ่งเด็ดดอกบัวยื่นให้เปรม ตระหนักว่า เปรมเป็นบุคคลที่ทรงเกียรติพอ ที่จะส่งต่อดอกบัวให้กับ K ท่าทีการถือดอกบัวของ K ตลอดจนการจ้องมองอย่างพินิจของเขา เปรียบเสมือนการแสดงตนคล้าย ดังพระพุทธเจ้าที่เต็มไปด้วยกรุณาคุณ และการที่ K ส่งดอกบัวต่อให้เปรม ก็เป็นการยืนยันถึงบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ของเปรม เช่นเดียวกัน



ในที่สุด K ก็หายป่วย และเปรมยังครองอำนาจในการผู้นำอย่างเข้มแข็ง ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วประเทศ ผู้บังคับบัญชาทหาร (พลเอกอาทิตย์) ยังมีความสุขกับการได้รับอนุญาตให้เข้าออกในตำหนัก โดยรอบตัว Q เต็มไปด้วยนายทหารและตำรวจชั้นนายพล ตลอดจนเหล่าภรรยาที่เข้าเฝ้ารับใช้อย่างไม่ขาดสาย แขกที่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยงในวังบ่อยที่สุดคือบรรดานายทหารชั้นผู้ใหญ่ โดยเหล่านายพลจะผลัดเปลี่ยนกันเต้นรำกับ Q และร้องเพลง ขณะที่K เป่าแซกโซโฟน อย่างไรก็ตาม นักการเมืองและนักธุรกิจแทบ จะไม่เคยได้รับเชิญไปงานดังกล่าว



ท่ามกลางความรื่นเริงในวัง รัฐบาลภายใต้การนำของเปรมได้ตอบโต้เสียงติฉินและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ว่าเป็นการกระทำของพวกศัตรู ของชาติและคอมมิวนิสต์ มีกลุ่มนักเรียนทำการประท้วงปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปลายปี 2525 แต่ถูกกลุ่มกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้าน ข่มขู่บังคับให้หยุดชุมนุม ทั้งนี้ กลุ่มลูกเสือชาวบ้านถูกกล่าวหาว่า มีส่วนพัวพันในการฆาตกรรมนักเรียนซึ่งเป็นผู้นำการประท้วงต่อต้านการขึ้นค่ารถเมล์ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์



ในยุคของเปรม รัฐบาลตกอยู่ใต้อำนาจของสถาบันทหารอย่างถาวรภายใต้การนำของ Kดังจะเห็นได้จากส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ 2521 ที่ให้ทหารมีอำนาจครอบงำวุฒิสภาชิกสภาและอนุญาตให้นายทหารสามารถรับตำแหน่งทางการเมือง โดยไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อสิ้นสุดในเดือนเมษายน 2526 หลังจากที่อำนาจของรัฐสภาถูกทำให ้ลดลงและข้าราชการพลเรือน-ทหารถูกห้ามใม่ให้เข้ารับตำแหน่งทางการเมือง ในขณะเดียวกัน พรรคการเมือง พรรคเล็กพรรคน้อยถูกผลักดันให้มีการรวมตัวเป็นพรรคใหญ่ พรรคเดียว เพื่อแก้u3611 ปัญหารัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพและการ ปฎิบัติหน้าที่ไม่ค่อยได้ผล ในทางปฏิบัติ การเมืองแบบพรรคเล็กพรรค์น้อยเป็นผลดีต่อเปรม ผู้ซึ่งคอยยุให้พรรคการเมืองตีกันเอง โดยมีในวังสนับสนุนการกระทำดังกล่าว ในเดือนมกราคม 2526 เปรมได้ทำให้โครงสร้างเฉพาะกาลกลาย เป็นสิ่งถาวรผ่านทางการแปรญัตติรัฐธรรมนูญ ครั้งหนึ่ง เปรมเจอการต่อต้านอย่างหนักโดยไม่คาดหมายจากรัฐสภา และแม้กระทั่งจากกลุ่มนายพลหทารหัวก้าวหน้า ผู้ช่วยของเปรมขณะนั้น พลเอกพิจิตรกุลละวานิชย์ แนะนำเปรมว่า อาจจะมีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก ถ้ากองทัพไม่มีที่ไม่มีทางในรัฐบาล



ด้วยการสนับสนุนเปรม K ได้ประกาศให้มีการประชุมสมัยพิเศษขึ้นเพื่อการแปรญัตติรัฐธรรมนูญ การแปรญัติติผ่านไปอย่างง่ายดายในวาระที่ 1 และวาระที่ 2 อาศัยความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากทั้งสองสภา แต่ในวาระที่ 3 ที่จัดขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม 2526 นั้น 2 ใน 3ของการออกเสียงเสนอให้การแปรญัตติตกไป



อย่างไรก็ตาม เปรมมีอีกแผนหนึ่งซึ่งต้องการความเหมาะเจาะในเรื่องของช่วงเวลาที่จะทำให้สังคมเห็นว่า K ให้การสนับสนุนตนอย่างชัดเจน ช่วงเปลี่ยนรัฐบาลยุติในวันที่ 21 เมษายนโดยเปรมให้ขอร้องให้ K ยุบสภาในวันที่ 19 มีนาคม (At Prems’ request the king dissolved parliament on March 19, p.284, Hanley 2006) และกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 18เมษายน หมายความว่า รัฐบาลใหม่ต้องก่อตั้งภายใต้กฎหมายเดิม มีอายุได้นาน 4 ปี และอำนาจของทหารในทางการเมืองยังดำรงอยู่ต่อไป



ในช่วงการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์และพรรคกิจสังคมได้ใช้สองประเด็นเป็นตัวชูโรงในการหาเสียงกับประชาชน นั่นคือ ระหว่างประชาธิปไตย และเผด็จการทางทหาร ประชาชนจะเลือกฝ่ายไหน และประเด็นแอบแฝงก็คือ K สนับสนุนเปรม อย่างไรก็ดี ต้องขอบคุณคะแนนเสียงจากชนบท เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุด ผู้ชนะการเลือกตั้งโดยครองเก้าอี้ในสภามากที่สุดคือพรรคชาติไทยของประมาณ อดิเรกสาร และชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งมีภาพพจน์ของการทุจริตและมีความเชื่อมโยงกับฝ่ายขวาที่ใช้ความรุนแรงในปีพ.ศ.2519 ขณะที่ภาพพจน์ของประมาณเป็นปัญหาต่อการเป็นผู้นำประเทศ เปรมที่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้ใช้ประโชยน์จากความหวาด กลัวภาพลักษณ์ของประมาณ(ของสังคม-ผู้แปล) กดดันพรรคการเมืองใหญ่ๆ ฝ่าu3618 ยตรงข้ามประมาณให้สนับสนุนตน และผลักดันพรรคชาติไทยไปเป็นฝ่ายค้าน



เปรมแสดงให้นักการเมืองเห็นว่าเขาจะไม่เคยลืมนักการเมืองที่ให้การสนับสนุนเขา แทนที่จะจัดสรร ตำแหน่งตามลำดับและความเหมาะสม เปรมกลับเลือกคนนอกที่แสดงความ จงรักภักดีต่อเปรมมาเป็นรัฐมนตรี แล้วเปรมก็เดินหน้าสร้างความชอบธรรมในการสร้างระบบ วัง-กองทัพต่อไปภายใต้สโลแกนที่ว่า “กองทัพจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องประเทศ, เสรีภาพของชาติ,และ ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”.



K แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเขาสนับสนุนเปรมในการเคลื่อนไหวในแต่ละเรื่อง ในวันคล้ายวันเกิด (5 ธันวาคม) ปีพ.ศ.2526 จากเวลา 45 นา ทีที่ K ออกมาพูด มีหลายส่วนในคำพูดของ Kที่แสดงให้เห็นว่า K ต่อต้านนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่ข้าราชการที่เป็นพลเรือน ในทางกลับกัน ในคำกล่าวทั้งหมดไม่มีส่วนใหนคัดค้านเปรมและการเป็นผู้นำทางการทหาร Kตำหนิเจ้าหน้าที่และนักการเมืองในการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างงี่เง่า ปล่อยให้พื้นที่กรุงเทพส่วนใหญ่จมน้ำอยู่หลายสัปดาห์ K แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลุ่มนักการเมืองและข้าราชการพลเรือนเหล่านี้ไร้ความสามารถ ต่างจากกลุ่มนายทหาร



ในการกลับมาอยู่ในตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง เปรมยังคงปกป้องและส่งเสริมสถาบันกษัตริย์อย่างต่อเนื่อง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ ปกปิดจุดด่างพร้อยต่างๆ ของครอบครัว K ซึ่งนับเป็นงานที่ยากสาหัส ทันทีที่เปรมเข้ารับตำแหน่งในปี พ.ศ. 2523 เขาได้รื้อฟื้นโครงการก่อสร้างอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 ที่รัฐสภา ซึ่งริเริ่มให้ก่อสร้างในสมัยธานินท์ กรัยวิเชียรในปีพ.ศ.2519ทั้งนี้เพื่อให้เป็น สัญลักษณ์ว่าราชบังลังก์สนันสนุนความเป็นประชาธิปไตย มีการเฉลิมฉลองอนุสาวรีย์ ในวันรัฐธรรมนูญของปีพ.ศ.2523 และมีโครงการจะเปลี่ยนชื่อวันนั้นเป็นวันประชาธิปกตามชื่อรัชกาลที่ 7 อย่างไรก็ดี ความคิดดังกล่าวล้มเลิกไป ในช่วงเวลาเดียวกัน โครงการอนุสาวรีย์ของกลุ่มบุคคล (ใ นปี 2475-ผู้แปล) ที่ทำการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ถูกรัฐบาลคัดชื่อออกไปจากบัญชีรายการมรดกแห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยับยั้งไม่ให้อนุสาวรีย์นี้u3606 ถูกสร้างขึ้น



นั่นคือ รัฐบาลเปรมต้องการลบล้างความทรงจำของคนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลาผ่านไปกว่า 50 ปี จึงมีผู้คนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ยังคงจำเรื่องราวความจริงของวันที่ 24 มิถ ุนายนได้ นอกจากนี้ เปรมยังต้องรับภาระในการจัดการเรื่อง ของอดีตผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2 ท่าน ได้แก่ ปรีดี พนมยงค์ และพระพิมลธรรม ในขณะที่เปรมครองอำนาจ ปรีดีอาศัยอยู่ที่กรุงปรารีส และมีอายุ 80 ปี หลังจากที่ลี้ภัยจากประเทศไทยไปเมื่อ 30กว่าปีที่แล้ว ครอบครัวและมิตรสหายของ ปรีดีได้ยื่นฎีกาต่อ K ให้อนุญาตปรีดีกลับมาไทยโดยร้องขอความปรานีและการอภัยจาก K แต่ในวังกลัวว่า ปรีดียังคงเป็นอันตรายทาง การเมือง(อันจะกระทบถึงความมั่นคงต่อรัฐบาลทหารของ K-ผู้แปล) นอกจากนี้ ปรีดียังเป็นวีระบุรุษของนักศึกษาในทศวรรษ 2500 อีกทั้งลูกศิษย์ลูกหาของปรีดีมากมายได้เป็นครูบาอาจารย์ และเป็นใหญ่เป็นโตในระบอบราชการปัจจุบัน



เปรมได้แก้ปัญหาดังกล่าวให้กับ K ด้วยการสร้างข่าวว่า ปรีดีสามารถกลับไทย และในวังไม่ได้ติดใจว่าปรีดีปลงพระชนน์รัชกาลที่ 8 อย่างไรก็ดี การอนุญาตอย่างเป็นทางการไม่เคยเกิดขึ้นแต่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้ง K) ไม่ถูก(สังคม)ตำหนิว่าไม่มีความเป็นธรรมต่อปรีดี ปรีดีเสียชีวิตในกรุงปารีสในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 การตายของปรีดีได้เผยให้เ ห็นความอาฆาตแค้นของในวังต่อปรีดี หลังจากที่ปรีดีเสียชีวิต ร่างของเขาถูกส่งกลับมายังบ้านเกิดในประเทศไทยเพื่อทำพิธีปนญา นกิจศพ ในวังปฎิเสธการเป็น เจ้าภาพในพิธีเพลิงศพปรีดี ผิดกับปกติที่ทางวังจะส่งตัวแทนมาเป็นเจ้าภาพในพิธีงานศพของผู้นำรัฐบาลคนก่อนๆ ทุกครั้ง ยกเว้นงานเพลิงศพของจอมพลพิบูลย์สงคราม



บทบาทของผู้นำอีกคนที่สร้างความปวดหัวให้กับเปรม คือ พระพิมลธรรม หลังจากได้รับการขับออกจากการเป็น สมณเพศและถูกจำคุกโดยข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงของสฤษดิ์ ในต้นทศวรรษ 1960 พระพิมลธรรมยังคงมีบทบาทในทศวรรษ 1970 ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2523เจ้าอาวาสวัดมหาธรรมถึงแก่อาสัญกรรม และพระลูกวัดได้โหวตให้พระพิมลธรรมเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส อย่างไรก็ตาม ทางวังและราชา คณะสงฆ์ (มหาเถระสมาคม) ไม่รับรองการแต่งตั้งให้พระรูปใดขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาสวัดที่สำคัญที่สุดขu3629 องประเทศ หลังจากนั้น 9 เดือน เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณะและการข่มขู่จะทำการประท้วงของพระ ได้ผลักดันให้มหาเถรสมาคม จำต้องยอมให้พระพิมลธรรมเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุรูปต่อไป



เรื่องยังไม่จบเพียงเท่านั้น ในระบบของมหาเถระสมาคม ตำแหน่งสูงสุด คือ สมเด็จซึ่งจะมอบให้กับพระชั้นสูง ที่มีอาวุโสสูงสุดทั้งด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ ตำแหน่งสมเด็จนี้ มี 6ตำแหน่ง และสมเด็จหนึ่งในหกตำแหน่งนี้จะได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสังฆราช อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของมหาเถระสมาคม ตำแหน่งรองสมเด็จ มี 12 ตำแหน่ง โดย K จะเป็นผู้พระราชทานตำแหน่งใหักับสมณะเจ้าทั้งหมดนี้ ภายใต้คำแนะนำจากสภามหาเถระสมาคม และกรมการศาสนาในวันที่ 5 ธันวาคม



พระพิมลธรรมอยู่ในอันดับรองสมเด็จในทศวรรษ 1950 ต่อมา สฤษด ิ์ได้ถอดตำแหน่งของพระพิมลธรรมออกไป แต่ได้รับตำแหน่งคืนในปีพ.ศ. 2518 พระพิมลธรรมมีคุณสมบัติครบถ้วนต่อการรับตำแหน่งสมเด็จในสภามหาเถระสมาคม แต่ถูกในวังขัดขวางจนไม่ได้รับตำแหน่ง ต่อมาหนึ่งในหกสมเด็จพระเถระ สวรรคตในปีพ.ศ. 2526 มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้มอบตำแหน่งสมเด็จให้แก่พระพิมลธรรม ซึ่งจริงๆ แล้ว พระพิมลธรรมมีคุณสมบัติมากกว่าพระรูปอื่นๆ และท ่านเป็นรองสมเด็จที่อาวุโสกว่าพระอีกสองรูป ที่เข้ารับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไปก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว สภาคณะสงฆ์ภาคอิสาน (Isan sangha council) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการสนับสนุนพระพิมลธรรมขึ้นสู่ตำแหน่งสมเด็จพระเถระ



เปรมและในวังมีปฏิกริยาตอบสนองต่อเสียงเรียงร้องดังกล่าวด้วยการรื้อฟื้นข้อกล่าวหาว่าพระพิมลธรรม เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ, สถาบันกษัตริย์, และสถาบันสงฆ์ แท้จริงแล้วเปรมและในวังกังวลใจว่าพระพิมลธรรมจะได้รับเลือกขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช หากท่านได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในหกสมเด็จพระเถระ เนื่องจากสมเด็จพระเถระที่ด้อยอาวุโสกว่าถูกตระเตรียมไว้แล้ว (โดยเปรมและทางในวัง) เพื่อให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อไป นั่นคือพระญาณสังวร ซึ่งเป็นพระที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณของ K



กรณีของพระพิมลธรรมก็เหมือนกับที่เกิดขึ้นต่อการกลับมาของปรีดี มีประเด็นที่ถ ุกหยิบยกมากล่าวถึงในเครือข่ายลับระหว่างวัง, สภาสงฆ์, และรัฐบาล และอุบัติเหตุถูกนำมาใช้เป็นอุบายกีดกันการแต่งตั้งพระพิมลธรรมเป็นสมเด็จ เริ่มจากทางสภาสงฆ์ สืบเนื่องจากการที่หัวหน้า คณะสงฆ์ภาคอีสาน ได้เสนอชื่อพระพมนธรรมเข้าชิงตำแหน่งในวันที่ 20 พฤศจิกายน ก่อนจะถึงวันคล้ายวันเกิดของ K แปดวัน หลังจากการเสนอชื่อ สมเด็จพระสังฆราชได้ขอให้กรมการศาสนาเสนอการแต่งตั้งสมเด็จพระเถระในตำแหน่งที่ว่างลงเข้าสู่สภาสงฆ ์เป็นท ี่แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นและได้รับการอธิบายภายหลังว่า เนื่องจากจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชที่บรรจุคำร้องดังกล่าวหายไป นี่เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อ เพราะเรื่องสำ คัญแบบนี้ไม่ควรจะสูญหาย เปรียบเสมือนเป็นการทำคำสั่ง (ที่จะแต ่งตั้งสมเด็จพระเถระ) ของ K หายไปเลยทีเดียว แน่นอนว่าเหตุการณทั้งหมดนี้ Kมีส่วนรู้ร่วมเห็น และโดยไม่ต้องสงสัย พระพิมลธรรมไม่ได้รับแต่งตั้ง เป็นสมเด็จพระเถระหนึ่งในหกในวันที่ 5 ธันวาคมของปีนั้น



ในกลางปีพ.ศ. 2527 สมเด็จพระเถระอีกองค์หนึ่งสรรคต ทำให้มีตำแหน่งสมเด็จว่างลงสองตำแหน่ง (รวมหนึ่งตำแหน่งที่ว่าง อยู่ก่อนหน้านี้เพราะ พระพิมลธรรมไม่ได้รับการแต่งตั้ง)และเป็นอีกครั้งที่วันเกิดของ K ผ่านไปโดยไม่ได้มีการแต่งตั้ง พระรูปใดขึ้นเป็นสมเด็จพระเถระทั้งที่การแต่งตั้งพระอันดับสูงทั้งสิบตำแหน่งถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่สำ คัญของ K ในการสร้างความเป็นสิริมงคล ให้กับตัวเองแต่กลับละเลย จึงเป็นเรื่องชัดเจนว่า การที่ K งดเว้นการแต่งตั้งสมเด็จพระเถระ ในสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากเขาไม่ต้องการแต่งตั้งพระพิมลธรรมขึ้นเป็นหนึ่งในสมเด็จพระเถระ ในขณะนั้น พระพิมลธรรมอายุ 83 ปีแล้ว และในวังหวังง่ายๆ ว่า พระพิมลธรรมจะตายในเร็ววันนี้เหมือนกับปรีดี ปีพ.ศ.2528 จึงผ่านไปอีกปีโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ในมหาเถระสมาคม ในขณะที่ พระอันดับสูง 17 รูป จากสภาสงฆ์อิสานได้ขู่ว่าจะคืนยศและตำแหน่งใหักับสภาสงฆ์ การกระทำดังกล่าวเป็นการหมิ่นและ สร้างความอับอายครั้งมโหฬารให้กับสภาสงฆ์ ในที่สุด K จำต้องแต่งตั้งพระพิมลธรรมเป็นหนึ่ง ในสมเด็จพระเถระใน วันคล้ายวันเกิดของเขาต่อมาตำแหน่งสมเด็จที่ว่างอีกตำแหน่งตกเป็นของพระอนุรักษ์นิยมอีกรูปหนึ่ง ในความเป็นจริง พระพิมลธu3619 รรม แก่เกินไปที่จะก่อปัญหาใดๆ ให้กับในวัง และท่านสวรรคตใน 2-3 ปีต่อมา และ พระญาณสังวร ก็ไร้คู่แข่งในการขึ้น เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อไป



หลังจากเปรมได้จัดการเก็บพยานรู้เห็นอดีตอันน่าเกลียด (ของ K และราชวงศ์) จนหมดเกลี้ยงเขาก็ไม่ต้องใช้ความสามารถ มากมายอะไรนักในการรณรงค์ส่งเสริม K และวัฒนธรรมเจ้า เริ่มจากการกระทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดี เปรมเข้าเฝ้าขอคำปรึกษาจาก K อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งในตำหนัก โดยการหมอบกราบ คลานเข่า และการพูดจาแบบสำรวมเจียมเนื้อเจียมตัว ในขณะที่ผู้นำรุ่น ก่อนเปรมสวมชุด ข้าราชการทหารและชุดสากลแบบตะวันตก เปรมกลับสวมใส่ผ้าใหมชุดพระราชทาน ซึ่งเป็นแฟชั่นสมัยรัชกาลที่ 5 แต่คนไทยส่วนหนึ่งกลับเข้าใจว่าชุดพระราชทานออกแบบในยุคของ K ปัจจุบัน หลังจากนั้น การแต่งกายของเปรมก็เป็นแม่แบบของพวก ขุนนาง,นักการเมือง, และนักธุรกิจ ที่เข้าเฝ้า K และ Q นอกจากนี้ พวกเขายังได้รับเอาชุดพระราชทานเป็นส่วนหนึ่ง ของเครื่องแบบแต่งในที่ทำงาน ในสังคมชั้นสูง และกลุ่มผู้ทะเยอทะยานอยาก ทั้งหลายได้แข่งขันกันบริจาคเงินในกับราชวงศ์ และเข้าร่วมงานต่างๆของเจ้า พวกเขาต่างแสวงหาที่จะมีส่วนร่วมในสังคมชั้นสูง โดยได้รับการดูแลจากเปรม และมีศูนย์กลางส่วนหนึ่งที่โรงแรง ดุสิตธานีโรงแรมนี้กลายเป็นสถานทีจัดงานเพื่อการกุศลของราชวงศ์ ทั้งยังมีภัตตาคารที่เป็นที่ชื่นชอบของQ, เปรม, และกลุ่มผู้หญิงชาววัง ด้วยเหตุนี้ โรงแรมดุสิตจึงกลายเป็นสถานที่สำหรับนักธุรกิจ,นักการเมือง, นายพล,และเหล่าภรรยามาชุมนุมและทำธุรกิจไปด้วยปริยาย



เปรมให้การรับรองครอบครัวราชวงศ์ในเกือบทุกสถานที่เท่าที่จะเป็นไปได้ เขาตอบสนองข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ของราชวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก Q ในการรณรงค์ส่งเสริมความชื่นชมราชวงศ์ของ ทหารและข้าราชการพลเรือน และการในคำแนะนำเกี่ยวกับการกระทำสัญญาต่างๆ ของรัฐบาล ในขณะ เดียวกัน เปรมได้ใช้เ งินหลวงในการก่อสร้างวังต่างๆ ให้กับครอบครัวราชวงศ์ รวมถึงพระราชตำหนักของแม่ของ K บนยอดดอยเต่า จ. เชียงรายที่ย้ายจาก สวิตเซอร์แลนด์มาอยู่ในประเทศ ไทยอย่างถาวรในปลายทศวรรษที่ 1980 นอกจากนี้เปรมได้คัดรายชื่อสถานประกอบการของรัฐ อาทิเช่น สายการบินไทย, องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย, เพื่อให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้โฆษณาและ เฉลิมฉลองราชบังลังก์ ด้วยความช่วยเหลือจากภาคธุรกิจ ทุกๆวันหยุด และแม้กระทั่งวันหยุดที่เคร่งครัดทางศาสนา ก็กลายเป็นวันรณรงค์ส่งเสริมราชวงศ์ไปด้วย กิจกรรมของครอบครัวมหิดลถูกถ ่ายทอดอย่างถี่ยิบ ทางทีวีและวิทยุ วันเกิดของ K และ Q ได้รับการรณรงค์ส่งเสริมให้เป็น วันพ่อและวันแม่แห่งชาติ ตามลำดับ



สถาบันกษัตริย์ม ่งความสนใจต่อการเฉลิมการครบรอบสองร้อยปีกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ.2525 ขณะที่ชุมชนดั้งเดิมและประชาชน ในกรุงเทพส่วนใหญ่ให้ความสนในเรื่องนี้เพียงเล็กน้อยสีสรรของงานนี้คือ การนำเอาพระราชพิธีแห่เรือสุพรรณหงส์มาจัด ซึ่งแต่เดิมจะจัดขึ้นเฉพาะในเทศการกฐินพระราชทานที่วัด อรุณ แต่ในปัจจุบันได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสถาบันกษัตริย์และโฆษณานักท่องเที่ยว ในงานเฉลิมฉลอง กรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี มาพร้อมกับสิ่งมหัศจรรย์ที่บ่งชี้ความโชติช่วงชัชวาลย์ของราชวงศ์จักรี ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ ผู้ช่วยของ K กล่าวว่าในวันครบรอบสองร้อยปีกรุงรัตนโกสินทร์ในวันที่ 5 เมษายน เวลา 11:00 น. พระอาทิตย์ได้สาดแสงส่องทะลุ ผ่านเมฆ มีรัศมีทรงกลด ซึ่งตรงกับที่พระทำนายไว้ และสิ่งเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นทุกๆรอบสองร้อยปีก่อนหน้านี้



ผู้สื่อข่าวต่างประเทศก็เกาะติดราชวงศ์เช่นกัน นิตยสารเอเชียวีค เขียนข่าวว่า ราชวงศ์จักรีได้สร้างคนรุ่นต่อไป ของสถาบันที่มีคุณลักษณะ ยอดเยี่ยม คือ K ปัจจุบัน ที่นำประเทศไทยให้ก้าวลุล่วงวิกฤตการณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (การเปลี่ยนระบอบการปกครอง จากระบอบ สมบูรณายาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย) นิตยสารดังกล่าวหยิบยกวิกฤตการณ์ในปีพ.ศ. 2516 และ 2524มาอ้างถึง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเหตุการณ์นี้ไม่ไช่วิกฤตการณ์การ ร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่เหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตการณ ์ร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่แท้จริงท ี่เกิดขึ้นในเดือนตุลาปีพ.ศ. 2519 กลับไม่ได้เอ่ยถึงนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิคเสนอบทความยาว เหยียดโดยไม่ยอม กล่าวถึงการทำรัฐประหารของทหาร และกล่าวว่า K และสถาบันพุทธศาสนาเป็นผู้ก่อสร้างชาติ ในบทสัมภาษณ์ K กล่าวว่า“การพัฒนาของประเทศไทยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ มองหาสิ่งที่ดีของอดีต ขนบธรรมเนียมประเพณีได้เปลี่ยนแปลงตามเวลา นี่เป็นบทเรียน ที่เราใช้ประเพณีอันเก่าแก่และปรับปรุง ให้สามารถใช้ได้ในปัจจุบันและในอนาคต”.



อย่างประชดประชัน, อาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญกับประเพณีอันเก่าแก่ในอดีตของ K,นิตยสารจีโอกราฟฟิคในฉบับเดียวกัน ได้ตี พิมพ์เรื่องปกเกี่ยวกับ ผลกระทบของวิวัฒนาการของชิ้นส่วนซิลิคนต่อชีวิตของประชาชน



ความตายและการเจ็บป่วยบางครั้งก็กลายเป็นสิ่งรณรงค์ส่งเสริมราชบังลังก์ได้เช่นเดียวกันการเจ็บป่วยของ K ในปีพ.ศ. 2525 รัฐบาลและทหารได้ส่งเสริมให้สาธารณะชนแสดงความจงรักภักดี นำทีมโดยกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กรมการศาสนาได้จัดพิธีทางศาสนา การนั่งสมาธิเป็นกลุ่มเพื่อK บางกลุ่มนำทีมโดยสมเด็จพระสังฆราช ความปรารถนาดีเป็นห่วงเป็นใยส่งมาจากทุกมุมโลกถูกตีพิมพ์ เผยแพร่ เพื่อชี้ให้ประชาชนเห็นว่า K เป็นธรรมราชาที่ได้รับการเคารพจากสากลโลก



เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี(มเหสีของของรัชกาลที่ 7) สิ้นพระชนม์ในเดือนพฤษภาคม2527 เปรมได้ขยายเวลาไว้ทุกข์จาก 100 วันไปเป็น 11 เดือนทั่วประเทศ รัฐบาลจ่ายเงินไปหลายล้านเหรียญสหรัฐ ในการจัดพิธีเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีนเดือนเมษายน 2528พระเมรุที่เผาศพสูง 29 เมตร และตลอดความยาว 3 กิโลเมตรจากวังถึงพระเมรุตกแต่งด้วยราชรถสีแดงและสีทองเพื่อบรรทุก ที่บรรจุพระศพซึ่งตกแต่งด้วยเพชรนิลจินดา มีขบวนทหารเป็นพันตามด้วยวงโยทวาธิตมาในชุดแต่งกาย ราชวงศ์จักรี ตอนต้น ภาพที่ปรากฎจากการถ่ายทอดสดทางทีวีตระกูลมหิดลนำราชวงศ์จักรีเป็นร้อยร่วม ในขบวนพิธี ในระหว่างนั้นมีการยิงปืนใหญ่ 300 นัดขึ้นฟ้า



การบำเพ็นตนในเป็นประโยชน์ต่อราชวงศ์ของเปรมก่อให้เกิดการขยายตัวอย่างมโหฬารของการพัฒนาโครงการหลวง สิ่งเหล่านี้ได ้กลายเป็นตัวบ่งชี้ K โดยผ่านการช่วยเหลือของเปรมผลงานจากโครงการ ต่างๆ ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้กลายเป็นสิ่งที่ประชาชน ใช้ในการให้คำจำกัดความ K ของเขา (นั่นคือเป็นพระราชาที่ทำงานหนักเพื่อประชาชน-ผู้แปล)ใ นปีพ.ศ. 2523 K ได้ก่อตั้ง 200-300 โครงการเพื่อการกุศล รวมถึงมูลนิธิชัยพัฒนา โครงการเหล่านี้มีความสำคัญต่อภาพพจน์ของ K มีการเผยแผ่ภาพถ่ายทางทีวี อย่างดีที่แสดงให้เห็นว่า Kทำงานหนักตรากตำ เดินบุกๆป่าฝ่าเขา มีกล้u3629 องแคนนอนคล้องคอ ถือแผนทีและสมุดโน้ตในมือ ขณะซักถามชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปริมาณ น้ำท่า, น้ำฝน, และการทำเกษตรกรรมผู้ช่วยของ K กล่าวให้ฟังอย่างมหัศจรรย์ใจ ว่าทำไมเพียงแค่ K ดูแผนที่ ก็สามารถเข้าใจสภาพภูมิประเทศและศักยภาพของแหล่งน้ำได้ทันที เหมือนกับการที่รัชกาลที่ 4 สามารถทำนายการเกิดสุริยคลาส ซึ่งอัฉริยะเท่านั้นถึงจะทำได้



อย่างไรก็ตาม K ยังคงผิดหวังที่รัฐบาลไม่ใช้ความสำเร็จของเขาในระดับชาติ ในปี พ.ศ. 2524มีการเสวนาเกี่ยวกับการเกษตรกรรม ในภาคเหนือของไทย K วิจารณ์ว่า กลุ่มข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญการ พัฒนาประเทศไม่ สนใจสิ่งที่เรียบง่ายและเป็นทางออก ที่ไม่แพงต่อปัญหาของชาวนา ที่เขาได้ริเริ่ม วิธีการของข้าราชการไม่มีประโยชน์ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ชัดเจนและไม่ถูกต้อง ที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเพราะข้าราชการไม่เคยฟังเสียงชาวไร่ชาวนา โดย K กล่าวว่าชาวบ้านพวกนี้ฉลาดกว่าที่ทุกคนคิด



ด้วยการใช้โครงการของตัวเองเป็นแม่แบบ K ได้สอนให้สาธารณะชนรู้ว่าการทำงานของข้าราชการไร้ผล ตัวอย่างเช่น เขาอธิบายว่า โครงการน้ำหมู่บ้านเล็กๆใช้เวลาเพียง 2-3 วัน และเงินไม่กี่พันบาทก็จัดการได้ ขณะที่โครงการของรัฐบาลต้องใช้เวลานานเป็นปีๆ และแพงกว่าสิบเท่าK ไม่พอใจมากที่ทุกวันเขาได้รับจดหมายร้องทุกข์จากชาวบ้านที่ขาดแคลนน้ำและถนนหนทาง Kต้องการทั้งกำลังคนและเ งินจำนวนมากกว่าที่ได้รับจากการบริจาคเพื่อจะช่วยเหลือคนเหล่านี้



เปรมได้ตอบสนองความต้องการของ K โดยออกคำสั่งให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการของ Kอย่างเต็มที่ทั้งด้านกำลังคนและกำลังเงิน อะไรก็ตามที่เป็นความต้องการของ K ต้องจัดความสำคัญให้เป็นอันดับต้นเหนือโครงการเร่งด่วนอื่นๆ มีการก่อตั้งโครงการพระราชดำ ริขึ้นมา โดยมีเปรมเป็นประธาน ในพ.ศ. 2524 โครงการพระราชดำริได้ทำโครงการพัฒนาคณะกรรมการภายในสำนักงานการวางแผน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สิ่งเหล่านี้ทำให้ K เปรียบเสมือนหัวหน้าการพัฒนาและสร้างความพึงพอใจให้แก่ K



โครงการหลวงหลายโครงการอยู่ภายใต้การดูแลของสุเมธ ตันติเวชกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และความมั่นคงแห่งชาติ และเป็นที่ปรึกษาของ K ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1960 สุเมธทำงานเกี่ยวกับการวางแผนกรมกอง ของข้าราชการเพื่อความพร้อมในการผจญกับ ปัญหาภัยธรรมชาติและสงคราม เขาใช้เวลาส่วนหนึ่งในเวียดนามเพื่อศึกษาเครือข่ายที่เข้มแข็งที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่าง ความไม่พอใจของชนบทและการก่อการร้าย อันส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม งานของสุเมขจัดเป็นส่วนหนึ่งของ คณะกรรมการโครงการพระราชดำริ (Royal ProjectDevelopment Board:RPDB) เพื่อรับใช้ K และครอบครัวราชวงศ์ สุเมธอธิบายในภายหลังถึงหลักการทำงานว่า เป็นการใช้ตัวอย่างของการเข้าแทรกแซงขององค์กรเมื่อระบบราชการเป็นอุปสรรคต่อ ความพยายาม ของในวังที่จะให้ชาวไร่-ชาวนาเข้าใช้ประโยชน์ในท ี่ดินรกร้างว่างเปล่าของรัฐ



เมื่อ RPDB เข้าที่เข้าทาง การใช้จ่ายของโครงการหลวงก็เพิ่มข ึ้นมากมาย โดยเงินสนับสนุนส่วนใหญ่มาจากภาครัฐ โครงการส่วนใหญ่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน อาทิเช่น การวิจัยด้านพืชพันธ์,โครงการผันน้ำต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่, การฝึกอบรมหมอ, การบริการด้านการแพทย์เปรมใช้งบประมาณในการก่อตั้ง หกศูนย์กลางของโครงการหลวงขึ้นในประเทศ ในแต่ละที่กินพื้นที่หลายพันเ อเคอร์ (1 เอเคอร์ = 4046.86 ตารางเมตร) ซึ่งส่วนมากจะอยู่ใกล้วังของ K ในแต่ภูมิภาคในแต่ละที่จะมีพนักงานของศูนย์ทำการทดลอง พันธุ์พืชและสัตว์เพื่อการเกษตรกรรมและการปศุสัตว์งานที่ทำจะมีลักษณะแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากการทำวิจัยในกระทรวงต่างๆ และในมหาวิทยาลัย



K มีความคิดใหม่ๆ หลายเรื่อง เช่น การผลิตก๊าสชีวภาพ, การทำน้ำผลไม้, การเพาะเห็ด,และการหมักผักตบชวา ทำเป็นปุ๋ยและ การสวนสมุนไพร และไร่หวาย สำหรับโครงการผันและกักเก็บน้ำขนาดเล็ก K ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ที่ควบคุมดูแลการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนทั่วประเทศ ภาพข้าราชการระดับสูงจากทั้งในโครงการราชดำริและจากการไฟฟ้าฯ ข้างกาย Kจึงปรากฎให้ประชาชนเห็นอยู่บ่อยๆ



กองทัพได้กลายเป็นกำลังสำคัญของ K ในโครงการหลวง กองทัพได้ใช้เงินกว่าล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อก่อสร้างศ ูนย์กลางการพัฒนา โครงการหลวงบนเนื้อที่ 21,448,358 ตารางเมตร ใกล้ตำหนักภูพาน และใช้จ่ายเ งินอีกหนึ่งล้านเหรียญเพื่อก่อสร้าง วังขนาดเล็กและศูนย์โครงการฯใกล้เขาค้อ เขาค้อนี่เองที่ K ใช้เป็นแบบจำลองu3649 แนวความคิดของเขา เพื่อกระตุ้นการพัฒนา เศษฐกิจส่งผ่านไปยังพลเอกพิจิตร กุลละวาณิชย์ ผู้ซึ่งผ่านสงครามรบที่เขาค้อ(ระหว่างรัฐบาลไทยและพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย)และรู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี กองทัพได้พัฒนาทรัพยากรน้ำ,แนะนำพันธุ์พืชแก่ชาวบ้าน, และช่วยเหลือชาวไร่-ชาวนา ภายใต้โครงการหลวง การแนะนำให้ชาวบ้านปลูกผัก-ผลไม้เมืองหนาวที่ทำเงิน เช่น แอสแพรากัส (asparagus) และแคนเบอรี่ประสบ ความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากนั้น งบประมาณของทหารเพื่อโครงการหลวงก็เพิ่มขึ้นและพลเอกพิจิตร ได้ขยายโครงการดังกล่าวเข้าไปสูชายแดนไทย-เขมร



ด้วยข่าวโครงการหลวงที่กระจายออกไป ในวังได้รับหนังสือร้องขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านในชนบทเพิ่มขึ้น พนักงานของ K ได้เข้า ไ ปช่วยเหลือเป็นรายๆ ไป และไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือจากในวังโดยตรง (เช่นการช่วยเหลือผู้ป่วย) หรือผ่านไปทางกระทรวง ที่เกี่ยวข้องคำร้องทุกข์ของชาวบ้านต่อ K ได้กลายเป็นขับเน้นให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะและความสามารถของ K ในการช่วยเหลือประชาชน ในขณะที่ความเป็นจริงก็คือ ยิ่งมีงานของ K ที่ได้สั่งมาทางเปรมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเปรมมากขึ้นเท ่านั้น และในขณะที่เดียวกัน ประชาชนก็ยิ่งมองข้ามรัฐบาล โดยยกย่องแต่ K ของเขาเท่านั้นที่เป็นผู้ช่วยเหลือเหลือชาวบ้านให้พ้นทุกข์



การเติบโตอย่างทวีคูณของโครงการหลวง ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงว่าโครงการบางส่วนอาจจะดำเนินผิดพลาดและสร้างความอับอายให้แก่ K ได้ ดังนั้นจึงมีการจัดระบบหมวดหมู่โครงการเพื่อป้องกันความผิดพลาดของราชบังลังก์ โดยโครงการที่ริ่เริ่มและติดตามผลโดยตรงโดย K และ Qถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่สูงสุด รองลงมาเป็นโครงการพระราชดำ ริ ภายใต้การดูแลของรัฐบาล,หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง, และกลุ่มประชาชน การจัดระบบแบบนี้ ส่งผลให้ราชลังก์ได้จะได้รับแต่การยกย่องชมเชยในความสำเร็จของโครงการส่วนหนึ่ง ในขณะที่ความล้มเหลว ของโครงการอื่นๆ รัฐบาล หรือผู้รับผิดชอบอื่น ก็รับไป (ตรงกับคำกล่าวที่ว่า ..K can do no wrong..นั่นคือรับแต่ชอบ แต่ไม่รับผิด)



มีสองโครงการที่เป็นตัวแทนมุมมองของ K เกี่ยวกับวัฒนธรรม, เศรษฐศาสตร์, และการพัฒนาจากแนวคิดในแบบจำลอง “วัดพัฒนาหลวง” (royal development temples” เป็นการใช้วัดเป็นศูนย์กลางของประเพณีชุมชน โดยมีพระเป็นผู้ปลูกฝังความดีงาม, ความร่วมมือ, การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, และความขยันหมั่นเพียร สิ่งเหล่านี่อาจจะเป็นหลักของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การสร้างผลผลิตเ พื่อการค้าในตลาดใหญ่โต (ระบบทุนนิยม) K เชื่อว่า ชาวบ้านน่าจะมีความสุข ถ้าเขามีพออยู่ พอกินไปปีหนึ่งๆ



(วัดที่เป็นแม่แบบได้แก่ วัดธุดงค์ คศาธานถาวรนิมิตร จ.นครนายก ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ก่อตั้งโครงการหลวงในปีพ.ศ. 2528 วัดมีพื้นที่ 566,560.4 ตารางเมตร และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยเพื่อกิจกรรมทางศาสนา ด้วยคำแนะนำจากในวังทางวัดได้เปลี่ยนพื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นอ่างเก็บน้ำและเพื่อการเกษตรกรรมเพาะปลูกพืชผักหลายชนิด เพื่อการทดลอง, การขยายพันธุ์, และเ ป็นอาหารของหมู่บ้าน โดยพระในวัดเป็นผู้จัดการในผลผลิตส่วนเกินที่เหลือจากหมู่บ้าน



โครงการต้นแบบที่สองของ K คือ วัดชุมชนใหม่ในจ.ชลบุรี พื้นที่วัดโดยแรกเริ่มเดิมทีนั้นได้บริจาคให้กับ พระญาณ สังวร (พระที่ปรึกษาทาง จิตวิญญาณของ K) ในปี พ.ศ. 2519 และตั้งชื่อตามว่า วัด ญานสังวราราม วรมหาวิหาร พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัด (จากทั้งหมด 4,046,860ตารางเมตร) มอบให้ K ใช้ทำประโยชน์ เมื่อ K ไปเยี่ยมวัดในพ.ศ. 2525 เขาตัดสินใจเปลี่ยนพื้นที่เหล่านั้น เป็นแบบ จำลองสหกรณ์ และศูนย์กลางของการปฎิบัติธรรม



สถานที่ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในพื้นที่รกร้าง กันดาร มีชาวบ้านจำนวนน้อยอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง K ได้ใช้เงินหลายสิบล้านบาทในการ พัฒนาแหล่งน้ำและปรับปรุงดิน เพื่อให้สามารถใช้เพาะปลูกได้ผล และเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางเกษตรชุมชน ในที่สุดชุมชน, โรงพยาบาล, และโรงเรียนก็เกิดขึ้น ภายใต้การดูแลแนะนำของพระ โครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนส่วนใหญ่ จากการบริจาคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากนักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุด ของประเทศ (the kingdom’s richestbusinessmen), ข้าราชการ, และ กลุ่มนายทหาร ที่ได้รับการรบเร้าเชิญชวน (prod) จากเปรมตึกใหญ่ๆ หลายหลังถูกสร้างขึ้น และเปลี่ยนโฉมจากชุมชน เป็นอนุสรณ์สถานของราชวงศ์จักร ีและรัชกาลที่ 9 ในปัจจุบัน ตึกและอนุสาวรีย์ถูกสร้างมากขึ้นเพื่ออุทิศใหักับรัชกาลที่ 7, K, และพ่อ-แม่ของ K



เปรมไม่เพียงแต่ส่งเสริมในวังเท่านั้น เขายังปกป้องด้วย เปรมควบคุมคำวิพากวิจารณ์ผ่านการเลือกใช้ประโยชน์ ของกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ (lèse-majesté law) ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพียง K, Q, รัชทายาทที่จะครองบังลังก์ต่อไป, และผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ไม่สามารถูกละเมิดได้ภายใต้กฎหมาย อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐบาลธานินทร์และเปรม กฎหมายถูกประยุกต์ ใช้ในการปกป้อง เสถียรภาพของราชบังลังก์ ราชวงศ์จักรี, และสถานภาพกษัตริย์ของไทยทุกรัชสมัย ตัวอย่างเช่น การกระทำการใดๆ อันเป็นการ ลบหลู่รัชกาลที่สอง (ซึ่งเสด็จสวรรคตไปแล้ว) ก็เข้าข่ายข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทพระบรมเดชานุภาพ



สำหรับสื่อ เป็นที่ชัดเจนว่าเปรมห้ามไม่ให้มีการนำเรื่องราวของราชวงศ์ แม้กระทั่งเรื่องที่สมาชิก ในครอบครัวราชวงศ์เป็นผู้ กล่าวเองในที่สาธารณะ มาตีพิมพิ์ และวิพากวิจารณ์ หนังสือพิมพ์ไหนก็ตามที่ตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับในวัง ไม่ว่าจะเป็นในทางที่ดีหรือไม่ หรืออะไรก็ตามที่อาจจะสร้างความ หมายแฝงในเชิงลบต่อในวัง จะได้รับการเตือนทางโทรศัพท์จาก สำนักงานตำรวจหรือจากสำนักงาน ความมั่นคงแห่งชาติ ตัวอย่างเช่น ขณะอยู่ในสหรัฐอเมริกาในปลายปี 2524 Q ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่ออเมริกา ในการนั้น Q ได้ตำหนิ P2 แม้ในวังจะไม่มีการบ่นการรายงานข่าวของสื่ออเมริกัน แต่เมื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (ในไทย) รายงาน ความคิดเห็นของ Q กลับถูกตำหนิอย่างรุนแรง พร้อมกับคำขู่จะปิดหนังสือพิมพ์นั้นๆ สำหรับใครก็ตามที่ถูกจับฐานตีพิมพ์เรื่องราวที่สำคัญต่อ ราชบัลลังก์ จะถูกลงโทษอย่างหนัก ผู้คนเบื้องหลังที่รู้เรื่องราวและวิพากวิจารณ์ การกระทำหลายๆ อย่าง ของ Q ปีพ.ศ. 2524 ได ้ถูกตามล่าตัวและถูกจับขังคุกคนละ 8 ปี



ความพยายาม (ปกป้องในวัง)ของเปรมไม่ได้หยุดลงแค่ชายแดนไทย ไม่นานนักหลังจากที่เปรมขึ้นมาเป็นนายก รัฐบาลของเขา ได้ห้ามการนำเสนอ ภาพปกหน้าของ นิวส์วีค ที่ลงภาพเปรมในตำแหน่งที่สูงกว่า K ในปีพ.ศ. 2525 เอเซียน วอลสตรีท เจอนัล ก็ถูกห้ามเกี่ยวกับบทความคิดเห็นหัวข้อ ระบบกษัตริย์ของไทยสามารถอยู่รอดในศตวรรษ์นี้หรือไม่? (Can Thailand’sMonarchy Survive This Century?) เขียนโดยอดีตเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติในประเทศไทย โดยแสดงความคิดเห็นว่า แท้จริงแล้ว ราชบังลังก์ไม่ได้เป็นที่นิยมอย่างที่เห็นกันๆ และการแทรกแซงทางการเม ืองของราชบังลังก์เป็นการก่อภัยใหักับตัวเอง (…the throne wasn’t aspopular as it appeared, and that its political interventions were self-endangering).



ถึงแม้เปรมจะรณรงค์ส่งเสริม(ราชบัลลังก์)อย่างเต็มที่ ทั้ง K และ Q ก็ไม่เคยละทิ้งกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นหน้าที่ของราชวงศ์ ในศษวรรษ 1980 K ไปชนบท 4-6 เดือนต่อปี โดยถ้าไม่ไปกับQ ก็ไปกับ P3 ที่เปรียบเสมือนเลขาประจำตัว Q ทำโครงการที่สนับสนุนโดยรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงพัฒนางานฝีมือเพื่อหารายได้เพิ่มให้แก่ครอบครัว



ที่ผ่านมา K และครอบครัวไม่เคยผิดพลาดในการทำงานพิธีเก่าแก่ทางศาสนา จากมหาวิทยาลัยจำนวน 20 แห่งในประเทศ (ในขณะนี้-2005) ราชวงศ์จะไปมอบปริญญาให้กับผู้จบการศึกษาทุกปี ปัจจุบัน K มีปัญหาเรื่องแขนและไหล่ แต่ก็ยังไป จนกระทั่งเพื่อนเก่าแก่ที่เป็นหมอ (ประเวส วะสี) ได้กล่าวถึงเรื่องอาการไม่ดีของ K ในเรื่องนี้ให้สาธารณะชนรู้ K จึงวางมือปล่อยให้ลูกๆ ทำไป สัญลักษณ์ทางประเพณีก็เป็นอีกเรื่องที่ (K) ไม่ลืม ในเดือนมกราคม 2527 Kได้ไปเปิดศาลก่อตั้งใหม่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยขึ้นนั่งที่บังลังก์เพื่อเตือนประชาชนว่าเขาคือต้นแบบ ของความยุติธรรม



หนึ่งในผู้ช่วย K คือ วสิษฐ เดชกุญชร ได้ยกย่องสรรเสริญการบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณชนของK โดยเล่าให้ผู้เข้าเฝ้า ในปีพ.ศ. 2525 ฟังว่า ทุกคืน K และ Q จะหอบเอกสารมากมายเข้าไปทำต่อในห้องนอน และบ่อยครั้งที่ใช้เวลาทั้งคืนเพื่ออ ่าน(เอกสารเหล่านั้น) และตัดสินใจ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลว่าทำไม K และ Q ตื่นเอาตอนบ่ายของแต่ละวัน ทันทีที่ตื่น เวลาของ K และ Q จะหมดไปกับงานพิธีต่างๆ ในตารางที่อัดแน่น และยังออกกำลังกายด้วย Q ทำกายบริหาร ส่วน K(เมื่ออายุ 55 ปี) วิ่งจอกกิ้ง 5วัน/อา ทิตย์ โดยวิ่งวันละ 2 กิโลเมตร ใช้เวลา 12 นาที วันศุกร์และวันอาทิตย์ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย K จะเล่นดนตรีแจ๊ส วสิษฐ กล่าวว่า ดนตรีคือสันทนาการอย่างเดียวของ K ที่เล่นด้วยความชื่นชอบ ฉันฟังเหมือนต้องมนต์สะกด และก็ช็อกในเวลาต่อมาเพื่อพบว่า K เล่นแจ๊สโดยไม่หยุดพักจากเวลา 3 ทุ่มจนถึงรุ่งเช้าถึงหยุด K ไม่เคยลุกจากที่นั่งมันทำให้ฉันเริ่มเข้าใจ ดนตรีก็เหมือนทุกอย่างที่ K ทำ คือ เขาจะทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ อันแน่วแน่ ความจดจ่อ(อยู่กับสิ่งที่ทำ) ส่งผลในระยะยาว สร้างความเชี่ยวชาญ และสร้างภูมิคุ้มกันK จากอารมณ์และความคิดเห็นที่u3629 อาจรบกวนความสงบและการตัดสินใจที่ถูกต้อง



สิ่งที่โด่ดเด่นสุดเกี่ยวกับการส่งเสริม (ภาพลักษณ์ของ K) ก็คือการตีความหมายเช ิงประเพณีของระบบกษัตริย์ ขณะที่ส่วนใหญ่ละเลยบท สรุปของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่พยายามจะค้นหาว่าอะไรเป็นเหตุเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ กับระบบประชาธิปไตยแบบเจ้า และนำไปสู่เหตุการณ์6 ตุลาคม 2519 จากการบอกเล่าของ ไมเคิล คอนเนอร์ กลุ่มนักวิชาการชั้นสูงและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ในปลายทศวรรตที่ 1970 ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทย แตกแยกอย่างรุนแรงในครั้งนั้น กลุ่มนี้สรุปว่า โ ครงสร้างของ “ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์” และ “ประชาธิปไทยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ล้มเหลวที่จะสร้างความเป็นเอกภาพให้กับชาติเพราะว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะชาวไร่-ชาวนา ถ้าหยิบยกวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นทางการออกไป (ความต้องการของ) ประชาชนดูจะสอดคล้อง กับนโยบายและหลักการ ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทสไทยมากกว่า นักวิชาการสรุป ในตอนหนึ่งว่า รัฐบาลต้องขยายความรู้สึกการ มีส่วนร่วมในชาติของประชาชน โดยการขยายขอบเขตของ การเมืองสาธารณะและการ วิพากวิจารณ์ทางสังคม ประชาชนที่ยากจน (ชาวไร่-ชาวนา) ต้องถูกทำให้ตระหนักว่า พวกเขาคือปัจจัยสำคัญ ในการสร้างความเป็นชาติ



แต่ในสองมือของเปรมและผู้นำรุ่นต่อมาของที่ปรึกษาในวัง กลับใช้การรณรงค์ส่งเสริมราชวงศ์ในทางปฎิบัติ ในเรื่องเฉพาะกิจบางเรื่องๆ อาทิเช่น นโยบายทางเศรษฐกิจและการบริหารงานบางอย่างมีการเปิดเผยให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์ แต่ก็ยังจำกัดอยู่ในแวดวงของ ผู้มีการศึกษาเท่านั้น และยังเป็นอยู่ภายใต้ปัจจัยที่เข้มงวดตามสูตร ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ (ที่มิอาจละเมิดได้) และเ น ื่องจาก K ให้ความชอบธรรมทางกฎหมายแก่เปรม การวิพากษ์วิจารณ์ภาวะการเป็นผู้นำของเปรมจึงมิอาจกระทำได้เต็มที่



ข้อสรุปของกลุ่มความมั่นคงเกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งความเป็นชาต ิและบรรดาหลักเกณฑ์ต่างๆถูกแจกจ่ายไป ตามสำนักงานเสริมสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนอย่างดีอย่างไรก็ตาม ทั้งๆ ที่ใช้วิธีแบบก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหา สิ่งที่คณะกรรมการดำเนินการ ส่งเสริมกลับยึดติด กับหลักเกณฑ์เก่าๆ ในทางปฏิบัติ วัฒนธรรมแห่งความเป็นชาติยังคง เป็นแค่บางสิ่งที่มาจากผู้นำและถ่ายทอดผ่านทางสื่อ ไปยังประชาชน มันยังคงเน้นเป้าหมายที่ การอนุรักษ์สถาบันชาติ ตามภายใต้คำจำกัดความ “ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์” สำนักงานเสริมสร้าง เอกลักษณ์ของชาติ ตีพิมพ์หนังสือออกมา เช่น ราชวงศ์จักรี และประชาชนชาวไทย ในปี พ.ศ. 2527 โดยมุ่งเน้นการ นำเสนอ ภาพลักษณ์ของ K เป็น กษัตริย์ชาวนาและ กษัตริย์นักพัฒนาเพื่อเชื่อมโยง K กับพ่อขุนรามคำแหงและผู้นำเศรษฐกิจรุ่นใหม่ คณะกรรมการได้สนับสนุน การจัดการประชุม ทางวิชาการ เช่น การจัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญร่วมสมัยของไตรภูมิพระร่วง นักประวัติศาสตร์ ท่านหนึ่งได้เขียนไว้ว่า กลุ่มผู้นักอนุรักษ์ที่เข้าร่วมงานประชุมวิชาการอย่าง เป็นทางการเหล่านี้ ย้ำเน้นถึงการ นำเอาคำสั่งสอนจรรยาในตำรานี้มาใช้กับชีวิตร่วมสมัย รัฐบาล และความมั่นคงแห่งชาติ



ในสิ่งเหล่านี้ ประชาชนยังคงไม่ได้รับการเหลียวแล และไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมอย่างเป็นทางการในการ ก่อร่างสร้างวัฒนธรรมดังกล่าว การเกี่ยวข้องของประชาชนกับรัฐส่วนใหญ่ผ่านทางการทำงานของพวกเขา ในการสร้างสังคม ส่วนประชาธิปไตยยังถูก จำกัดความและถูกกักให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของความมั่นคงแห่งชาติ เท่าที่ตีความโดยกลุ่มคนจากที่ใช้ความมั่นคงแห่งชาติเป็นเครื่องมือ โดยคนกลุ่มนี้มีอยู่ทั่วไปใน ช่วงศตวรรษที่ 1980 ที่คอมมิวนิสต์ในเว ิยดนามและจีนยังคงเป็นภัยคุกคามประเทศไทย พวกเขา (คณะทำงานเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ) ยังคงให้ความสำคัญเพียงเล็กน้อยต่อระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เช่น รัฐธรรมนูญ, รัฐสภา, และการออกกฎหมายที่รับของชาติตะวันตกเข้ามา ในทางตรงกันข้าม สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ได้ตอกย้ำให ้พ่อขุนรามคำแหงเปรียบเสมือน สถาบันที่เป็นสัญญาแห่งประชาธิปไตยระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชน “ประชาชนไม่ใช่รัฐบาล หนึ่งในคณะกรรมการจากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ อธิบายว่า “การนำความคิดเห็นของประชาชน มาเป็นเครื่องมือใช้ในการจัดทำนโยบาย จึงเป็นเสมือนการให้ประชาชน เป็นรัฐบาล ซึ่งมีแนวโนมนำไปสู่วิกฤติการทางการเมือง”.



ในทางคู่ขนาน การดำเนินความสัมพันธ์ต่างประเทศของนายทหารคนสนิทและเลขาคณะองค์มนตรี ของ K (ทองน้อย ทองใหญ่) เริ่มขึ้นในตอนต้นทศวรรษ ที่ 1980 ทองน้อยจัดทำปาฐกถา อันยาวเหยียดเพื่อแสดงอำนาจของ K บนพื้นฐานผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ และอารมณ์ในหน้าบทความที่เป็นส่วนพูดคุยในหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ปีพ.ศ. 2526โดยใช้นามปากกาว่า “Concensus”



ทองน้อย อธิบายคำว่า Concensus ว่าหมายถึงความเห็นชอบจากปัญชาชนว่าเป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาแห่งชาติเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ประเทศเดียวในโลกที่ดำรงไ ว้ซึ่งศาสนาพุทธที่ยังไม่ตาย (ได้รับความนิยมสูงสุด) ในทางพุทธศาสนา Concensus จึงหมายถึงคุณงามความดีทางจิตวิญญาณ



ทองน้อยกล่าวว่า ในทางประวัติศาสตร์ กษัตริย์ไทยถูกควบคุมโดยConcensus ผู้คนรวมเป็นหนึ่งเดียวเบื้องหลังผู้ออกกฎ ผู้ซึ่งปกป้องพวกเขาจากการคุกคาม (เช่นการปกครองแบบตะวันตก) และเป็นตัวแทนผลประโยชน์ทั่วไปของพวกเขา ทองน้อย เขียนเกี่ยวกับในประเทศไทยสมัยใหม่ไว้ว่า “โดยธรรมชาติของนักการเมืองแล้ว เลวทราม และบ้าอำนาจเกินไปที่จะปกป้อง ผลประโยชน์สาธารณะ สื่อมวลชนก็เชื่อถือไม่ได้ เป็นได้เพียงอีกสาขาหนึ่งของความบันเทิงเท่านั้น มีเพียง K เท่านั้นที่มีความ รู้ทางประวัติศาสตร์ และประสบการณ์, สัพพัญญู,และเป็นผู้ไม่เห็นแก่ตัว ที่รวมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติทองน้อยกล่าวว่า ประชาชนชาวไทยเข้าใจเรื่องเหล่านี้ เมื่อ K ป่วย ทุกคนตกอย ่ในความแตกตื่น ต่างจากเมื่อรัฐบาลล้ม ไม่มีใครสนใจ เพราะว่ารัฐบาลเป็นแค่ความบันเทิง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นระบบการคิดของ K เองเป็นอย่างดี ในการให้สัมภาษณ์ในปีพ.ศ. 2525 K เปิดเผยความเชื่อที่ว่าเขาอาจเป็นผู้ที่มีความพร้อมดีกว่าในการเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรี ”นี่เป็นระบบที่บางครั้งต้อง อาศัยประสบการณ์ของกษัตริย์อันสามารถเป็นประโยชน์......ประธานาธิบดีของรัฐสภาจะมาและมีการปรึกษาหารือ แต่ K อาจจะเป็นผู้ที่มีอำนาจมากกว่า เพราะประชาชนเชื่อมั่นในตัว K(Handley, 2006; c.f. Leader, April–June 1982)



ภายใต้นามปากกา Concensus ทองน้อยสร้างปรัชญาว่าด้วยความจริงในธรรมชาติแบบก้าวกระโดดขึ้นมา เขาประกาศว่า รัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะความเป็นหนึ่งเดียวในตัว Kคือส ่งที่เทียบเท่ากับประชาธิปไตย ทองน้อยกล่าวว่า ประชาธิu3611 ปไตยที่ขึ้นชื่อ ในเกรทบริเทน(เกาะอังกฤษ) ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญที่แท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น เขาเถียงว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญไทย ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง, อำนาจของชนชั้นสูงตลอดจนพวกทหาร เมื่อกล่าวถึงอดีตนายกรัฐมนตรีสองคนที่อยู่ในคณะองค์มนตรี และมีภาพลักษณ์ที่ต่างออกไป อันได้แก่ สัญญา ธรรมศักดิ์ และธานินทร์ กรัยวิเชียร ทองน้อยให้คำจำความประชาธิปไตย (ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีสองคนนี้)ว่า เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการทำให ้สิทธิ์ในความเป็นคนของประชากรควรจะได้รับการค ้มครองอย่าง สมบูรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้แต่มีเพียง K เท่านั้นที่สามารถทำเรื่องแบบนี้ได้ หากทองน้อยยังคงยอมรับว่า แนวคิดของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าคนไทยทุกคนต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในกรณีนี้ ส ่งที่ควรบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญมีเพียง 3 ประเด็นเท่านั้น คือ



1. ประเทศไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้



2. ประเทศไทยคือการปกครองระบอบราชาธิปไตย ด้วยสถาบันกษัตริย์จากราชวงศ์จักรี



3. ประเทศไทยน่าจะมีความเป็นประชาธิปไตยที่ผ่านมาเท่าที่จะเป็นไปได้ทองน้อยมีความขัดแย้งกับ K ในการใช้อำนาจผ่านทหารในการเมือง (ของ K)



ทองน้อยต่อต้านทหาร โดยมองว่าเป็นพวกแสวงหาอำนาจและพยายามผูกขาดรัฐบาล ทำให้ประเทศชาติยากจนลง ขาดการพัฒนา และการทุจริต แต่กระนั้น ทองน้อยก็กล่าวว่าความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ทางวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานสำหรับอำนาจทางทหาร นั่นคือ คนไทยให้คุณค่าทหาร ประชาชนต้องการให้ทหารรักษาเสถียรภาพ(ของชาติ) ทองน้อยยกตัวอย่างว่า ดังจะเห็นได้จากรัฐประหาร ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เขาอ้างถึงคำกล่าวของ K ว่า ประชาชนต้องมองที่ความตั้งใจ ของทหารที่เขาเรียกว่าเป็นประชาธิปไตย นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ประชาชนและทหารได้ก้าวไปพร้อมๆ กันและในทิศทางเดียวกัน



อย่างไรก็ตาม ความพยายามเพื่อส่งเสริมราชบังลังก์ในยุคของเปรมล้มเหลว ที่จะปิดกั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของ คนที่กล้าตั้งคำถามส่วนหนึ่ง เกี่ยวกับทิศทาง ของผู้ที่กำลังใช้อำนาจที่มีอยู่นักการเมืองที่ความ ใฝ่ฝันของเขาถูกสะกัดกั้น จากกลุ่มพันธมิตรระหว่าง ในวังและเปรม นักวิชาการหัวก้าวหน้า และ อดีตนักกิจกรรu3617 มนักศึกษา ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ตั้งคำถามเหล่านี้ด้วย คนส่วนมากในกลุ่มเหล่า นี้ทำงานในสื่อสิ่งพิมพ์ในทศวรรษที่ 1980 ที่รัฐบาลและทหารไม่ได้ควบคุม (โดยตรง)ต่างกับทีวีและวิทยุ มีอุตสาหกรรมนิตยสารขนาดเล็กๆ เกิดขึ้น และวิเคราะห์อำนาจและการเมืองแบบเงินตราของรัฐบาลเปรม แทนที่จะกล่าวถึงความ สัมพันธ์ระหว่างเปรมและ K โดยตรง



นิตยสารจำนวนมาก และปัญญาชนไทยแนะนำเกี่ยวกับราชบัลลังก์และประชาธิปไตยและเป็นคอลัมน์ที่ต้องห้ามใน เอเชี่ยน วอลท์สตรีท เจอนัล ในตอนปลายปี 2524 ผู้เขียน (Michael Schmicker) ตั้งคำถามอย่างรวนๆ ว่า ระบอบกษัตริย์จะอยู่รอดในอีก 20 ปีข้างหน้าหรือไม่ ท่ามกลางการเผชิญหน้าท้าทายจากหลายฝ่าย ไมเคิล เขียนว่า นอกจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แล้ว สิ่งที่น่าวิตกเป็นอันดับสองก็คือกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาและอาจารย์ในระบอบมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเอง คนกลุ่มนี้ถูกบังคับอย่างงี่เง่าให้เลือกระหว่างจิตสำนึกของพวกเขาและK โดยที่พวกเจ้าที่ได้รับคำแนะนำแบบผิดๆ (จากที่ปรึกษา หรือคณะองค์มนตรี-ผู้แปล) ไม่สามารถจะแยกแยะได้ระหว่างเสียง ร้องอันบริสุทธิ์ที่ขอการเปลี่ยน แปลงทางสังคมและจากกลุ่ม ที่ต้องการทำลายราชบังลังก์ ซึ่งครอบครัวราชวงศ์แสดงอย่างชัดเจนถึงการที่จะรักษาไว้ซึ่งสถานภาพ (กษัตริย์)ของพวกเขา



ไมเคิลได้ชี้ถึงอันตรายอันดับที่สาม นั่นก็คือ ความแตกแยกของกองทัพ ดังที่เกิดให้ในเหตุการณ์รัฐประหารโกหกเดือนเมษายน (April Fools’ coup) ที่ให้ผลลัพธ์ที่เลวร้ายต่อทุกฝ่าย “การทำรัฐประหารครั้งนั้นล้มเหลวไปพร้อมๆ กับเครดิตของสถาบันกษัตริย์ที่วางตัวไม่เป็น กลางระหว่างกลุ่มทหารแย่งชิงอำนาจกันภายสามเหล่าทัพ ครอบครัวราชวงศ์จึงอยู่ในภาวะอันตรายจาก อีกฝ่ายหนึ่งและต้อง ยอมรับความเสี่ยงนั้น จากการเลือกอีกยืนข้างอีกฝ่ายหนึ่ง สิ่งที่ท้าท้ายภาวะการอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์อย่างสุดท้ายคือความไม่เป็นที่นิยม (ของประชาชน) ในตัวรัชทายาท(P2) หลังจาก 9 ปีในการเตรียมการต่างๆ เพื่อให้ P2 ขึ้นสืบต่อบังลังก์ P2 ยังประสบความยากลำบากที่จะ กระทำตนให้อยู่ในมาตรฐานท ี่สังคม คาดหวังในฐานะกษัตริย์องค์ต่อไป P2 ไม่ฉลาด,ขาดความเมตตา และไม่รู้วิธีการทำตัวให้เป็นที ่รักของประชาชน เท่าที่ปรากฎ P2 มีความสุขจากการได้รับการสนับสนุนภายในแวดวงทหารเท่านั้น ภาพพจน์ของ P2 เหมือนกับ ดอน จวน ที่ทำลายเชื่อเสียงตัวเองและก่อให้เกิดการวิพากวิจารณ์(จากสาธารณะ) เพื่อความสนุกสนานเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์



อย่างที่คาดหมาย รัฐบาลขัดเคืองใจต่อการเสนอบทความของไมเคิลและกล่าวหาว่าสื่อต่างประเทศมีมุมมองที่บิดเบือน แต่กระนั้น ส.ศิวลักษณ์ ได้เขียนบทความในนิตยสาร “ลอกคราบสังคมไทย”ในปีพ.ศ. 2525 ว่า สถาบันกษัตริย์กำลังเดินผิดทาง และ K มี ความเข้าใจอย่างผิดๆต่อ (สภาวะของ) ประเทศไทย รัฐบาลของเปรมละเลยเสียงวิจารณ์นั้น จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2527ส.ศิวลักษณ์ ถึงได้ถูกจับในข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กลุ่มนักสิทธิ มนุษยชนภายในและระหว่างประเทศ ได้ขอให้มีการนิรโทษกรรม ส.ศิวลักษณ์ ตลอดจน กลุ่มนักวิชาการ ทั้งไทยและ ต่างประเทศได้ทำการประนาม การจับกุมส. ศิวลักษณ์อย่างรุนแรง ขณะที่ K ถูกลากเข้าไปในการต่อสู้สาธารณะ ในวังได้เข้ายุติเรื่องราวอย่างเงียบๆ ด้วยการปล่อยตัวส. ศิวลักษณ์ (Note, p.467: อย่างไรก็ตาม ในวังไม่ได้เสียใจในการกระทำดังกล่าว หลายสัปดาห์ต่อมา ในวังไปเที่ยวออสเตรเลียและมีประชุมลับๆ กับนักวิชาการที่นั่น ในครั้งนั้น ในวังยืนยันว่าส.ศิวลักษณ์ และคนจำนวนหนึ่งต้องถูกจับเพราะว่าคนพวกนี้ตั้งตัวเป็นภัยต่อสังคม)



การท้าทายอีกเรื่องหนึ่งก็คือการหมุมเว ียนบทวิจารณ์นโยบายการเข้าแทรกแซงของ Kท่ามกลางนักวิชาการในปีพ.ศ. 2526 ในรูปแบบ ของตำรา ความหนา 69 หน้า เขียนเป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับประเพณีทางการเมืองราชวงศ์จักรี เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวาง ว่าตำราดังกล่าวเป็น ผลงานของม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัฒน์ หลานชายของรัชกาลที่ 7 และในทางปฎิบัติ เขาเป็นจัดอยู่ในกลุ่มรัชทายาท ขึ้นสืบต่อราชบังลังก์ ในหน้าสุดท้ายของตำรา ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวอย่าง ตรงไปตรงมาถึงอันตรายของการสนับสนุนทางการเมืองอย่างเปิดเผยของรัชการที่ 9 โดยอ้างถึงการต่อสู้ระหว่างในวัง ราชการแบบ อนุรักษ์นิยม และการขัดขวางการปฎิรูปสถาบัน อันนำไปการยกเลิกระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี พ.ศ. 2475 ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวเตือนว่า ระบบกษัตริย์ครั้งหนึ่งเคยเป็นความหวังของหลายๆคนในวันที่ทหารเรืองอำนาจ ปัจจุบันอยู่ในอันตราย รับรู้ได้ถึงความแตกแยก, ล้าหลัง, และขวาจัดความขัดแย้งอยู่ในจุดที่ว่าการแสดงอำนาจเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร้ระเบียบในวัง อาจจะต้องมี ส่วนร่วมในการ เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยตัวเองในท้ายสุด ....สถาบันกษัตริย์กำลังพยายามที่จะทำ ตัวเป็นทั้งสัญลักษณ์ ของความเป็นเอกภาพ ในชาติและผู้ แสดงหาอำนาจ ....เหลือไว้เพียงอดีตของ ปฎิบัตินิยมและการผ่อนปรนที่เป็นเครื่องหมายของราชวงศ์ จักรี



เนื่องจากความเรียงข้างต้นไม่มีการลงชื่อ(ผู้เขียน) และแจกจ่ายส่วนใหญ่ในหมู่ปัญญาชน,นักหนังสือพิมพ์, และนักการทูต และไม่ม ีการรายงานต่อ สาธารณะ ทำให้ในวังสามารถนิ่งเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่สิ่งที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์เตือนนั้น พิสูจน์ให้เห็นว่า คำทำนายของเขาเป็นความจริงในอนาคตอันใกล้

Keine Kommentare: